ประวัติ ของ อำเภอชนบท

เดิมบริเวณหนองกองแก้ว เขตอำเภอชนบทปัจจุบันนั้น เป็น เขตเมืองสุวรรณภูมิ ( ปัจจุบัน อำเภอสุวรรณภูมิ ) มาตั้งแต่ปี 2256 - 2335 เมื่อครั้น พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 มีท้าวคำพาว ตำแหน่ง เมืองแสน สมุหกลาโหม ( ผู้กำกับดูแลด้านทหาร ) แห่งเมืองสุวรรณภูมิ ได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกมาตั้งหมู่บ้านหนองกองแก้ว ซึ่งมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านชื่อ "หนองกองแก้ว" โดยเดิมบริเวณแถบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิ แลภายหลังขอแยกมาตั้งบ้านเมืองแล้ว จึงสมัครเข้ารับราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา โดยได้ทำความดีความชอบเป็นที่พอพระราชหฤทัย 

โดย ในพงศาวดารภาค 4 บันทึกไว้ว่า "ลุจุลศักราช 1154 ปีชวดจัตวาศก หรือ ปี พ.ศ. 2335 ฝ่ายทางเมืองสุวรรณภูมิมีคนลอบฟันท้าวสูนผู้เปนอุปราชเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ท้าวเพี้ยกรมการจับตัวทิดโคตรพิจารณาได้ความเปนสัตย์ว่าเปนผู้ฟัน ทิดโคตรถูกเฆี่ยนตายอยู่กับคา แล้วเจ้าเมืองกรมการจึงมีบอกลงมายังกรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ท้าวอ่อนท้าว บุตรพระขัติยวงษา (ทน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนเก่าซึ่งได้มาถวายตัวเปนมหาดเล็กอยู่ในกรุงเทพ ฯ นั้นเปนอุปราชเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พระราชทานหมวกตุ้มปี่กระบี่บั้งทองเปนเกียรติยศ"

ในปีนั้นเมืองแสน ชื่อ "ท้าวคำพาว" หรือ เรียก "ท้าวคำพาวเมืองแสน" ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าแก้วมงคล ( "ขื่อเมือง" ซึ่งเป็นตำแหน่งกรมการเมืองหรือกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือมหาเสนาบดีของเมือง แยกการปกครองออกจากผู้ช่วยอาญาสี่ประเภทท้าวทั้งสี่ต่างหาก ขื่อเมืองมี 2 ตำแหน่งคือ เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายทหาร และเมืองจันทน์ ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน ) สุวรรณภูมิไม่ถูกกันกับ พระรัตนวงษา (อ่อน) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ จึงได้อพยพพร้อมผู้คนจำนวนหนึ่ง หนีออกมาตั้งบ้านหนองกองแก้ว (บริเวณอำเภอชนบทปัจจุบัน) สมัครทำราชการขึ้นอยู่กับเจ้าพระยานครราชสีมา จึงบอกกราบบังคมทูลขอตั้งให้ "ท้าวคำพาว" ตำแหน่ง เมืองแสน ของเมืองสุวรรณภูมิ มาแต่เดิม นั้น เป็นเจ้าเมือง และขอยกบ้านหนองแก้วขึ้นเป็นเมือง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ "ท้าวคำพาว" เมืองแสนเป็น ที่ "พระจันตะประเทศ" เจ้าเมืองชนบท และยกบ้านหนองแก้วขึ้นเป็นเมืองชนบท ขึ้นเมืองนครราชสีมา แบ่งเอาที่ดินเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งแต่ตำบลบ้านกู่ทองไปจนถึงหนองกองแก้ว เป็นเขตของเมืองชนบทแต่ครั้งนั้น

เมื่อครั้น พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 มีท้าวคำพาวเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ ได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกมาตั้งหมู่บ้านหนองกองแก้ว ซึ่งมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านชื่อ "หนองกองแก้ว" โดยเดิมบริเวณแถบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิ แลภายหลังขอแยกมาตั้งบ้านเมืองแล้ว จึงสมัครเข้ารับราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา โดยได้ทำความดีความชอบเป็นที่พอพระราชหฤทัย 

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2335 พระยานครราชสีมาจึงมีใบบอกลงไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ท้าวคำพาวเมืองแสน เป็นเจ้าเมืองตำแหน่งพระจันตะประเทศ  และยกฐานะบ้านหนองกองแก้ว  ขึ้นเป็นเมืองพระราชทานนามว่า เมือง "ชลบถวิบูลย์" แบ่งอาณาเขตออกจากเมืองสุวรรณภูมิ และยกเมืองชลบถ ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และเมืองชลบถ นับว่าเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญยิ่งจนมีเมืองขึ้นถึง 4 เมือง คือ

1. เมืองเกษตรสมบูรณ์

2. เมืองชัยภูมิ ( ต่อมาเป็นศูนย์กลางของชัยภูมิจึงได้รับการยกฐานะ เป็นจังหวัดชัยภูมิ)

3. เมืองสี่มุม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองจตุรัส )

4. เมืองโนนลาว (ต่อมาสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองโนนไทย)

เมื่อพ.ศ. 2433 ประเทศไทยได้จัดการปฏิรูปหัวเมืองลาวที่เป็นเมืองขึ้นของไทยทั้งหมดคือ

