ประวัติ ของ อาร์เอ็มเอส_ลูซิเทเนีย

ภาพวาดการจมของเรือ

สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ได้ต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown เริ่มวางกระดูกในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1904 โดยในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้าง อาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside หลังจากเสร็จสิ้นโครงการเรือลูซิเทเนียในปี ค.ศ. 1907 ได้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนเรือ SS Kaiserin Auguste Victoria และหลังจากนั้นไม่นาน เรืออาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย ก็ได้ตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความบริการ 24 นอต (44.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด

ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1906 เรือลูซิเทเนียถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก และในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 ได้มีการทดสอบเรือลูซิเทเนีย ในระหว่างการทดสอบเรือเบื้องต้น มีบันทึกอย่างเป็นทางการว่าความเร็วเรือที่สามารถทำได้ทำลายทุกสถิติความเร็วที่เคยมีมาในวงการเดินเรือขนส่ง แต่วิศวกรเรือและเจ้าหน้าที่พบว่าที่ความเร็วเรือสูงสุดเกิดการสั่นสะเทือนบริเวณท้ายเรืออย่างรุนแรง คูนาร์ดจึงนำเรือกลับเข้าอู่อีกครั้งเพื่อไปเพิ่มความแข็งแรงทางโครงสร้างบริเวณดังกล่าว และส่งต่อให้กับบริษัทเป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1907

ออกเดินทางเที่ยวแรกจากเมืองเซาแทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1907 ชิงรางวัลบลูริบบันด์ทิศตะวันออกไปจากเอสเอส ไคเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 (SS Kaiser Wilhelm II) ของสายการเดินเรือนอร์ดดอยเชอร์ลอยด์ ต่อมามอริเตเนียได้รับรางวัลบลูริบบันด์แทนที่ลูซิเทเนียอย่างถาวรในเดือนกันยายนปีเดียวกัน มอริเตเนียกลายเป็นเรือขนส่งกองทหารและเรือพยาบาล ในขณะที่ลูซิเทเนียบริการเป็นเรือเดินสมุทร

การเดินทางเที่ยวสุดท้าย

ลูซิเทเนียแล่นออกจากท่าเรือ 54 ที่นิวยอร์กในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 และก่อนหน้านี้สถานทูตเยอรมันในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ออกประกาศเตือนในวันที่ 22 เมษายน มีใจความว่า[12]

คำเตือน!
ผู้เดินทางที่มีความประสงค์จะโดยสารเรือเดินสมุทรแถบแอตแลนติก โปรดทราบว่า ขณะนี้มีภาวะสงครามระหว่างเยอรมันพร้อมพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง แลบริเตนใหญ่พร้อมพันธมิตรอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเขตสงครามนั้นครอบคลุมไปถึงน่านน้ำอันคาบเกี่ยวกับหมู่เกาะอังกฤษ ฉนั้น รัฐบาลจักรวรรดิเยอรมันจึงขอประกาศเตือนอย่างเป็นทางการว่า บรรดาเรือที่ติดธงบริเตนหรือพันธมิตรของบริเตน อาจถูกทำให้อัปปางลงในน่านน้ำดังกล่าว ดังนั้นผู้ที่จะโดยสารเรือของบริเตนแลพันธมิตรของบริเตนในเขตสงครามนั้น ต้องรับความเสี่ยงเอาเอง
สถานเอกอัครราชทูตจักรวรรดิเยอรมัน
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 22 เมษายน 1915

นี่คือคำเตือนที่ประกาศเอาไว้ถัดจากข้อความโฆษณาของลูซิเทเนีย คำเตือนนี้ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในสื่อต่าง ๆ รวมทั้งสร้างความกังวลต่อผู้โดยสารและลูกเรือเป็นอย่างยิ่ง

ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง - เรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ เรือลูซิเทเนีย จนอับปางลง ใน 18 นาที คร่าชีวิตลูกเรือ 1,198 คน

ใกล้เคียง

อาร์เอส อาร์เอ็มเอส ไททานิก อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก อาร์เอส มิวสิค อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อาร์เชอร์ อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี อาร์เทอร์ คอมป์ตัน อาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาร์เอ็มเอส_ลูซิเทเนีย http://www.atlanticliners.com/lusitania_home.htm http://www.atlanticliners.com/lusitania_home.htm#A... http://www.britannia-picture.com/ireland/lusitania... http://www.clydebankrestoration.com http://www.garemaritime.com/features/lusitania http://books.google.com/books?id=TogXVHTlxG4C&pg=P... http://books.google.com/books?id=jVYUMUmOYaIC&pg=P... http://books.google.com/books?id=xJcnDCOT0jQC&pg=P... http://books.google.com/books?id=yFYEAAAAMBAJ&lpg=... http://www.lostliners.com/Liners/Cunard/Lusitania/...