การทำลาย ของ อาสนวิหารอาวร็องช์

สืบเนื่องจากการยุบมุขมณฑลอาวร็องช์ตามสนธิสัญญาเมื่อปี ค.ศ. 1790 ซึ่งทำให้ฐานะของอาสนวิหารเป็นเพียงแค่โบสถ์ประจำเขตแพริช ต่อมาบาทหลวงรียูล เดอ มงแบร ได้เริ่มการบูรณะซึ่งอันตรายมาก โดยได้มีการทำลายฉากกางเขนซึ่งทำด้วยหิน และลดขนาดของพื้นเสาเพื่อให้ชาวเมืองสามารถมองเห็นด้านในโบสถ์ได้ดีขึ้น ในขณะนั้นบริเวณร้องเพลงสวดอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงได้มีการสมทบทุนเพื่อการบูรณะซ่อมแซมถึง 60,000 ปอนด์ ซึ่งปราศจากฉากกางเขนซึ่งมีส่วนช่วยในการรับน้ำหนักของอาคาร ทำให้เกิดช่องว่างขึ้นและในที่สุดเพดานโค้งด้านบนของบริเวณร้องเพลงสวดก็ทรุดและถล่มลงในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1796 ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามอย่างเต็มที่ของทางการในการดูแลส่วนที่เหลือในขณะนั้น แต่ก็ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสมบัติที่ให้ถอดเอาตะกั่วบริเวณหลังคาออก ทำให้มีการรั่วซึมของน้ำภายในอาสนวิหาร ซากปรักหักพังที่เหลืออยู่ของอาสนวิหารได้ตั้งอยู่จนจบการปฏิวัติฝรั่งเศส[1]

ในระหว่างที่รอเงินกองทุนจากส่วนกลางในการบูรณะและซ่อมแซม บริเวณกลางโบสถ์ก็ค่อย ๆ ถล่มลง ทำให้ต่อมาคณะที่ปรึกษาเทศบาลได้มีความเห็นเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 1802 ให้ทำลายกำแพงที่เหลือของบริเวณกลางโบสถ์และหอนาฬิกาลง ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[2]

หอคู่ทั้งสองยังคงอยู่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1810[3] แม้จะอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ด้วยความช่วยเหลือของนายกเทศมนตรีแต็สเนียร์ เดอ เบรแม็สนีล ซึ่งพยายามขอร้องให้รัฐบาลช่วยอนุเคราะห์การบูรณะของอาสนวิหารแห่งนี้ โชคดีที่ต่อมามีการขอติดตั้งโทรเลขแบบไร้สายโดยโกลด ชัป บนหอทิศเหนือ ทำให้รอดต่อการถูกทำลายได้ไปอีกหลายปี ต่อมาเทศบาลได้ตัดสินใจสั่งทำลายหอทั้งคู่ที่เหลืออยู่ลงในปี ค.ศ. 1812[4] ซึ่งถือเป็นการปิดฉากอาสนวิหารอาวร็องช์ลงอย่างเป็นทางการ[5] ซากของเสาวิหารยังหลงเหลืออยู่หนึ่งต้นจนกระทั่งถูกทำลายลงในปี ค.ศ. 1835[6]

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารอาเมียง