การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ของ อากิระ_โยชิโนะ


โยชิโนะเริ่มพัฒนาแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้โดยใช้พอลิอะเซทิลีนใน พ.ศ. 2524[8] พอลิอะเซทิลีนเป็นพอลิเมอร์นำไฟฟ้าที่ค้นพบโดยฮิเดกิ ชิรากาวะซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2543[7] สองปีถัดมาโยชิโนะได้ดัดแปลงแบตเตอรี่ต้นแบบโดยใช้ลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์ (LiCoO2) เป็นแคโทด (ขั้วลบ) และพอลิอะเซทิลีนเป็นแอโนด (ขั้วบวก) ซึ่งลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์นั้นค้นพบใน พ.ศ. 2522 โดยเอ็น. เอ. กอดชอลล์และคณะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[9][10][11] และโดยจอห์น กูดอินัฟและโคอิจิ มิซูชิมะจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[7] ขั้วแอโนดของแบตเตอรี่นี้ไม่มีโลหะลิเทียมอยู่ แต่ในระหว่างประจุไฟนั้นลิเทียมไอออนจะแพร่จากขั้วแคโทด LiCoO2 ไปยังขั้วแอโนด ซึ่งเป็นต้นแบบไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน[7]

พอลิอะเซทิลีนมีความหนาแน่นต่ำ ทำให้ต้องใช้เนื้อที่มากและทำให้แบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านความเสถียร โยชิโนะจึงเปลี่ยนมาใช้คาร์บอนเป็นขั้วแอโนดแทน ใน พ.ศ. 2528 โยชิโนะจดสิทธิบัตรแบตเตอรี่ลิเทียมที่เขาประดิษฐ์[7][12][13] ซึ่งถือเป็นการกำเนิดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบที่ใช้ในปัจจุบัน[7] แบตเตอรี่ในลักษณะนี้จัดจำหน่ายโดยโซนี่ใน พ.ศ. 2534 และเอแอนด์ทีแบตเตอรี่ (กิจการร่วมค้าระหว่างอาซาฮิคาเซและโตชิบา) ใน พ.ศ. 2535[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อากิระ_โยชิโนะ http://patft.uspto.gov/netacgi/nph-Parser?Sect1=PT... http://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/en/r_and_d/inte... https://www.asianscientist.com/2018/06/features/ak... https://www.greenbiz.com/article/conversation-lith... https://www.nytimes.com/2019/10/09/science/nobel-p... https://link.springer.com/content/pdf/bfm:978-0-38... https://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/en/news/2019/p... https://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/en/r_and_d/int... https://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/jp/news/2013/p... https://www.chunichi.co.jp/article/feature/koukous...