ประวัติ ของ อากาศยานลำตัวกว้าง

โบอิง 747 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวกว้างลำแรกที่ใช้ข่นส่งผู้โดยสาร โดยสารการบินแพน อเมริกัน เวิลด์ แอร์เวย์

จากความสำเร็จในการออกแบบและผลิตโบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 ในช่วงปลายยุค 1950 สายการบินต่างๆ ก็เริ่มต้นมองหาอากาศยานที่มีขนาดกว้างขึ้นเพื่อรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเดินทางทางอากาศ วิศวกรผู้พัฒนาต่างก็พบกับความท้าทายหลายประการ เพราะสายการบินต่างๆ ต้องการบรรจุผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น โดยมีพิสัยการบินที่ไกลขึ้น และต้นทุนที่ต่ำลง

เครื่องบินไอพ่นในสมัยแรก เช่น โบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 มีการจัดที่นั่งโดยสารแบบช่องทางเดินเดียวซึ่งมีที่นั่งไม่มากกว่าหกต่อแถว อากาศยานที่มีขนาดใหญ่กว่าจะต้องมีความยาวมากกว่า สูงกว่า (เช่น มีสองชั้น) หรือกว้างพอที่จะจุจำนวนผู้โดยสารได้มากกว่า จากนั้นวิศวกรก็ได้พบว่าการสร้างห้องโดยสารเป็นสองชั้นจะเป็นปัญหาต่อกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการอพยพอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น และในช่วงยุค 1960 ก็ได้เชื่อกันว่าอากาศยานความเร็วเหนือเสียงนั้นจะมาแทนที่อากาศยานแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ แต่ทำความเร็วได้ช้ากว่า ดังนั้น จึงมีความเชื่อที่ว่าอากาศยานที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียงนั้นจะค่อยๆ หายไปจากธุรกิจการบิน และจะกลายเป็นอากาศยานสำหรับขนส่งสินค้าแทน จึงทำให้ผู้ผลิตอากาศยานหลายรายได้ปรับแผนโดยใช้ลำตัวเครื่องบินที่กว้างขึ้นแทนที่จะสูงขึ้น (อาทิเช่น โบอิง 747 แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด แอล-1011) โดยการเพิ่มช่องทางเดิน จะทำให้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 10 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว ซึ่งยังสามารถเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าที่บรรจุสินค้าได้ถึงสองตอน[11]

ต่อมาวิศวกรได้พยายามออกแบบผลิตรุ่นที่สามารถยืดยาวออกไปได้อีกสำหรับแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-8 (รุ่นย่อย 61 62 และ 63) รวมทั้งรุ่นที่ยาวขึ้นสำหรับโบอิง 707 (รุ่นย่อย 320B และ 320C) และ โบอิง 727 (รุ่นย่อย 200) และ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 (รุ่นย่อย 30 40 และ 50) ซึ่งทั้งหมดนั้นสามารถบรรจุจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้นกว่าเดิม ในสมัยทางเทคโนโลยียังไม่สามารถทำอากาศยานที่มีสองชั้นตลอดลำตัวจนกระทั่งต่อมาในศตวรรษที่ 21 (แอร์บัส เอ 380)

ยุคสมัยแรกของอากาศยานลำตัวกว้างนั้นเริ่มขึ้นราวปีค.ศ. 1970 ด้วยอากาศยานลำตัวกว้างรุ่นบุกเบิก ได้แก่ โบอิง 747[12] ที่มี 4 เครื่องยนต์ และห้องโดยสารสองชั้นบริเวณช่วงต้นของอากาศยาน ต่อมาไม่นาน อากาศยานลำตัวกว้างที่มีสามเครื่องยนต์ (trijet) ก็ถือกำเนิดตามมา ได้แก่ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด L-1011 ไทรสตาร์ ต่อมาอากาศยานลำตัวกว้างชนิดสองเครื่องยนต์ (twinjet) ถือกำเนิดขึ้นกับ แอร์บัส เอ 300 ซึ่งเข้าประจำการในปีค.ศ. 1974 ในยุคสมัยนี้ถือเป็นช่วงที่เรียกกันว่า "สงครามอากาศยานลำตัวกว้าง"[13]

ภายหลังกว่าสองทศวรรษต่อมาหลังจากความสำเร็จของอากาศยานประเภทนี้ ได้มีอากาศยานที่พัฒนาออกมาแทนอีกหลายรุ่น รวมถึง โบอิง 767 โบอิง 777 และแอร์บัส เอ 330 แอร์บัส เอ 340 และแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 ในประเภทของ "จัมโบ้เจ็ต" นั้น ความจุของ โบอิง 747 นั้นยังคงทำสถิติต่อเนื่องมาจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2007 เมื่อแอร์บัส เอ 380 ได้เข้าประจำการพร้อมชื่อเรียกอย่างลำลองว่า "ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต"

พื้นที่หน้าตัดระหว่างแอร์บัส A380 (สองชั้นเต็มความยาวของเครื่องบิน) กับโบอิง 747-400 (สองชั้นเฉพาะบริเวณตอนหน้าของเครื่องบิน)

ใกล้เคียง

อากาศ อากาศยาน อากาศยานลำตัวกว้าง อากาศยานในราชการไทย อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย อากาศพลศาสตร์ อากาศยานลำตัวแคบ อากาศ แจ่มใส อากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ อากาศยานลำเลียงแบบที่ 13 ของกองทัพอากาศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อากาศยานลำตัวกว้าง http://www.ausbt.com.au/flight-report-on-board-qat... http://www.vaustralia.com.au/in-flight-services/in... http://www.cbc.ca/world/story/2001/11/12/airbus011... http://www.a380love.com/more-about-a380.php http://www.airbus.com http://www.airbus.com/aircraftfamilies/out-of-prod... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/out-of-prod... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai...