ประวัติ ของ อำเภอเวียงแหง

บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก

อำเภอเวียงแหงมีชื่อเดิมว่า "เมืองแหง" มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน เมืองยุทธศาสตร์ตามเส้นทางการเดินทัพและการค้าระหว่างเมืองเชียงใหม่ ราชธานีของอาณาจักรล้านนากับเมืองอังวะ (Ava) โดยเดินทางผ่าน เมืองนาย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่าและตั้งอยู่ห่างจากชายแดนเวียงแหง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 200 กม.) เมืองแหงตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองนายโดยเดินทางตามลำน้ำแม่แตง มีพื้นที่กว้างใหญ่ เหมาะแก่การสะสมเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพ มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ณ เมืองนี้มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้[2][3]

  • เป็นเส้นทางเดินทัพของ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่ โดยประชุมทัพ ณ เมืองนาย ทหาร 60,000 คน ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาช่วยเมืองพิษณุโลกตามคำขอของขุนพิเรนทรเทพ เนื่องจากทางล้านช้างยกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2108 ครั้นเคลื่อนทัพมาถึง "เวียงแหง" ได้รับหมายแจ้งว่ากองทัพล้านช้างทราบว่าพระเจ้าบุเรงนองส่งกองทัพมาช่วย จึงยกทัพกลับล้านช้าง พระเจ้าบุเรงนองจึงมีท้องตราเรียกกองทัพ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่กลับคืนมาตุภูมิ
  • เป็นเส้นทางหลบหนีของแม่ทัพเนเมียวสีหบดี ขุนศึกพม่าผู้พิชิต 3 อาณาจักร คือ ล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา หลังจากถูกกองทัพพระเจ้าตากสิน ขับไล่ออกจากเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2317 จนต้องหลบหนีไปตั้งหลักอยู่ที่เมืองนาย
  • เป็นเส้นทางเดินทัพที่พม่ากลัวกองทัพเชียงใหม่จะไปโจมตีพม่ามากที่สุดใน พ.ศ. 2388 เพราะระยะทางสั้น เดินง่าย และเป็นทางใหญ่ พม่าจึงตั้งด่านที่แม่น้ำสาละวิน ณ ท่าข้ามท่าผาแดง[4] โดยให้ทหารลาดตระเวณตลอดเวลา[5] ดังที่พระยาจุฬาราชมนตรี ในรัชกาลที่ 3 บันทึกปากคำท้าวสิทธิมงคล ซึ่งเป็นจารบุรุษของเมืองเชียงใหม่ไปสืบราชการลับในพม่า และถูกพม่าจับขังคุกที่ เมืองนาย เป็นเวลานาน 1 ปี 1 เดือน 3 วัน ครั้นพ้นโทษจึงกลับเมืองเชียงใหม่ และเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อให้ปากคำ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2388 ความว่า...
     (คัดลอกตามต้นฉบับ) ...ระยะทางแตเมืองน้าย   จะมาเถึง แมนำคง มาได้ 5 ทาง ....ทางหนึ่งค่างต่วันออกเฉยิงไต เดืนแต เมืองนั่าย ทางคืนนึงเถึงเมืองปัน แตเมืองปันมาทางคืนนึงเถึง ถัผาแดง ตกแมนำคง ทางนีเดืนง้ายเปนทางไหญ ไก้ล เมืองเชยิงไห้มพ่มากลัวกองทัพเมอิงเชยิงไห้ม จะยกไปทางนีจึงมาตังด่านทีฝังแมนำคง ถ้าผาแดง แหงนึง ที เมืองปัน แหงนึง พ่มาพัลตเปลยีนกันมาลาตระเวนไมขาษ...
     เรียบเรียงใหม่ได้ดังนี้  " ระยะทางแต่เมืองนาย จะมาถึงแม่น้ำคง(สาละวิน) มาได้ 5 ทาง...  ทางหนึ่งข้างตะวันออกเฉียงใต้ เดินแต่ เมืองนาย ทางคืนหนึ่ง ถึง เมืองปั่น แต่เมืองปั่นมาทางคืนหนึ่ง  ถึง "ท่าผาแดง" ตะวันตกแม่น้ำคง ทางนี้เดินง่าย เป็นทางใหญ่ ใกล้เมืองเชียงใหม่ พม่ากลัวกองทัพเมืองเชียงใหม่จะยกไปทางนี้จึงมาตั้งด่านที่ฝั่งแม่น้ำคง ท่าผาแดง แห่งหนึ่ง ที่ เมืองปั่น แห่งหนึ่ง พม่าผลัดเปลี่ยนกันมาลาดตระเวณไม่ขาด.."
  • ชาวเมืองแหง หนีราชภัยของพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำคง ไปอยู่ เมืองปั่น เมืองหมอกใหม่ และเมืองหาง ในเขตรัฐฉานปัจจุบัน เป็นเหตุให้เมืองแหงกลายเป็นเมืองร้าง ประมาณ ปี พ.ศ. 2400[6]
  • เป็นเส้นทางรับเจ้าพม่าจากแม่น้ำสาละวิน ณ ท่าผาแดงมายังเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ปี พ.ศ. 2408[7] โดยเจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตร แห่งเมืองเชียงใหม่ มีหนังสือกล่าวโทษพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ มายังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เพื่อกราบบังคมทูลถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความดังนี้(คัดลอกตามต้นฉบับ)
...." ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงข้าพระเจ้าเปน เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ  เจ้าราชบุตร สำรับรักษา เขตรแดนเมืองเชียงใหม่  ด้วยเจ้าเชียงใหม่ ใม่ตั้งอยู่ในทศมิตราชธรรมประเพนีและพระบรมราโชวาทพระราชบัญญัติแลคำอะธีถานถือน้ำพระพิพัตรสัจา ประการหนึ่งทุกวันนี้ เจ้าบุรียรัตน บุตรเขยเจ้าเชียงไหม่แลเจ้าราชภาคีนัย เปนที่ปฤกษา เกนให้นายบุญทากับไพร่มากน้อยเท่าใดไม่ทราบไปรักษา เมืองแหง ให้ถางตะลอดกระทั่งถึงริมน้ำ ท่าผาแดง ครั้นอยู่มาพม่านายไพร่เปลียนชื่อเปนขุนนางเงี้ยว(ไทใหญ่) ถือหนังสือฉบับหนึ่งเข้ามาทาง ท่าผาแดง มาถึงเมืองแหง ส่งพม่านายไพร่ เข้ามาถึงเมืองเชียงไหม่ เจ้าเชียงไหม่เกนให้ท้าวพระยารับตอ้นพม่าไปที่ภักข้าหลวงมายั้งอยู่แต่ก่อน เจ้าเชียงไหม่เลี้ยงดูเปนอันมาก กับให้พิทักษรักษายิ่งกว่าข้าหลวงมาแต่ก่อน ประการหนึ่งคบคิดเปนมิตรไมตรีกับพม่าข้าศึกแลให้ช้างสองช้าง ปืนคาบสิลา 8 บอก กับคนใช้ในเมืองเชิยงไหม่สองคนผัวเมียกับหนังสือฉบับหนึ่ง ข้อความในหนังสือประการใดข้าพเจ้าไม่ทราบ  แล้วเจ้าเชียงไหม่เกนให้แสน ท้าวกับไพ่ร ในเมืองเชียงไหม่ส่งแลพีทักษรักษาพม่ากลับคืนไปทาง เมืองแหง ถึง ท่าผาแดง  ประการหนึ่งเจ้าเชียงไหม่กดขี่คุมเหงข้าพเจ้า แสน ท้าว พระยา อนาประชาราษฎรได้ความเดือษรอ้นเปนอันมาก ครั้นเดือน 12 เกนไพร่ประมาณ 700-800  ว่าจะไปถางที่ส่งพม่ากลับคืนออกไป แลเจ้าเชียงไหม่ทำไมตรีกับพม่าข้าศึกแลเกนคนไปทำทาง ข้อราชการอันนี้เจ้าเชียงไหม่ก็หาได้ปฤกษาข้าพเจ้าไม่ ขอท่านได้นำเอาข้อความอันนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรรุนาแดพระบาทสมเดจ์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเดจ์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย สิ่งประการใดข้าพเจ้าจะดีมีความชอบ ขอบุญปัญา ฯพัณฯ สมุหนายกเปนที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าดว้ย
            บอกมา ณ วนั 3 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลูสัปตศก.."
  • เป็นเส้นทางการค้าระหว่างเชียงใหม่กับพม่า ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5) ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2416 รัฐบาลสยาม กับรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองพม่าในขณะนั้น ได้ลงนามในสัญญาไมตรีเพื่อส่งเสริมการพาณิชย์ ที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "สนธิสัญญาเชียงใหม่"โดยมีสาระประการหนึ่งว่า
      ....สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามจะให้เจ้าเชียงใหม่ตั้งด่านกองตระเวณ และให้มีเจ้าพนักงานกำกับริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นเขตแดนเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นของฝ่ายสยามแล้วและให้มีโปลิศ(ตำรวจ)ตั้งอยู่พอสมควร จะได้ระงับห้ามโจรผู้ร้าย และการอื่นๆที่เป็นสำคัญ..ต่อมาพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ พระเจ้าเชียงใหม่ มีศุภอักษรกราบบังคมทูลรายงานสมเด็จพระปิยมหาราช ดังนี้   ..ป่าไม้ขอนสักในแขวงเมืองเชียงใหม่ ริมแม่น้ำคง ซึ่งเรียกว่าแม่น้ำสาละวินต่อเขตแดนเมืองมรแมน เมืองยางแดง เมืองปั่น เมืองปุ เมืองสาด มี 8 ตำบลที่ลูกค้าเดินไปมาค้าขายเป็นเส้นทางใหญ่อยู่ 8 เส้นทาง ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดบุตร หลาน ท้าว พระยา คุมไพร่ไปตรวจตราระวังโจรผู้ร้ายอยู่เนืองๆ...
     ทางเมืองแหง เป็นเมืองร้าง ทางลูกค้าเดินมาแต่ เมืองพม่า ให้คนเมืองกึดไปตั้งด่านตระเวณ 50 คน..(บ้านเมืองกื้ด ตั้งอยู่ตอนปลายแม่น้ำแตง ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)

