ประวัติศาสตร์ ของ อาคารคิวนาร์ด

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1914 เมื่อบริษัทเดินเรือคิวนาร์ดต้องการสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท และต้องอยู่ในลิเวอร์พูล[1] อาคารได้รับการออกแบบโดยวิลเลียม เอ็ดเวิร์ด วิลลิงก์ และฟิลิป โคลด์เวลล์ ทิกเนสส์ (William Edward Willink and Philip Coldwell Thicknesse) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชวังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี[2] และควบคุมการก่อสร้างโดยบริษัทฮอลแลนด์, ฮันเนน และคิวบิตส์ ช่วงปี 1914 – 1917 ส่วนที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างได้แก่ J.Davis [3] with Arthur J. Davis, of Mewes and Davis, acting as consultant on the project.[4]

ปี 1934 บริษัทคิวนาร์ดได้ควบรวมธุรกิจกับบริษัทไวต์สตาร์ไลน์ ทำให้กลายเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจขนส่งเส้นทางแอตแลนติกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก และเมืองลิเวอร์พูลก็ได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่งอีกด้วย[2] ส่วนอาคารคิวนาร์ดหลังจากควบรวมกิจการแล้วยังคงเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ต่อไป เพื่อใช้เป็นที่ทำงานแผนกธุรการ และขนส่งสินค้าทางเรือเข้าทางใต้อาคารเพราะอาคารตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเมอร์ซีย์ และมีการออกแบบชั้นล่างของอาคารให้เรือสามารถแล่นเข้ามาได้ เรือหลายลำได้รับการออกแบบในตึกคิวนาร์ด สองลำในจำนวนนั้นคือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) และอาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบท (RMS Queen Elizabeth)[5] ภายในอาคารคิวนาร์ดมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เดินทางโดยเรือ และรถยนต์ รวมทั้งเพื่อให้บริการแก่พนักงานด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการ เช่น ห้องพักผู้โดยสารโดยแยกแต่ละคลาส, ห้องสมุด, ห้องฝากกระเป๋า[6][7] ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เมืองลิเวอร์พูลกลายเป็นเมืองท่าหลักของเส้นทางเดินเรือไปยังแอตแลนติก[8] และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารได้ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความทนทานต่อการถูกโจมตี และชั้นใต้ตินได้ปรับเป็นหลุมหลบภัยของประชาชนทั่วไปและพนักงานของบริษัท [9]

บริษัทคิวนาร์ดยังคงใช้อาคารสำนักงานใหญ่เดิม จนถึงปี 1960 จึงได้ตัดสินใจย้ายแผนกธุรการไปอยู่เมืองเซาแทมป์ตัน (Southampton) เมืองทางใต้ของอังกฤษ และย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่นิวยอร์ก[3] และปี 1969 ได้ขายอาคารนี้ให้กับบริษัทพรูเด็นเชิล (Prudential) ช่วงปี 1965 องค์กรอนุรักษ์แห่งอังกฤษได้ประกาศให้อาคารเป็นอาคารอนุรักษ์ประเภท 2 พร้อมกับอาคารลิเวอร์และท่าเรือเมืองลิเวอร์พูล[10] ต่อมาปี 2001 อาคารได้กลายเป็นแมนชั่นสำหรับพนักงานบริษัทกองทุนเมอร์ซีย์ไซด์ แพนชั่นที่มาประจำที่เมืองลิเวอร์พูล ปัจจุบันอาคารได้ปรับให้เป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับสำนักงานต่าง ๆ และแมนชั่นสำหรับคนทั่วไป และผู้เช่ารายหนึ่งได้แก่หน่วยราชการของนอร์ทเวส[1] ปี 2008 เดือนพฤศจิกายน ได้มีโครงการอนุรักษ์อาคาร ซึ่งกำหนดโดยองค์กรอนุรักษ์แห่งอังกฤษและองค์กรท้องถิ่น เพื่อควบคุมการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอาคารต่าง ๆ[11] The plan involved collaboration with English Heritage and the Local Authority Conservation Officer and would be used to control any modification and repairs made to the building.[12]

ปี 2013 เดือนตุลาคม สภาเมืองลิเวอร์พูลได้รับการอนุมัติเพื่อซื้ออาคารคิวนาร์ด เพื่อใช้เป็นที่อยู่ให้กับพนักงานประมาณ 1000 คน และเป็นท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณการจ่ายค่าเช่าบ้านให้พนักงานได้ประมาณ 1.3 ล้านปอนด์[13]

ใกล้เคียง

อาคาร อาคารอนุรักษ์ อาคารใบหยก 2 อาคารรัฐสภาไทย อาคารผู้โดยสารสนามบิน อาคารไปรษณีย์กลาง อาคารคิวนาร์ด อาคารกาบานัก อาคารวรรณสรณ์ อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาคารคิวนาร์ด http://www.cunard.com/images/Content/History.pdf http://www.cunardbuilding.com/ext_cunard_building/... http://www.flickr.com/photos/4737carlin/1250356032... http://www.liverpoolarchitecture.com/tours/buildin... http://www.liverpoolcdp.com/news/shownews.asp?reco... http://www.liverpoolworldheritage.com/visitingthew... http://www.liverpoolworldheritage.com/visitingthew... http://www.mersey-gateway.org/server.php?show=ConW... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.bbc.co.uk/liverpool/content/articles/20...