ปัจจัยในการออกแบบ ของ อากาศยานลำตัวกว้าง

ลำตัวเครื่องบิน (Fuselage)

หน้าตัดของแอร์บัส เอ 300 แสดงให้เห็นถึงช่องเก็บสินค้า บริเวณผู้โดยสาร และพื้นที่เหนือศีรษะ

อากาศยานที่มีขนาดลำตัวเครื่องบินกว้าง ถึงแม้จะมีพื้นที่ที่มากกว่า (และทำให้มีแรงต้านสูงขึ้นด้วย) อากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณที่นั่งใกล้เคียงกัน โดยอากาศยานลำตัวกว้างนั้นมีข้อดีดังนี้:

  • มีปริมาณพื้นที่สำหรับผู้โดยสารมากกว่า ทำให้รู้สึกสะดวกสบายในพื้นที่กว้างขวาง
  • มีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรที่น้อยกว่า ดังนั้นจึงมีแรงต้านต่อผู้โดยสาร/สินค้าที่น้อยกว่า โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของโบอิง 757 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวแคบที่มีความยาวมาก
  • มีช่องทางเดินคู่ (twin aisles) ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการบรรจุสินค้าเข้า ขนถ่ายสินค้าออก และการอพยพผู้โดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศยานที่มีทางเดินเดียว (อากาศยานลำตัวกว้างนั้นโดยปกติจะมีที่นั่งตั้งแต่ 3.5 ถึง 5 ต่อหนึ่งช่องทางเดิน กับอากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณถึง 5-6 ที่นั่งต่อหนึ่งช่องทางเดิน)[14]
  • ลดปริมาณความยาวของเครื่องบินต่อผู้โดยสาร (หรือปริมาณสินค้า) ทำให้สามารถขับเคลื่อนบนพื้นดินได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทำให้หางเครื่องบินกระแทกกับพื้น (tailstrike)
  • มีช่องเก็บสัมภาระใต้เครื่องบินมากกว่า
  • โครงสร้างโดยรวมมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกแบบในอากาศยานลำตัวแคบ

เครื่องยนต์

กำลังของเครื่องยนต์อากาศยานได้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้อากาศยานลำตัวกว้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีเพียงเครื่องยนต์จำนวนสองเครื่องเท่านั้น เครื่องยนต์คู่นั้นประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าอากาศยานขนาดเท่าๆ กันที่มีสามหรือสี่เครื่องยนต์ ความปลอดภัยของเครื่องยนต์อากาศยานในยุคปัจจุบันยังทำให้อากาศยานเป็นไปตามมาตรฐานการรับรองของ ETOP (Extended-range Twin-engine Operational Performance Standards) ซึ่งคำนวณ และกำหนดความปลอดภัยสำหรับเที่ยวบินข้ามทวีป อากาศยานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นมีเพียงสองเครื่องยนต์ เช่น(แอร์บัส เอ 330 แอร์บัส เอ 350 โบอิง 767 และ โบอิง 777) ยกเว้นแต่อากาศยานที่มีน้ำหนักมากซึ่งจำเป็นต้องใช้สี่เครื่องยนต์ (ได้แก่ แอร์บัส เอ 340, แอร์บัส เอ 380 และ โบอิง 747)[15][16]

การตกแต่งภายใน

การตกแต่งภายในของอากาศยาน หรือเรียกว่า ห้องโดยสาร (cabin) ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อากาศยานขนส่งผู้โดยสารในยุคแรก และในปัจจุบันนี้ อากาศยานลำตัวกว้างสามารถบรรจุชั้นโดยสารได้ตั้งแต่หนึ่งชั้นโดยสารถึงสี่ชั้นโดยสาร

บาร์ และเลาจน์ซึ่งเคยมีอยู่ในอากาศยานประเภทนี้เริ่มถูกตัดออกไปเกือบทั้งหมด แต่ก็ได้นำกลับเข้ามาในชั้นหนึ่ง (first class) และชั้นธุรกิจ (business class) บนเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-600[17] โบอิง 777-300ER[18] และ แอร์บัส เอ 380[19] เอมิเรตส์แอร์ไลน์ได้เพิ่มห้องอาบน้ำสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 380[20] โดยอนุญาตให้ผู้โดยสารใช้งานได้ท่านละยี่สิบห้านาที และฝักบัวสามารถเปิดน้ำติดต่อกันได้ครั้งละห้านาทีเท่านั้น[21][22]

การออกแบบภายในห้องโดยสาร รวมทั้งขนาด ความกว้างของที่นั่ง และระยะห่างระหว่างที่นั่ง นั้นแตกต่างกันตามแต่ละสายการบิน[23] ตัวอย่างเช่น อากาศยานที่ใช้สำหรับเที่ยวบินระยะใกล้นั้นจะถูกตกแต่งให้มีความหนาแน่นของจำนวนที่นั่งมากกว่าอากาศยานสำหรับบินระยะไกล แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจสายการบิน ความหนาแน่นของที่นั่งสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัดนั้นยังคงมีอยู่ต่อไป[24]

ในอากาศยานลำตัวกว้างแบบชั้นเดียว อาทิ เช่น โบอิง 777 พื้นที่บริเวณด้านบนของห้องโดยสารถูกออกแบบสำหรับเป็นบริเวณพักผ่อนของลูกเรือ และบริเวณเก็บอาหาร

ใกล้เคียง

อากาศ อากาศยาน อากาศยานลำตัวกว้าง อากาศยานในราชการไทย อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย อากาศพลศาสตร์ อากาศยานลำตัวแคบ อากาศ แจ่มใส อากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ อากาศยานลำเลียงแบบที่ 13 ของกองทัพอากาศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อากาศยานลำตัวกว้าง http://www.ausbt.com.au/flight-report-on-board-qat... http://www.vaustralia.com.au/in-flight-services/in... http://www.cbc.ca/world/story/2001/11/12/airbus011... http://www.a380love.com/more-about-a380.php http://www.airbus.com http://www.airbus.com/aircraftfamilies/out-of-prod... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/out-of-prod... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai... http://www.airbus.com/aircraftfamilies/passengerai...