รูปแบบการก่อสร้างอาคาร ของ อาคารคิวนาร์ด

One of the faces of the world representing the global nature of Cunard's operations

รูปแบบการก่อสร้างอาคารคิวนาร์ดเป็นการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบอิตาลี[14] กับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก[2] ซึ่งสถาปนิกวิลลิงก์และโคลด์เวลล์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากบัลดัสซาเร เปรุซซี สถาปนิกชาวอิตาลี ซึ่งอิทธิพลของศิลปะนี้สามารถเห็นได้ทั่วไปในโรม[14] ตัวอย่างเช่น พระราชวังฟาร์เนเซ[9] แม้ว่ารูปแบบจะเน้นความแข็งแรงแบบอิตาลี แต่สถาปนิกได้เลือกตกแต่งโดยรอบตึกด้วยสถาปัตยกรรมแบบกรีก ทำให้โครงสร้างตึกดูใหญ่กว่าพระราชวังต้นแบบ และมีความสง่างามเหมือนอาคารหอศิลป Beaux ที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์ก[4][14]

รูปแบบอาคารคิวนาร์ดเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอาคารสูง 6 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น โดยสร้างทีหลังตึกลิเวอร์ และท่าเรือของลิเวอร์พูล ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ทำให้โครงสร้างอาคารด้านทิศตะวันออกกว้างกว่าทิศตะวันตก 30 ฟุต[9] ประตูทางเข้าแต่ละด้านทำจากแผ่นไม้โอ๊กขนาดใหญ่และมีเสาขนาบข้างซึ่งเป็นศิลปแบบกรีก[4]และยังคงสามารถเห็นได้ในปัจจุบันที่ชั้น 1 ของอาคาร[9]

The Cunard Building is adorned by several highly detailed sculptures, including this one depicting a roaring lion raised on its hind legs

ตัวอาคารสร้างจากคอนกรีตเสริมเหล็ก และฉาบด้วยหินพอร์ตแลนด์[14] และตกแต่งด้วยปูนปั้นรอบตึก ในที่นี้ได้มีรูปปั้นของบริแทนเนีย เนปจูน เช่นเดียวกับเทพแห่งความสงบสุข สงคราม ความเปลี่ยนแปลง[4] รวมทั้งรูปปั้นสัญลักษณ์ราศี และปลอกแขนสัญลักษณ์ของฝ่ายพันธมิตรที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1[8] และ 2 และรูปปั้นสิ่งสำคัญอื่น ๆ รอบโลก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าธุรกิจของบริษัทได้กระจายไปทั่วโลก[4] หินอ่อนได้นำมาใช้เพื่อปูทางเดินเข้าตึกทางด้านเหนือ และใต้ โดยนำเข้าจากอิตาลีและกรีซ

การวางแผนสำหรับใช้พื้นที่อาคารนั้นมีหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่นในส่วนสำนักงานที่ต้องการพื้นที่มากและใช้ไฟเยอะสำหรับทำงานได้ จึงเอาไว้ในส่วนชั้นบนที่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ สามารถเปิดให้แสงแดดส่องเข้ามาได้ รวมทั้งมีดวงไฟที่ติดตั้งหลายจุด ส่วนให้บริการผู้โดยสารชั้น 1 ได้จัดห้องรับรองอยู่ที่ขั้น 1 สำหรับห้องพักผู้บริการ จะอยู่ชั้น 5 เพื่อเห็นทิวทัศน์แม่น้ำด้านล่าง[9]

หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร คือมีห้องใต้ดินทั้งขนาดใหญ่และเล็ก โดยเป็นที่สำหรับจัดเก็บเอกสาร และกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสาร รวมทั้งถ่านหินก็เก็บในส่วนนี้โดยมีรางรถไฟ เพื่อขนถ่านหินไปยัง boiler เพื่อผลิตความร้อนสำหรับอาคาร ปัจจุบันรูปแบบเดิม ๆ แบบนี้ยังคงมีอยู่ในอาคาร แม้กระทั่งชั้นวางสัมภาระที่เป็นไม้ เอกสารการเดินเรือ ปัจจุบันห้องใต้ดินนี้ได้ปรับเป็นห้องเก็บเอกสารของลูกค้าบุคคลสำคัญ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งพิมพ์เขียวของอาคารก็เก็บแสดงในส่วนนี้

ใกล้เคียง

อาคาร อาคารอนุรักษ์ อาคารใบหยก 2 อาคารรัฐสภาไทย อาคารผู้โดยสารสนามบิน อาคารไปรษณีย์กลาง อาคารคิวนาร์ด อาคารกาบานัก อาคารวรรณสรณ์ อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาคารคิวนาร์ด http://www.cunard.com/images/Content/History.pdf http://www.cunardbuilding.com/ext_cunard_building/... http://www.flickr.com/photos/4737carlin/1250356032... http://www.liverpoolarchitecture.com/tours/buildin... http://www.liverpoolcdp.com/news/shownews.asp?reco... http://www.liverpoolworldheritage.com/visitingthew... http://www.liverpoolworldheritage.com/visitingthew... http://www.mersey-gateway.org/server.php?show=ConW... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.bbc.co.uk/liverpool/content/articles/20...