ประวัติ ของ อักษรมอญ

อักษรมอญโบราณพัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ พบจารึกอักษรนี้ในเขตหริภุญชัย เช่นที่ จารึกแม่หินบดเวียงมะโน [2] เวียงเถาะ อักษรมอญถูกพัฒนาขึ้นใช้ก่อนอักษรขอม และแตกต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้เช่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วนอักษรขอมเปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย

อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเชียอาคเนย์ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร[3] อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ[4]

อักษรมอญและพม่า
พยัญชนะมอญและพม่า
က (k) (hk) (g) (gh) (ng)
(c) (hc) (j) (jh) (ny)
(t) (ht) (d) (dh) (n)
(t) (ht) (d) (dh) (n)
(y) (r) (l) (w) (s)
(h) (l)(b)* (a)(b)*
สระลอยพม่า
အ (a)ဣ (i)ဤ (ii)ဥ (u)ဦ (uu)
ဧ (e)ဩ (o)ဪ (au)
สระลอยมอญ
အ (a)အာ (aa)ဣ (i)(ii)*
ဥ (u)ဥႂ (uu)၉ (e)အဲ (ua)ဩ (au)
(aau)*အံ (aom)အး (a:)
สระประสม
ဢာ (aa)ဢိ (i)ဢီ (ii)ဢု (u)ဢူ (uu)
ေဢ (e)ဢဲ (ua)ေဢာ (au)
เครื่องหมาย และอักขระพิเศษ
ဢံ (อนุนาสิก)ဢ့ (อนุสวาร)
ဢး (Visarga)ဢ္ (Virama)
၊ (Little Section)။ (Section)
၌ (Locative)၍ (Completed)
၏ (Genitive)၎ (Aforementioned)
ၐ (sha)ၑ (ssa)ၒ (r)ၓ (rr)ၔ (l)
ၕ (ll)ၖ (r)ၗ (rr)ဢၘ (l)ဢၙ (ll)
ตัวเลข
၀၁၂၃၄၅၆၇၈၉ดูที่เลขมอญ และเลขพม่า
* มีใช้เฉพาะในภาษามอญ ไม่มีในชุดอักษรพม่า
?????หน้านี้มีตัวอักษรพม่าที่อาจจะไม่แสดงผล ควรติดตั้งฟอนต์ยูนิโคด 5.1 สำหรับอักษรพม่า
สมัยกลาง
  1. จารึกในประเทศพม่าภาคเหนือ ส่วนมากได้จากเมืองพะขัน และเมืองแปร ศิลาจารึกเหล่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พุกามประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก
  2. ศิลาจารึกพบที่วัดมหาวันจังหวัดลำพูน ลักษณะอักษรเป็นจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก”มยเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์พุกาม ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน[5]
  3. จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ (วัดดอนแก้ว) จารึกหลักนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยบัญชีทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ระบุว่าพบจารึกดังกล่าวที่วัดดอน ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ในบริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[6]
  4. จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๒ (วัดกู่กุด) พบที่ฐานพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดจามเทวีหรือกู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[7]
  5. จารึกธรรมมิกราชา พบจารึกดังกล่าวที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ (วัดดอนแก้ว) และจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๒ (วัดกู่กุด) ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[8]
  6. จารึกวิหารโพธิ์ลังกา พบจารึกหลักนี้ที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 พบว่าภาษาที่ใช้ในจารึกมีทั้งภาษามอญโบราณและพม่าโบราณ โดยมีคำบาลีสันสกฤตปะปน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19[9]
  7. จารึกในประเทศพม่าตอนใต้ เป็นจารึกของพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ. 2003-2034)

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรมอญแบบปัลลวะได้คลี่คลายมาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยมที่เรียกว่าอักษรมอญโบราณและเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบันซึ่งมีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน

สมัยปัจจุบัน
  • ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อักษรมอญ http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=m... http://www.youtube.com/watch?v=KG8kfSrJyks&list=PL... http://www.burmalibrary.org/docs21/Language/Jenny-... http://www.jseals.org/seals23/sawada2013properties... http://www.unicode.org/charts/PDF/U1000.pdf http://www.unicode.org/charts/PDF/UA9E0.pdf http://www.unicode.org/charts/PDF/UAA60.pdf http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscri... http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscri... http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscri...