อักษรเขมร ของ อักษรเขมร

ยูนิโคดไม่ถือว่าอักษรแต่ละแบบเป็นอักษรคนละชนิด แต่เป็นเพียงอักษรต่างรูป ดังนั้นอักษรมูลจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ MoolBoran[2] และอักษรเชฺรียง-ฌรจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ DaunPenh[3] ซึ่งมีในวินโดวส์วิสตาเป็นต้นไป เพิ่มขนาดเพื่อให้เห็นรายละเอียดรูปร่างชัดเจน

พยัญชนะ

อักษรเขมรมีพยัญชนะ 35 ตัว เลิกใช้ไป 2 ตัว พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-อา /ɑ/ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-โอ /ɔ/ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน อักษรเขมรมีทั้งพยัญชนะธรรมดา และพยัญชนะซ้อนที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น พยัญชนะซ้อนจะใช้เมื่อต้องการตัดพื้นเสียงของพยัญชนะตัวก่อนหน้า อักษรไทยที่กำกับไว้คือการปริวรรตอักษรเขมรมาเป็นอักษรไทย [4] ส่วนเสียงอ่านจะแสดงด้วยสัทอักษรสากล

อักษรมูล
วรรคเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ)เสียงก้อง (โฆษะ)
เสียงเบาเสียงหนักเสียงเบาเสียงหนักเสียงนาสิก
วรรค
กะ
្ក្ខ្គ្ឃ្ង
ก /kɑ/
[กอ]
ข /kʰɑ/
[คอ]
ค /kɔ/
[โก]
ฆ /kʰɔ/
[โค]
ง /ŋɔ/
[โง]
วรรค
จะ
្ច្ឆ្ជ្ឈ្ញ
จ /cɑ/
[จอ]
ฉ /cʰɑ/
[ชอ]
ช /cɔ/
[โจ]
ฌ /cʰɔ/
[โช]
ญ /ɲɔ/
[โญ]
วรรค
ฏะ
្ដ្ឋ្ឌ្ឍ្ណ
ฎ /ɗɑ/
[ดอ]
ฐ /tʰɑ/
[ทอ]
ฑ /ɗɔ/
[โด]
ฒ /tʰɔ/
[โท]
ณ /nɑ/
[ณอ]
วรรค
ตะ
្ត្ថ្ទ្ធ្ន
ต /tɑ/
[ตอ]
ถ /tʰɑ/
[ทอ]
ท /tɔ/
[โต]
ธ /tʰɔ/
[โท]
น /nɔ/
[โน]
วรรค
ปะ
្ប្ផ្ព្ភ្ម
บ /ɓɔ/
[บอ]
ผ /pʰɑ/
[พอ]
พ /pɔ/
[โป]
ภ /pʰɔ/
[โพ]
ม /mɔ/
[โม]
ไม่จัดกลุ่มเสียง
เศษ
วรรค
្យ្រ្ល្វ្ឝ
ย /jɔ/
[โย]
ร /rɔ/
[โร]
ล /lɔ/
[โล]
ว /vɔ/
[โว]
្ឞ្ស្ហ្ឡ្អ
ส /sɑ/
[ซอ]
ห /hɑ/
[ฮอ]
ฬ /lɑ/
[ลอ]
อ /ʔɑ/
[ออ]
อักษรเชฺรียง-ฌร
วรรคเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ)เสียงก้อง (โฆษะ)
เสียงเบาเสียงหนักเสียงเบาเสียงหนักเสียงนาสิก
วรรค
กะ
្ក្ខ្គ្ឃ្ង
ก /kɑ/
[กอ]
ข /kʰɑ/
[คอ]
ค /kɔ/
[โก]
ฆ /kʰɔ/
[โค]
ง /ŋɔ/
[โง]
วรรค
จะ
្ច្ឆ្ជ្ឈ្ញ
จ /cɑ/
[จอ]
ฉ /cʰɑ/
[ชอ]
ช /cɔ/
[โจ]
ฌ /cʰɔ/
[โช]
ญ /ɲɔ/
[โญ]
วรรค
ฏะ
្ដ្ឋ្ឌ្ឍ្ណ
ฎ /ɗɑ/
[ดอ]
ฐ /tʰɑ/
[ทอ]
ฑ /ɗɔ/
[โด]
ฒ /tʰɔ/
[โท]
ณ /nɑ/
[ณอ]
วรรค
ตะ
្ត្ថ្ទ្ធ្ន
ต /tɑ/
[ตอ]
ถ /tʰɑ/
[ทอ]
ท /tɔ/
[โต]
ธ /tʰɔ/
[โท]
น /nɔ/
[โน]
วรรค
ปะ
្ប្ផ្ព្ភ្ម
บ /ɓɔ/
[บอ]
ผ /pʰɑ/
[พอ]
พ /pɔ/
[โป]
ภ /pʰɔ/
[โพ]
ม /mɔ/
[โม]
ไม่จัดกลุ่มเสียง
เศษ
วรรค
្យ្រ្ល្វ្ឝ
ย /jɔ/
[โย]
ร /rɔ/
[โร]
ล /lɔ/
[โล]
ว /vɔ/
[โว]
្ឞ្ស្ហ្ឡ្អ
ส /sɑ/
[ซอ]
ห /hɑ/
[ฮอ]
ฬ /lɑ/
[ลอ]
อ /ʔɑ/
[ออ]
  1. ឝ (ศ) และ ឞ (ษ) เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว
  2. พยัญชนะซ้อนของ ឡ (ฬ) ไม่มีในอักษรเขมรปัจจุบัน แต่มีให้แสดงผลได้ในยูนิโคด

นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะพิเศษซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนเสียงคำยืมหรือคำทับศัพท์จากภาษาอื่น เช่นภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ส่วนใหญ่สร้างโดยการซ้อนพยัญชนะไว้ใต้ ហ (ห)

อักษรมูล
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្គហ្គ៊ហ្នប៉ហ្មហ្ល
ก /gɑ/
[กอ]
ก /gɔ/
[โก]
น /nɑ/
[นอ]
ป /pɑ/
[ปอ]
ม /mɑ/
[มอ]
ล /lɑ/
[ลอ]
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្វហ្វ៊ហ្សហ្ស៊
ฟ /fɑ/
ว /wɑ/
[ฟอ, วอ]
ฟ /fɔ/
ว /wɔ/
[โฟ, โว]
ช /ʒɑ/
[ชอ]
ช /ʒɔ/
[โช]
อักษรเชฺรียง-ฌร
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្គហ្គ៊ហ្នប៉ហ្មហ្ល
ก /gɑ/
[กอ]
ก /gɔ/
[โก]
น /nɑ/
[นอ]
ป /pɑ/
[ปอ]
ม /mɑ/
[มอ]
ล /lɑ/
[ลอ]
พยัญชนะ
พิเศษ
ហ្វហ្វ៊ហ្សហ្ស៊
ฟ /fɑ/
ว /wɑ/
[ฟอ, วอ]
ฟ /fɔ/
ว /wɔ/
[โฟ, โว]
ช /ʒɑ/
[ชอ]
ช /ʒɔ/
[โช]

สระ

สระในอักษรเขมรมีสองแบบคือ สระลอยและสระจม สระลอยใช้เขียนเมื่อมิได้ผสมกับพยัญชนะ (เปรียบเหมือนขึ้นต้นด้วย อ) ส่วนสระจมใช้ประกอบกับพยัญชนะอื่น พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับจะออกเสียงตามเสียงเดิมของพยัญชนะดังที่กล่าวไว้ด้านบน (เทียบได้กับ ออ) เสียงสระจะแตกต่างจากอักษรไทย และขึ้นอยู่กับว่าพยัญชนะเป็นอโฆษะหรือโฆษะด้วย ต่อไปนี้เป็นสระลอย

อักษรมูล
สระลอย
อ /ʔɑʔ/
[ออ]
อา /ʔa/
[อา]
อิ /ʔe/
[เอะ]
อี /ʔəj/
[เอ็ย]
อุ /ʔ/
[โอะ]
อู /ʔu/
[โอ]
โอว /ʔɨw/
[โอว]
สระลอยឱ/ឲ
ฤ /ʔrɨ/
[รึ]
ฤๅ /ʔrɨː/
[รือ]
ฦ /ʔlɨ/
[ลึ]
ฦๅ /ʔlɨː/
[ลือ]
เอ /ʔeː/
[แอ]
ไอ /ʔaj/
[ไอ]
โอ /ʔaːo/
[โอ]
เอา /ʔaw/
[เอา]
อักษรเชฺรียง-ฌร
สระลอย
อ /ʔɑʔ/
[ออ]
อา /ʔa/
[อา]
อิ /ʔe/
[เอะ]
อี /ʔəj/
[เอ็ย]
อุ /ʔ/
[โอะ]
อู /ʔu/
[โอ]
โอว /ʔɨw/
[โอว]
สระลอยឱ/ឲ
ฤ /ʔrɨ/
[รึ]
ฤๅ /ʔrɨː/
[รือ]
ฦ /ʔlɨ/
[ลึ]
ฦๅ /ʔlɨː/
[ลือ]
เอ /ʔeː/
[แอ]
ไอ /ʔaj/
[ไอ]
โอ /ʔaːo/
[โอ]
เอา /ʔaw/
[เอา]
  1. ឣ (อ) (U+17A3), ឤ (อา) (U+17A4), ឨ (U+17A8) เป็นอักขระที่ยูนิโคดไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากสามารถประสมขึ้นได้จากพยัญชนะ สระ หรือเครื่องหมายอื่นโดยแยกกัน แต่ยังคงมีไว้เพื่อรองรับระบบการเขียนในคอมพิวเตอร์แบบเก่า