พ.ศ. 2442 มีการเปลี่ยนชื่อเรียกหัวเมืองใหม่ทั้งหมด ให้เรียกเป็น มณฑล

และ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ได้ย้ายที่ตั้งหัวเมืองลงมาจากฝั่งแม่น้ำโขง 50 กิโลเมตร เนื่องจากทางการไทย ได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส (ยึดลาว) ให้ทั้งสองฝ่ายตั้งกองกำลังห่างจากแนวเขตแดนระยะทาง 50 กิโลเมตร หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เปลี่ยนเป็น มณฑลลาวพวน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มณฑลอุดร

พ.ศ. 2434 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงประจำมณฑลอุดร หลังจากรวมเมืองขอนแก่น 2 ให้ย้ายไปรวมกับเมืองขอนแก่น 1 ที่บริเวณบ้านทุ่มแล้ว ท่านได้เดินทางลงมาตรวจเยี่ยมเมืองชลบถ ท่านเห็นว่าเมืองชลบถเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก สมญานามว่า เมืองชลบถพิบูลย์

พ.ศ. 2447 ไทยได้จัดแบ่งเขตการปกครองเป็นบริเวณ คือ จัดให้มีเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กันรวมเป็นกลุ่ม ให้เมืองที่มีประชาหนาแน่นเป็นที่ตั้ง เมือชลบถจึงถูกตัดออกมากับบริเวณพาชี อันประกอบด้วย 

  1. เมืองขอนแก่น 
  2. เมืองชลบถพิบูลย์
  3. เมืองภูเวียง 

เมืองขอนแก่นเป็นเมืองใหญ่ จึงได้เป็นศูนย์กลางการปกครองในที่ตั้งบริเวณพาชี

พ.ศ. 2450 มีการเปลี่ยนแปลงเขตบริเวณพาชี เมืองชลบถถูกยุบลงมาเป็นอำเภอ ทำให้ฐานะพระศรีชนะบาล เจ้าเมืองชลบถ ปรับลงเป็นนายอำเภอ 

พ.ศ. 2466 ตามแผนที่ทางราชการจะตัดทางรถไฟผ่านเมืองชลบถ แต่ก็ได้มีการสำรวจใหม่ ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2468 เปลี่ยนเส้นทางการสร้างทางรถไฟผ่านบ้านไผ่ ตำบลบ้านไผ่ อำเภอชนบท (ขณะนั้น)

พ.ศ. 2457 ตั้งอำเภอพล

พ.ศ. 2471 ตั้งกิ่งอำเภอบ้านไผ่  

พ.ศ. 2482 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านไผ่ขึ้นเป็นอำเภอ ผลจากการที่ทางรถไฟผ่านอำเภอบ้านไผ่ ได้มีคนอพยพเข้ามาทำมาค้าขายและอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันอำเภอมัญจาคีรีได้ย้ายมาตั้งที่ดอนเหมือดแอ่ข้างบึงกุดเค้าตะวันออกบ้านแท่น ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอชลบถเพียง 13 กม.

พ.ศ. 2468 ทางราชการมีแผนที่จะยุบอำเภอชลบถ เป็นตำบล ประกอบกับเกิดไฟไหม้ที่ว่าการอำเภอ ทางราชการจึงยุบอำเภอชลบถลงเป็นตำบล และให้ทุกตำบลในเขตอำเภอชลบถ ไปขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2490 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชนบท ในชื่อ "ชนบท" ขึ้นอีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน

ชนบท  เป็นคำนามแปลว่า บ้านนอก (ไม่พัฒนา) ชลบถ เป็นคำผสมระหว่าง ชล เป็นคำนามแปลว่า น้ำ  กับ บถ เป็นคำนามแปลว่า ทาง  แปลรวมกันได้ความว่า “ทางน้ำ” ดังนั้นหากอาศัยหลักทางวิชาการ "ภูมินามวิทยา" (Toponymy) และหลักภูมิรัฐศาสตร์ (Geo- Political Sciences) ซึ่งเป็นศาสตร์ค้นคว้าเกี่ยวกับการตั้งชื่อถิ่นฐานบ้านเมืองตามทำเลที่ตั้ง "ชลบถ" จึงน่าจะเป็นคำที่ถูกต้องกว่า ชนบท

เมืองชลบถ หรืออำเภอชนบท  มีทำเนียบผู้ปกครองมาแล้วดังต่อไปนี้

  • มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง    5   คน
  • มีข้าหลวงเมืองเป็นผู้ปกครอง   3   คน
  • มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง   33   คน จนถูกยุบเข้าเป็นตำบล

พ.ศ. 2506 แยกอำเภอพล ตั้งเป็นอำเภอหนองสองห้อง

พ.ศ. 2514 ตั้งกิ่งอำเภอแวงน้อย แยกออกจากอำภอพล

พ.ศ. 2520 ยกฐานะกิ่งอำเภอแวงน้อย เป็นอำเภอแวงน้อย และแยกอำเภอบ้านไผ่ ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอเปือยน้อย

พ.ศ. 2521 แยกอำเภอพล ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอแวงใหญ่

พ.ศ. 2537 ยกฐานะกิ่งอำเภอเปือยน้อย เป็นอำเภอเปือยน้อย และกิ่งอำเภอแวงใหญ่ เป็นอำเภอแวงใหญ่

พ.ศ. 2538 แยกอำเภอบ้านไผ่ ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านแฮด

พ.ศ. 2539 ตั้งกิ่งอำเภอโนนศิลา แยกออกจากอำเภอบ้านไผ่

พ.ศ. 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านแฮด และกิ่งอำเภอโนนศิลา เป็นอำเภอ

สรุปพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบันบริเวณตอนล่างแม่น้ำชี คือพื้นที่ของ เมืองชลบถ เดิมนั้นเอง