อาหรับมุสลิม
อาหรับมุสลิม

อาหรับมุสลิม

อาหรับมุสลิม (อาหรับ: مسلمون عرب‎) เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและมีอัตลักษณ์ ภาษา และวัฒนธรรมเป็นอาหรับมุสลิม อาหรับไม่ใช่ชาติพันธุ์ แต่เป็นศัพท์ทางวัฒนธรรมเพื่อเรียกผู้คนที่มีภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่[1][2][3] อาหรับมุสลิมถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศแอลจีเรีย, บาห์เรน, คอโมโรส, จิบูติ, อียิปต์, อิรัก, จอร์แดน, คูเวต, เลบานอน, ลิเบีย, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ซูดาน, โซมาเลีย, ซีเรีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ตูนิเซีย และเยเมน[4] ประเทศลิเบีย, ตูนิเซีย, แอลจีเรีย และโมร็อกโก ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นประเทศอาหรับอย่างเดียว เพราะในประเทศก็มีชนเบอร์เบอร์อาศัยอยู่[5] ใช่ว่าประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีมุสลิมส่วนใหญ่เป็นอาหรับมุสลิม มีชาวอาหรับหลายคนที่ไม่ได้เป็นมุสลิม และมุสลิมหลายก็ไม่ได้มีเชื้อสายอาหรับ อาหรับมุสลิมก่อให้เกิดกลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาที่ใหญ่ที่สุดของชาวมุสลิมในโลก[6] ตามมาด้วยเบงกอล,[7] ปัญจาบ,[8] และชวาประชาชนในประเทศอียิปต์และเลบานอนส่วนใหญ่ระบุว่าตนเป็นชาวอียิปต์และเลบานอนมากกว่าระบุเป็นชาวอาหรับหรือมุสลิม[9]อาหรับมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตอาหรับพลัดถิ่น อาหรัยมุสลิมถือเป็นประชากรอาหรับส่วนใหญ่ในประเทศเบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิสราเอล, เนเธอร์แลนด์, ตุรกี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่อาหรับคริสเตียนเป็นประชากรอาหรับส่วนใหญ่ในประเทศอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, ชิลี, โคลอมเบีย, คิวบา, กรีซ, เฮติ, เม็กซิโก, สหรัฐ, อุรุกวัย และเวเนซุเอลา ประมาณหนึ่งส่วนสี่ของอาหรับอเมริกันเป็นอาหรับมุสลิม[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหรับมุสลิม http://www.aaiusa.org/arab-americans/22/demographi... https://www.globalizationpartners.com/2019/04/25/f... https://books.google.com/books?id=6BqVsXdHWAIC&lpg... https://books.google.com/books?id=ZNoiieefqAcC&pri... https://www.investopedia.com/terms/a/arab-league.a... https://www.brookings.edu/opinions/a-growing-musli... https://www.adc.org/facts-about-arabs-and-the-arab... https://web.archive.org/web/20060601221810/http://... https://rethinkingschools.org/special-collections/...