ต่อไปนี้คือสระจม บรรทัดแรกคือการปริวรรต บรรทัดที่สองหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะอโฆษะ และบรรทัดที่สามหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะโฆษะ

อักษรมูล
สระจม
อา
/aː/ [อา]
/iːə/ [เอีย]
อิ
/e/ [เอะ]
/ɨ/ [อิ]
อี
/əj/ [เอ็ย]
/iː/ [อี]
อึ
/ə/ [เออะ]
/ɨ/ [อึ]
อื
/əːɨ/ [เออ]
/ɨː/ [อื]
สระจม
อุ
/o/ [โอะ]
/u/ [อุ]
อู
/oːu/ [โอ]
/uː/ [อู]
อัว
/uːə/ [อัว]
/uːə/ [อัว]
เอี
/aːə/ [เออ]
/əː/ [เออ]
เอือ
/ɨːə/ [เอือ]
/ɨːə/ [เอือ]
สระจม
เอีย
/iːə/ [เอีย]
/iːə/ [เอีย]
เอ
/eːi/ [เอ]
/eː/ [เอ]
แอ
/aːe/ [แอ]
/ɛː/ [แอ]
ไอ
/aj/ [ไอ]
/ɨj/ [อึย]
โอ
/aːo/ [โอ]
/oː/ [โอ]
สระจมុំាំ
เอา
/aw/ [เอา]
/ɨw/ [อึว]
อุ
/om/ [อม]
/um/ [อุม]
อํ
/ɑm/ [อ็อม]
/um/ [อ็วม]
อำ
/am/ [อำ]
/oəm/ [เอือม]
อะ
/aʰ/ [อะห์]
/eəʰ/ [เอียห์]
อักษรเชฺรียง-ฌร
สระจม
อา
/aː/ [อา]
/iːə/ [เอีย]
อิ
/e/ [เอะ]
/ɨ/ [อิ]
อี
/əj/ [เอ็ย]
/iː/ [อี]
อึ
/ə/ [เออะ]
/ɨ/ [อึ]
อื
/əːɨ/ [เออ]
/ɨː/ [อื]
สระจม
อุ
/o/ [โอะ]
/u/ [อุ]
อู
/oːu/ [โอ]
/uː/ [อู]
อัว
/uːə/ [อัว]
/uːə/ [อัว]
เอี
/aːə/ [เออ]
/əː/ [เออ]
เอือ
/ɨːə/ [เอือ]
/ɨːə/ [เอือ]
สระจม
เอีย
/iːə/ [เอีย]
/iːə/ [เอีย]
เอ
/eːi/ [เอ]
/eː/ [เอ]
แอ
/aːe/ [แอ]
/ɛː/ [แอ]
ไอ
/aj/ [ไอ]
/ɨj/ [อึย]
โอ
/aːo/ [โอ]
/oː/ [โอ]
สระจมុំាំ
เอา
/aw/ [เอา]
/ɨw/ [อึว]
อุ
/om/ [อม]
/um/ [อุม]
อํ
/ɑm/ [อ็อม]
/um/ [อ็วม]
อำ
/am/ [อำ]
/oəm/ [เอือม]
อะ
/aʰ/ [อะห์]
/eəʰ/ [เอียห์]

*คำอ่านสระที่เป็นภาษาไทยในตารางข้างต้น เป็นเพียงการเลียนเสียงเป็นภาษาไทยให้ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น หากต้องการออกเสียงให้ตรงกับเสียงภาษาเขมรจริงๆ ควรดูวิธีอ่านจากสัทอักษรสากล(IPA)

  1. ះ (อะ) สามารถผสมกับสระอื่นได้โดยนำไปต่อท้าย ซึ่งจะให้เสียง [ʰ] และปริวรรตด้วยวิสรรชนีย์ (ะ)
  2. ុំ (อุ) และ ាំ (อำ) เมื่อผสมกับพยัญชนะ นิคหิต ំ (อํ) จะอยู่เหนือพยัญชนะหรือสระตัวสุดท้ายของคำ

