การพัฒนาและการเตรียมการ ของ อารูบาในโอลิมปิกฤดูร้อน_2008

สถานที่

นอกจากการก่อสร้างกลุ่มสนามกีฬา และหมู่บ้านนักกีฬาแล้ว ยังมีการก่อสร้างวนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) บนพื้นที่ด้านเหนือของกลุ่มสนามกีฬา (Sport Complex) บนพื้นที่ราว 4,000 ไร่ รวมทั้งพื้นที่สวนโอลิมปิกสีเขียว บนแนวแกนเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียว อันประกอบด้วยการจัดภูมิทัศน์ เป็นลานเอนกประสงค์, สวนประติมากรรม, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน, เวทีกลางแจ้ง ฯลฯ

ภูมิทัศน์ริมถนน ได้รับการออกแบบเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกต้นไม้ ชุมชนแออัดสองข้างถนนสายหลักมีการรื้อถอน อาคารเก่าๆได้รับการปรับปรุงรวมทั้งทาสีใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้

สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ดูบทความหลักที่: สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ศูนย์กลางการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "รังนก" เนื่องจากรูปแบบโครงสร้างที่คล้ายรังนก [2] การสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เดิมทีทางการจีนมีแผนที่จะใช้สนามกีฬาแห่งชาติกวางตุ้งเป็นสถานที่แข่งขันโอลิมปิก ดังนั้นสนามกีฬาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นและเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ทว่าทางการจีนเปลี่ยนการตัดสินใจและสร้างสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ในปักกิ่ง[3] ต่อมาทางการจีนเปิดการแข่งขันออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติที่จะสร้างขึ้นใหม่ในปักกิ่ง บริษัทสัญชาติสวิส Herzog & de Meuron Architekten AG ในความร่วมมือกับกลุ่มออกแบบและค้นคว้าสถาปัตยกรรมจีนชนะการประกวด โดยสนามกีฬามีลักษณะเป็นโครงคอนกรีตคล้ายตาข่ายและจะสามารถจุผู้คนได้ถึง 90,000 คนในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิก โดยเดิมสถาปนิกพรรณาถึงลักษณะการออกแบบที่คล้ายคลึงกับรังนกพร้อมด้วยรูโล่งอันใหญ่โตที่มีเพดานสนามที่หดตัวด้วยเหนือสนามกีฬา อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 ความคิดที่ให้มีเพดานสนามที่หดตัวได้ถูกยกเลิกไปเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัย สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งจะเป็นสถานที่ที่ทำพิธีเปิดและปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เช่นเดียวกับเป็นสถานที่แข่งขันกรีฑาและฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ ผู้ออกแบบสนามกีฬา อ้าย เหวยเหว่ย ถอนตัวจากการสนับสนุนจีนสำหรับโอลิมปิก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า "เขาไม่ต้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้อีกแล้ว"[4][5]

ขณะที่หมู่บ้านโอลิมปิกปักกิ่งเปิดขึ้นแล้ว ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเปิดสำหรับสาธารณชนในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การคมนาคม

การเตรียมการทางด้านการคมนาคมของกรุงปักกิ่งเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ได้แก่ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 3, รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียวซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่วนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) และสายรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อไปยังสายเขียว

การตลาด

ฝูหวา

สัญลักษณ์ประจำโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถูกเรียกว่า ปักกิ่งร่ายรำ (จีน: 舞动的北京, ‘Dancing Beijing’) สัญลักษณ์รวมตราสัญลักษณ์จีนดั้งเดิมและตัวละครจากพู่กันจีน จิง (京 ที่แปลว่า "เมืองหลวง" ซึ่งอยู่ในคำว่า "เป่ยจิง" ชื่อปักกิ่งภาษาจีน) ในลักษณะของนักกรีฑา แขนที่เปิดอ้าของคำว่า จิง มีความหมายเสมือนการเชื้อเชิญจากประเทศจีนไปทั่วโลกในการที่จะแบ่งปันวัฒนธรรมจีน ประธานของ IOC ฌาคส์ รอกก์ ดีใจมากกับสัญลักษณ์ และให้สัมภาษณ์ว่า "สัญลักษณ์ใหม่ของคุณนำพาไปยังความสวยงามที่ดีเยี่ยมและพลังของประเทศจีนซึ่งอยู่ในมรดกและคนของคุณในทันที"[6]

สโลแกนของโอลิมปิก 2008 คือ "One World One Dream" (จีนตัวย่อ: 同一个世界 同一个梦想; จีนตัวเต็ม: 同一個世界 同一個夢想; พินอิน: tóng yīgè shìjiè tóng yīgè mèngxiǎng, ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง) [7] แปลว่า หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน สโลแกนนี้ถูกเลือกจากการเสนอมากกว่า 210,000 รายการจากทั่วโลก[2] มีความหมายเป็นการเรียกร้องให้ทั้งโลกเข้าร่วมจิตวิญญาณแห่งโอลิมปิกและสร้างอนาคตที่ดีขึ้นเพื่อมวลมนุษยชน

แมสคอต

ดูบทความหลักที่: ฝูหวา

การถ่ายทอด

กีฬาเหล่านี้จะมีการถ่ายทอดสดในรูปแบบของโทรทัศน์ความละเอียดสูงทั้งหมดเป็นครั้งแรก และมีตัวเลขประมาณการณ์ผู้เข้าชมมากกว่า 4 สิบล้านคน [8] ในระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2544 ปักกิ่งยืนยันว่าจะ "ไม่มีการเข้มงวดในการรายงานข่าวและการเคลื่อนไหวของนักข่าวที่เกี่ยวกับโอลิมปิก 2008" [9] แต่ตามรายงานของThe New York Times กล่าวว่า "การให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นจริง โดยมีระเบียบวีซ่าที่เข้มงวดมาก กระบวนการสมัครที่ยาวนาน และความกังวลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

อารูบา อารูบาในแพนอเมริกันเกมส์ อารูบาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 อารูบาในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 อารูบาในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 อารูบาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 อารูบาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 อารูบาในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 อารูบาในโอลิมปิก อารูบาในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010