บุคคลสำคัญ ของ อำเภอชนบท

  • ท้าวคำพาวเมืองแสน

ท้าวคำพาวเมืองแสน เป็นเจ้าเมืองคนแรก ของเมืองชลบถพิบูลย์

พระมุนีร ญาณเถรมหานาโน หรือ หลวงปู่เขียว มหานานโน อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง (ธรรมยุติ) และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น สมัยก่อนพระป่า คณะสงฆ์อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอชนบท แม้จะมีวัดมากมายแต่ไม่ได้ใบตราตั้งวัดเพราะสร้างในเขตป่าสงวนพื้นที่เขต สปก. เลยไม่มีเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลมีเฉพาะเจ้าอาวาส  คณะสงฆ์อำเภอชนบท (ฝ่ายธรรมยุติ) ได้ปกครองถึง 3 - 4 อำเภอคือ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี บางพื้นที่กินอำเภอแวงใหญ่บางส่วนด้วย เพราะเมื่อก่อนอำเภอแวงใหญ่ยังไม่แยกตัวขอเป็นอำเภอ ยังเป็นบ้านแวงใหญ่ ตำบลคอนฉิม อำเภอชนบท หลวงปู่เขียว มหานาโน จึงเป็นเจ้าคณะอำเภอที่ปกครองหลายพื้นที่ เป็นหัวมังกรที่คณะสงฆ์สายป่าเคารพและรักท่านมาก เพราะท่านคงแก่เรียน พรรษากาลมาก และทรงอภิญญา ขนาดหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสุมนามัย และอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ธรรมยุติ) ยังมาบวชกับหลวงปู่เขียว หลวงปู่เขียวท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่นิล ว่ากันว่าหลวงปู่นิลท่านละสังขารกระดูกเป็นพระธาตุ หลวงปู่เขียวจึงดังแบบพลุแตก และท่านก็มีชื่อเสียงมานานแล้วแต่วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อยหายาก เลยไม่ค่อยจะมีคนชงกัน ท่านเป็นพระมหาเถรที่ทรงวิทยาคมมาก ว่ากันว่าท่านอ่านจิตของลูกศิษย์ได้ทุกคน เล่นแร่แปรธาตุเก่งมาก พระเณรทะเลาะกันในวิหารท่านไม่อยู่ พอท่านกลับมาท่านพูดในเวลาฉันท์ข้าวสั่งสอนทำให้พระเณรสะอึกและเกิดความละอายมาหลายรูป วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอชนบท เพราะเมืองชลบทสร้างก่อนจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านประวัติเมืองเก่าท่านจะรู้ เมื่อก่อนเจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยเจ้าเมืองชลบท เจ้าเมืองชลบทส่งส่วยเมืองโคราช ที่คือประวัติย่อย ๆ พอถนนมิตรภาพและทางรถไฟตัดผ่าน อำเภอชนบทเลยอาภัพเป็นเมืองเก่าที่ถูกลืม สิมโบราณเมื่อก่อนอยู่วัดศรีบุญเรืองยังไม่พังถลายลงมาตามกาลเวลามีพระเก่ามากมาย หลวงปู่เขียวท่านสามารถเพ่งจิตดูได้ว่าใต้แผ่นดินนี้มีอะไรอยู่บ้าง หลวงปู่เขียวท่านเป็นเพื่อนสหธรรมมิตร (เพื่อน) กับหลวงปู่พัน พระธรรมสารเถร วัดจันทร์ประสิทธิ์ อำเภอบ้านไผ่ เป็นสหธรรมมิกกับสมเด็จบ้านโต้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุฯ สมัยท่านไปเรียนที่กรุงเทพไปพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ได้ไปพักจำพรรษากับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันฺโท จันทร์) ได้ยัติธรรมยุต ณ พัทธสีมา วัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาเล่าเรียนที่วัดบรมนิวาส 3 พรรษา ระหว่างเรียนบาลีอยู่กรุงเทพนั้นหลวงปู่เขียวท่านได้สนทนาธรรมกับเกจิยุคนั้นหลายรูปที่ร่วมเรียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมฺโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิกกัน (สหาย) และสมเด็จพระสังฆราช(จวน) ก็สนิทสนมกัน เพราะมีอุปัชฌาย์เดียวกัน ก่อนท่านจะกลับมาบ้านเกิดอำเภอชลบท หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ท่านเคารพหลวงปู่เขียวนี้มากถือเป็นอาจารย์หลวงปู่ผางอีกรูป ที่ท่านเคารพกราบไหว้พูดถึงอยู่บ่อยๆ ท่านเป็นที่เคารพของเกจิอาจารย์ยุคนั้นหลายรูปอาทิ หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์,หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล แวงน้อย , หลวงปู่พระมหาโส กัสฺสโป ฯลฯ นอกจากนั้นหลวงปู่เขียวท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เกจิดัง ๆ ยุคนั้นหลายรูป อาทิ หลวงปู่นิล มหันฺตปัญโญ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ ก่อนท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าคุ้มจัดสรรค์และเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ , พระครูสีลสังวราภรณ์ ,พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อดีตเจ้าคณะอำเภอชนบท ผู้สร้างเหรียญหลวงพ่อผางรุ่นแรกคงเคและคอติ่งจนโด่งดัง,หลวงพ่อชม ปภัสสโร วัดบ้านระหอกโพธิ์ อำเภอโนนศิลา อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ก่อนหลวงปุ่นิล มหันตปัญโญ) ,หลวงปู่บุญมา เจ้าอาวาสวัดป่าภูหันบรรพรต,หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวาริน อำเภอบ้านไผ่ ,หลวงปู่เขี่ยม วัดบ้านขุมดิน อำเภอมัญจาคีรี, รวมถึงพระอาจารย์จำนงค์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันวัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ฯลฯ บั้นปลายชีวิต หลวงปู่เขียวท่านมรณภาพเมื่อ 24 สิงหาคม 2524 สิริอายุ 86 ปี 6 เดือน 66 พรรษา วันที่พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เขียว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ท่านมาเป็นประธานสงฆ์ พระราชธานเพลิงศพท่าน และมานอนที่สิมโบราณวัดบึงแก้ว เพราะวัดบึงแก้วอยู่ติดกับวัดศรีบุญเรืองไม่กี่ร้อยเมตรครับ วัตถุมงคลของท่านสร้างออกมาในวาระที่ท่านได้ทรงสมณศักดิ์เลื่อนขั้นเป็นเจ้าคุณชั้นสามัญที่ "พระมุณีวรานุรักษ์" หรือพระมุณีวรญาณเถรมหานาโม ถือเป็นเจ้าคุณรูปแรกในอำเภอชนบทก็ว่าได้