เครื่องหมายเสริมอักษร

เครื่องหมายชื่อเขมรการใช้งาน
និគ្គហិត (นิคฺคหิต)(นิคหิต) เพิ่มเสียงนาสิกลงท้ายเสียงสระ มาจาก อนุสวาร
រះមុខ (ระมุข)
វិសជ៌នី (วิสรฺชนี)
(วิสรรชนีย์) เพิ่มเสียงหายใจ [ʰ] ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้ (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย)
យុគលពិន្ទុ (ยุคลพินฺทุ)เพิ่มเสียงกัก เส้นเสียง /ʔ/ ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้
មូសិកទន្ត (มูสิกทนฺต)
​ធ្មេញ​កណ្ដុរ (เธฺมญ-กณฺฎุร)
(มูสิกทันต์) เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɑ/ ให้เป็น /ɔ/
ត្រីស័ព្ទ (ตฺรีสพฺท)เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɔ/ ให้เป็น /ɑ/
ក្បៀសក្រោម (เกฺบียสโกฺรม)
បុកជើង (บุกเชีง)
เหมือนกับ มูสิกทนฺต และ ตฺรีสพฺท ใช้ในกรณีที่มีสระบนอยู่แล้ว
បន្តក់ (บนฺฎก่)
រស្សសញ្ញា (รสฺสสญฺญา)
ทำให้เสียงสระบางชนิดสั้นลง ใส่ไว้ที่พยัญชนะสะกด
របាទ (รบาท)
រេផៈ (เรผะ)
เดิมคือการเติม รฺ (ร หัน) ก่อนพยัญชนะ ใช้ในคำบาลีสันสกฤต ปัจจุบันใช้งานเหมือนทัณฑฆาต
ទណ្ឌឃាដ (ทณฺฑฆาฎ)
បដិសេធ (บฎิเสธ)
(ทัณฑฆาต) ใช้กำกับอักษรบางตัวที่ไม่ออกเสียง
កាកបាទ (กากบาท)แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำอุทาน
អស្តា (อสฺฎา)(ไม้ไต่คู้) แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียว [5]
សំយោគសញ្ញា (สํโยคสญฺญา)ใช้แสดงสระเสียงสั้นในคำบาลีสันสกฤต มักจะถูกละไว้
វិរាម (วิราม)สัญลักษณ์ใช้แทน วิราม (virāma) ในอักษรตระกูลพราหมี
ជើង (เชีง)สัญลักษณ์ที่สร้างโดยยูนิโคดเพื่อป้อนพยัญชนะซ้อนด้านล่าง ลักษณะปรากฏอาจแตกต่างกันไปตามฟอนต์
Bathamasatเดิมใช้ประกอบกับเลข ๘ เพื่อแสดงเดือนแปดแรกทางจันทรคติ ៨៓ เมื่อมีเดือนแปดสองหน [6] แต่ขณะนี้มีสัญลักษณ์ใช้แทนแล้วคือ ᧠ (U+19E0)
Atthacan

เครื่องหมายอื่น ๆ

เครื่องหมายชื่อเขมรการใช้งาน
ខណ្ឌ (ขณฺฑ)
ខណ្ឌសញ្ញា (ขณฺฑสญฺญา)
(ไปยาลน้อย, อังคั่นเดี่ยว) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบประโยค (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย)
ខណ្ឌចប់ (ขณฺฑจบ่)(อังคั่นคู่) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบตอน
ទ្វិពិន្ទុលេខ (ทฺวิพินฺทุเลข)
ចំណុច​ពីរ​គូស (จํณุจพีรคูส)
(ทวิภาค, วิภัชภาค) ข้อความต่อจากนี้คือรายชื่อหรือรายการเป็นข้อ ๆ
លេខ​ទោ (เลขโท)(ไม้ยมก) ซ้ำคำที่อยู่ข้างหน้า
បេយ្យាលៈ (เบยฺยาละ)
លៈ (ละ)
(ไปยาลใหญ่) ยังมีสิ่งอื่นอีกนอกเหนือจากที่ยกมา
កុក្កុដនេត្រ (กุกฺกุฎเนตฺร)
ភ្នែក​មាន់ (แภฺนกมาน่)
(ฟองมัน) ใช้ขึ้นต้นข้อความขนาดยาว
ខណ្ឌបរិយោសាន (ขณฺฑบริโยสาน)
គោ​មូត្រ (โคมูตฺร)
(โคมูตร) ใช้ลงท้ายเมื่อจบเรื่อง สามารถใช้คู่กับ ขณฺฑ หรือ ขณฺฑจบ่ ได้
រៀល (เรียล)เครื่องหมายสกุลเงิน เรียลกัมพูชา
Avakrahasanya

ตัวเลข

ดูบทความหลักที่: เลขเขมร

ตัวเลขในอักษรเขมรมีลักษณะคล้ายเลขไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นอักษรแบบใด ได้แก่

០ ១ ២ ៣ ៤ ៥ ៦ ៧ ៨ ៩

วิธีใช้เหมือนกับเลขฮินดูอารบิกทั่วไป มีเครื่องหมายคั่นหลักพันเป็นจุลภาค และมีจุดทศนิยมเป็นมหัพภาค

นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์อีกแบบหนึ่งสำหรับแทนตัวเลข

៰ ៱ ៲ ៳ ៴ ៵ ៶ ៷ ៸ ៹