สถานที่สำคัญ ของ อำเภอพรหมบุรี

สถานที่สำคัญ ๆ ในอำเภอได้แก่

คูค่ายพม่า

คูค่ายพม่า ตั้งอยู่บริเวณวัดหลังคู หมู่ที่ 1 บ้านเจดีย์หัก ตำบลบ้านแป้ง ลักษณะเๅป็นเนินดินยาว รูปร่างคล้ายตัวแอล กว้างประมาณ 5-ไ115 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งของแนวค่ายมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตัดผ่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัๅฤยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พม่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2127 เมื่อครั้งพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาที่เมืองชัยนาท และให้กองทัพหน้าลงมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา แขวงเมืองพรหม โดยจะมาสมทบกับเจ้าเมืองพะสิมซึ่งยกฤไ-มาทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อรวมกำลังกันเข้าตีกรุง7 กองทัพไทยได้ต่อสู้จนกองทัพพม่าที่ปากน้ำบางพุทราต้องถอยร่นไปที่เมืองชัยนา_ท พระเจ้าเชียงใหม่จึงได้โปรดถอยทัพกลับและทิ้งร่องรอยคูค่ายให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับไผักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

วัดกุฏีทอง

วัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒธรรมชาวไทยพวน ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ชาวไทยพวน เครื่องมือจับปลา เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยวดยานพาหนะ ฯลฯ งานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยพวนจะจัดขึ้นที่วัดกุฎีทองแห่งนี้

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้นมีต้นไม้ประมาณ 300 ต้น เป็นไม้ดอกไม้ใบที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนและคูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น

หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. 2175 การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ 3 ครั้งที่ 2 นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2513

ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวันเป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับชาวฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำเดือน 3 ปีจอ เวลา 09.45 น. ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 12 เวลา 10.00 น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน 101 มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน 4 วัน

เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 วางศิลาฤกษ์ 14-15 มีนาคม พ.ศ. 2512 สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2513 รวมเวลาการก่อสร้าง 1 ปี 4 เดือน 15 วัน ผูกพัทธสีมาวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2513

วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. 2513 กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

ประเพณีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้าเป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่หมู่บ้านน้ำเชี่ยวและหมู่บ้านโภคาวิวัฒน์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ พิธีกรรมจะกระทำเช่นเดียวกับประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอื่น ๆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอพรหมบุรี //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER39/DRAWE... http://www.singburi.go.th/_2017/amphur_content/cat... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/...