อาครา
อาครา

อาครา

อาครา (ฮินดี: आगरा, Āgrā; อูรดู: آگرہ‎, อังกฤษ: Agra) อดีตเมืองหลวงของอินเดียในสมัยที่ยังเรียกว่า "ฮินดูสถาน" เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมุนา ในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 363 กิโลเมตร (226 ไมล์) และ 200 กิโลเมตร (124 ไมล์) ทางทิศใต้ของกรุงนิวเดลี เมืองอาครามีประชากรทั้งหมด 1,686,976 คน (ค.ศ. 2010) ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในรัฐอุตตรประเทศ และอันดับที่ 19 ในประเทศอินเดีย.[2]อาคราได้รับการกล่าวถึงในมหากาพย์มหาภารตะ โดยมีชื่อเรียกว่า "อัครวนา" (Agrevana) แปลตามศัพท์สันสกฤตว่า "นครชายป่า"[3] และยังเกี่ยวข้องกับพระฤๅษีอังคีรส หนึ่งในสิบมหาฤๅษีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ถ้าพูดถึงการสร้างเป็นเมืองนั้น ตำนานกล่าวว่าเกิดขึ้นในสมัยเจ้าเชื้อสายราชบุตรชื่อ "ราชปฎลสิงห์" (Raja Badal Singh) เมืองนี้เคยผ่านสมรภูมิครั้งใหญ่ ๆ เมื่อราวหนึ่งพันปีก่อน มีการเปลี่ยนผู้ครองเมืองเป็นระยะ กษัตริย์องค์แรกที่ย้ายเมืองหลวงจากเดลีไปยังอาคราได้แก่ "สุลต่านสิกันดร โลที" (Sultan Sikandar Lodi) เมื่อ ค.ศ. 1506 (ยุคกรุงศรีอยุธยา ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1517 "สุลต่านอิบราฮิม โลที" (Ibrahim Lodi) พระโอรส ปกครองอาคราต่อมาอีก 9 ปีจนกระทั่งพ่ายแพ้ในยุทธการแห่งปณิปัต (Battle of Panipat) ใน ค.ศ. 1526[4] จากนั้นมาระหว่าง ค.ศ. 1540 ถึง ค.ศ. 1556 เจ้าเชื้อสายอัฟกานิสถานได้เข้าปกครองเมืองแทนเริ่มจากเจ้าเชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) และเจ้าเหมจันทร์วิกรมทิตย์ (Hem Chandra Vikramaditya) ราชาแห่งชาวฮินดู ก่อนที่จะเริ่มโด่งดังในฐานะเมืองหลวงของจักรวรรดิโมกุล อันยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1556 ถึง 1658 อันเป็นช่วงกำเนิดของโบราณสถานสำคัญในปัจจุบัน เช่น ทัชมาฮาล ป้อมอาครา ฟาเตห์ปูร์ สิครี โบราณสถานโมกุลทั้งสามแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาครา http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00art... http://www.census2011.co.in/city.php http://agra.nic.in http://asi.nic.in/asi_monu_whs_agrafort.asp http://worldweather.wmo.int/066/c01561.htm http://web.archive.org/web/20061117081029/www.worl... http://web.archive.org/web/20091203060952/http://w... http://www.archive.org/stream/agrahistoricald00lat... http://www.archive.org/stream/ahandbookforvis00kee...