การใช้ประโยชน์ ของ อบเชย

นิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกะหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกะหรี่ ใช้เป็นไส้กะหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรล ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรตเซล และนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

เปลือกอบเชย

อบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบกิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวนที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%

น้ำมันสกัดจากเปลือกของต้นอบเชยที่ความเข้มข้น 40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ โดยสารออกฤทธิ์ที่มีส่วนสาคัญต่อการยับยั้งการเจริญของ S. iniae คือ cinnamaldehyde ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยน้ามันสกัดจากต้นอบเชยในอัตราส่วน 0.4% (w/w) ตายเนื่องจากการติดเชื้อ S. niae น้อยลง[1]

นิยมใส่ในกาแฟในบางประเทศ ที่ควบคุมความสะอาดในการผลิตได้ เนื่องจากมีค่ากำมะถันที่ชดเชยส่วนที่ขาดของค่ากำมะถันทองแดงธรรมชาติในกาแฟได้ ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวานได้สูงขึ้นอีก หรือบางครั้งมีการเรียกว่าค่าโครเมี่ยมพิโคลิเนต ที่จริงๆแล้ว โครเมี่ยมเป็นธาตุโลหะที่เป็นพิษสูง นอกจากนี้อบเชยยังมีสารจำพวกยูจีนอลประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก

แต่ผู้รับประทานควรระวังคือ ดูวันหมดอายุ หรือสังเกต คราบราดำที่กินกำมะถันอบเชยได้[ต้องการอ้างอิง]