ลักษณะ ของ อักษรเขมร

อักษรเขมรมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

  • อักษรเชฺรียง (เขมร: អក្សរជ្រៀង) หรือ อักษรเฉียง เป็นอักษรในลักษณะตัวเอน ไม่ได้ใช้เพื่อการเน้นคำในภาษา แต่จะนำไปใช้เขียนเนื้อหาทั้งหมด เช่นนิยายและการตีพิมพ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้อักษรเชฺรียงได้
  • อักษรฌร (อ่านว่า โชร) (เขมร: អក្សរឈរ) หรือ อักษรตรง (เขมร: អក្សរ​ត្រង់) เป็นอักษรในลักษณะตัวตรง การใช้อักษรตัวตรงไม่เป็นที่นิยมเท่าอักษรเชฺรียง แต่ปัจจุบัน แบบอักษรในคอมพิวเตอร์ได้เลือกใช้อักษรตัวตรงเพื่อให้อ่านข้อความได้ง่าย ซึ่งสามารถปรับให้เป็นตัวเอนได้
  • อักษรมูล (เขมร: អក្សរមូល) เป็นอักษรในลักษณะตัวโค้งมน ใช้สำหรับขึ้นต้นหัวเรื่องในเอกสาร หนังสือ ป้ายประกาศ ป้ายร้านค้า โทรทัศน์ และการเขียนบทสวดมนต์ทางศาสนา บางครั้งใช้เขียนพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะที่ข้อความรอบข้างใช้ตัวหนังสือธรรมดา (อักษรเชฺรียง-ฌร) พยัญชนะโดดและพยัญชนะซ้อนหลายตัวของอักษรแบบนี้ จะมีรูปแบบที่ต่างออกไปจากอักขรวิธีมาตรฐาน
  • อักษรขอม (เขมร: អក្សរខម หรือ អក្សរខំ) เป็นลักษณะที่ต่างจากอักษรมูลเล็กน้อย ดูเพิ่มที่ อักษรขอม