ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของ อาสนวิหารตูล

หอคู่บริเวณหน้าบันหลักนั้นสูง 65 เมตร[3] บริเวณกลางโบสถ์ยาว 98 เมตร สูงถึงระดับเพดานโค้ง 32 เมตร และแขนกางเขนกว้าง 56 เมตร

ถึงแม้ว่าการก่อสร้างของอาสนวิหารจะกินเวลารวมกว่า 3 ศตวรรษ แต่ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนทางสถาปัตยกรรม (ยกเว้นส่วนหน้าบันทางเข้า) งานก่อสร้างที่เสร็จในช่วงแรก (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ได้แก่บริเวณร้องเพลงสวด แขนกางเขน บริเวณกลางโบสถ์ช่วงเสาสุดท้าย (ก่อนถึงจุดตัดกลางโบสถ์) บริเวณซุ้มทางเดินข้างช่วงแรก และวิหารคด ซึ่งองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับแรกในการก่อสร้างแขนกางเขน ได้แก่การประดับประดาหน้าต่างด้วยงานกระจกสีและหน้าต่างกุหลาบ ซึ่งช่วยยกระดับของความสูงของผนังบริเวณแขนกางเขนให้สูงและโอ่อ่าขึ้น ซึ่งงานกระจกสีแบบนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างในส่วนของบริเวณหน้าบันฝั่งทางเข้าหลัก (ทิศตะวันตก) ของอาสนวิหารแม็สในอีกหนึ่งราวร้อยปีต่อมา ซึ่งเหมือนกันกับในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปรับปรุงส่วนแขนกางเขนให้เหมือนกับที่มหาวิหารนักบุญบิเซนเตแห่งแม็ส

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บริเวณกลางโบสถ์อีกสี่ช่วงเสาที่เหลือได้เสร็จสิ้นลง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หน้าบันหลักแบบกอทิกฟล็อมบัวย็องอันวิจิตรตระการตาได้เสร็จพร้อมกันกับบริเวณกลางโบสถ์สองช่วงเสาแรกที่ต่อกัน

ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้มีการต่อเติมชาเปลแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาบริเวณทางเดินข้างฝั่งทิศเหนือ และอีกแห่งทางทิศใต้ ได้แก่ "ชาเปลแห่งนักบุญ" (la chapelle de Tous-les-Saints) ซึ่งกลายเป็นที่ฝังศพของฌ็อง ฟอร์แฌ นักบวชผู้เป็นอนุศาสนาจารย์และผู้นำร้องเพลงสวดประจำเคนัน อีกหนึ่งแห่งได้แก่ "ชาเปลแห่งมุขนายก" (la chapelle des Évêques) ที่ประกอบด้วยเพดานเรียบแบบมีหลุม และคานโค้งแบบเรียบ ๆ ซึ่งถูกปิดมานานกว่า 50 ปีเพื่อรอการบูรณะซ่อมแซม

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารอาเมียง