วิธีการดู ของ ออโตสเตอริโอแกรม

คนบางคนนั้นสามารถมองเห็นภาพ 3 มิติจากสเตอริโอแกรมได้ทันที แต่บางคนอาจต้องมีการฝึกฝนการมองเบลอ โดยการจงใจปรับให้สูญเสียโฟกัส

สมองของเรารับรู้การมองเห็น 3 มิติได้อย่างไร

การรับรู้ระยะความลึกของสมองนั้นมีหลายวิธี สำหรับวัตถุที่อยู่ใกล้ตาในระยะ 18-20 ฟุตนั้น การรับภาพจากตาทั้งสอง (binocular vision) จะมีส่วนสำคัญในการประเมินความลึก สมองจะสร้าง ภาพไซคลอเปียน (en:Cyclopean image) ขึ้นจากภาพที่รับมาจากตาทั้งสองข้าง และประเมินค่าความลึกให้กับแต่ละจุดในภาพไซคลอเปียนนี้

ตาทั้งสองข้างจะปรับมองไปยังวัตถุที่สนใจสมองสร้งภาพไซคลอเปียน จากภาพ 2 ภาพที่รับเข้ามาจากตาทั้งสองข้างสมองจะประเมินหาความลึกของแต่ละจุดในภาพไซคลอเปียน ซึ่งในภาพนี้ใช้ระดับสีเทาในการแสดงความลึก

สมองจะใช้ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งในภาพ หรือที่เรียกว่า พาราแลกซ์ (en:Parallax) ในการประเมินระยะความลึก ระยะความลึกของแต่ละจุดในภาพจะปรากฏในสมองในรูปของความสว่าง จุดที่มีระยะใกล้ก็จะสว่างมาก ดังนั้นเราสามารถแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ระยะลึกของสมองโดยการรับภาพจากตาทั้งสองข้างนี้ โดยการใช้ แผนผังความลึก ที่สร้างจากตำแหน่งคลาดเคลื่อนในภาพ


ตาปรับระยะโฟกัสเพื่อให้ภาพคมชัดตาทั้งสองมองไปยังจุดเดียวกัน
ในขณะที่คนเราจ้องมองวัตถุ ลูกตาของเราทั้งสองข้างนั้นจะปรับหมุนไปด้านข้าง เพื่อให้วัตถุนั้นปรากฏที่จุดกึ่งกลางในภาพที่ปรกฎบนเรตินาของตาทั้งสองข้าง ในการมองวัตถุที่อยู่ใกล้ลูกตาทั้งสองจะปรับหมุนมุมมองเข้าหากันไปยังวัตถุนั้น ลักษณะการมองแบบนี้จะเรียกว่า การมองแบบตาเขเข้าหากัน (หรือ cross-eyed viewing) และเมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปลูกตาจะปรับหมุนมุมมองห่างออกจากกัน จนกระทั่งเกือบจะมีมุมมองที่เป็นแนวขนานกันเรียกว่า การมองแบบมองไกล (หรือ wall-eyed viewing) หรือการมองไปยังตำแหน่งที่อยู่ไกลออกไป

การรับภาพด้วยตาสองข้าง หรือ การรับภาพแบบสเตอริโอ สมองจะรับรู้ความลึกจากพาราแลกซ์ โดยการประเมินความลึกของวัตถุในภาพจากมุมของการลู่เข้าของแนวสายตา

วิธีการลวงให้สมองมองเห็นภาพ 3 มิติ

การทำให้การมองสูญเสียการโฟกัส จะช่วยให้สมองรับรู้ภาพ 3 มิติจากภาพออโตสเตอริโอแกรม 2 มิติ

โดยปกติแล้วการปรับระยะโฟกัสของตานั้น แนวการมองจะลู่เข้าหาจุดเดียวกัน ถ้ากำลังมองวัตถุที่อยู่ไกล สมองจะปรับเลนส์ให้แบนลง และ หมุนลูกตา ให้มองไปที่ไกล ๆ เราสามารถฝึกหัดปรับการมองไปที่ไกล ๆ นี้ เพื่อใช้ในการมองภาพออโตสเตอริโอแกรม ที่สร้างขึ้นนี้ได้

การมองภาพออโตสเตอริโอแกรมที่อยู่ใกล้ตา โดยการปรับระยะการมองให้ไปยังจุดที่อยู่ไกล ๆ ข้างหลังภาพ จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพ 3 มิติได้ ถ้าหากภาพที่รับเข้ามาจากตาทั้งสองข้างนั้นเหมือนกัน สมองจะถือว่าภาพทั้งสองนี้เป็นจุดเดียวกัน และจะประกบภาพเข้าด้วยกัน การมองภาพแบบนี้เรียกว่า การมองภาพแบบมองไกล เนื่องจากมุมเสมือนของการลู่เข้าหาจะอยู่ที่ระยะไกลกว่าระยะจริง ซึ่งส่งผลให้วัตถุเสมือนนั้นอยู่ไกลขึ้น ลึกเข้าไปในภาพออโตสเตอริโอแกรมนั้น ภาพเสมือนของวัตถุจะปรากฏใหญ่กว่าภาพจริง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ฟอร์ช็อทเทนนิ่ง (foreshortening)

ภาพออโตสเตอริโอแกรมด้านล่างจะมีภาพซ้ำ 3 แถว โดยแต่ละแถวนั้นจะมีระยะห่างของภาพซ้ำที่ต่างกัน จะเห็นว่าในขณะที่มีภาพปลาโลมาเพียง 6 ตัวอยู่ในภาพ เราจะมองเห็นเป็นปลาโลมา 7 ตัวในขณะที่มองเห็นภาพเสมือน 3 มิติ ทั้งนี้เนื่องมาจากในขณะที่สมองรับรู้ภาพเสมือนโดยการมองแบบมองไกล สมองจะรับรู้ภาพจากแนวการมอง 2 ชุดดังแสดงในภาพกลาง

เส้นสีดำทั้งสองในภาพจะช่วยสร้างการรับภาพแบบการมองไกลเมื่อสมองรับภาพด้วยวิธีการมองไกล จะปรากฏมีเส้นมุมการมองอยู่ 2 ชุดรูปลูกบาศก์ในแถวแรกจะปรากฏใหญ่กว่า รูปลูกบาศก์ในแถวอื่น