ภาษา ของ อำเภอป่าแดด

  • ภาษา[4] ในปัจจุบันนอกจากภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว กำเมือง (คำเมือง) หรือภาษาล้านนา ยังเป็นภาษาถิ่นที่นิยมอยู่อย่างกว้างขวาง โดยพบเห็นได้ในงานประเพณีสำคัญและป้ายสุภาษิตสอนใจที่ติดตามต้นไม้ตามโรงเรียนหรือไม่ก็ที่อื่น ๆ ซึงปัจจุบันทางราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันเพื่อรณรงค์อนุรักษ์ภาษาคำเมืองให้คงอยู่กับอำเภอป่าแดด โดยสนับสนุนให้ตามโรงเรียนเปิดสอนวิชาเลือกเสรี สอนภาษาเมืองให้แก่นักเรียน เนื่องจากอำเภอป่าแดดเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนหลากหลายเผ่าพันพันธ์ไม่ว่าจะเป็นไทยวน (คนเมือง) ไทลื้อ ไทยอง ลาว มอญ ดังนั้นแม้ปัจจุบันชาวอำเภอป่าแดดส่วนมากจะใช้คำเมืองในการสื่อสารพูดคุยกัน แต่เมื่อได้ฟังหรือศึกษากันอย่างลึกซึ้งจะสังเกตได้ว่าสำเนียงที่พูดกันนั้นมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป ภาษาของอำเภอป่าแดดอาจแบ่งออกได้ดังนี้
  1. ภาษาไทยวน (คำเมือง) โดยส่วนมากชาวอำเภอป่าแดดใช้ในการพูดสื่อสารกันมากที่สุด และคนส่วนมากคิดว่าเป็นภาษาที่ชาวอำเภอป่าแดดใช้สื่อสารกันทั้งหมด
  2. ภาษายอง ตัวอย่างเช่น ตี่บ้านมีโงกี่โต๋ (ที่บ้านมีวัวกี่ตัว) เอาเมื้องเอาเก๋อมาโอม (เอาเมี่ยงเอาเกลือมาอม) จะไปปิ๊กเต่อ (อย่าพึ่งกลับ)เป็นต้นนอกจากนั้นจะเป็นสำเนียงออกเหน่อ ๆ บางครังฟังแล้ดู้คล่ายภาษาลาวบ้าง มีคำพูดที่คนยองมักติดปาเช่น "คนยองก่มีเต้าอี้ขอหมู่อี้ปี้จะไป๋ได่ขัดเคือง" "ขะหนมซิ่นอยู่ตู่กั๊บเค้าสูเขาก่ไปกิ๋นเหอ"

อาจพบได้มากบริเวณบ้านถิ่นเจริญ ตำบลป่าแงะ คนป่าแงะเรียกคนที่นั้นว่า "ยองบ้านถิ่น" เพราะคนบริเวณนั้นอพยพมาจากบ้านถิ่น จังหวัดแพร่

  1. ภาษาลื้อ มีความคล้านคลึงกับภาษายองแต่แข็งกว่าสังเกตได้ว่าเมื่อพูดจบทุกประโยคจะมีคำว่า "เฮ่อ" "ส่า" หรือ "หย่า" ลงท้ายเสมอ เช่น ไปตางไหนมาเฮ่อ (ไปไหนมา) กิ๋นเข้ากับอะหยังส่า (กินข้าวกับอะไร) จะไปนอนแล้วหย่า (จะไปนอนแล้ว)กิ๋นเค้าแล้วส่า(กินข้าวหรือยัง) เป็นต้น
  2. ภาษาอีสาน เป็นภาษาที่เหมือน ๆ กับภาษาอีสานทั่ว ๆ ไปที่ใช้พูดในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้มากบริเวณหมู่บ้างวังผา ตำบลสันมะค่า ซึ่งเป็นชุมชนชาวอีสาน