อักษรเขมร
อักษรเขมร

อักษรเขมร

อักษรเขมร (เขมร: អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็ย จ.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว พ.ศ. 1154 รูปแบบโบราณของอักษรเขมร ที่เรียกอักษรขอม เป็นแม่แบบของ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมรใช้เขียนภาษาเขมร และมนต์คาถา

อักษรเขมร

ISO 15924 Khmr
ช่วงยุค ประมาณ พ.ศ. 1154 (ค.ศ. 611)–ปัจจุบัน[1]
ระบบแม่
ช่วงยูนิโคด U+1780–U+17FF,
U+19E0–U+19FF
ระบบลูก อักษรไทย
อักษรลาว
ชนิด อักษรสระประกอบ
ระบบพี่น้อง อักษรมอญ
อักษรกวิ
ภาษาพูด ภาษาเขมร