* เป็นเมืองหน้าด่านปกป้องชายแดน โดยพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มาจัดการเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2427 และมีรับสั่งให้พระยามหามหิทธิวงษา เจ้าเมืองฝาง ไปจัดการตั้ง

  เมืองแหงเหนือ เมืองแหงใต้ เมืองนะ เมืองแกนน้อย เพื่อป้องกันชายแดน และแแต่งตั้งให้ "ฮ้อยสาม" เป็น "แสนธานีพิทักษ์" เจ้าเมืองแหง[8] ใน พ.ศ. 2428
  ..." ข้าพเจ้านายแถลงการวิตถกิจ ทำริโปด(Report)ระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตร์หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ในปีรัตนโกสินทร์ศก 108 ยื่นต่อพระวิภาคภูวดล เจ้ากรมฉบับหนึ่ง      ... วัน 3(วันอังคาร)ที่ 4 กุมภาพัน เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 มินิต(นาที) จึงได้ทำเซอร์เวต่อไป เวลาเช้า 4 โมง 30 มินิต ถึงที่เซอร์แดน เมืองทา เมืองแหง ต่อกัน แต่ที่เขตร์แดนต่อกันนั้น มีสำคัญเป็นยอดดอยกิ่วก่อ ต่อไปเวลา บ่าย 1 โมง 41 มินิต ถึง บ้านแหงเหนือ มีเรือนประมาณ 30 หลัง ทำนาแลไร่รับประทาน ต่อไปจนเวลาย่ำค่ำแล้ว 56 มินิต ถึง เมืองแหงใหม่ เรือนประมาณ 70 หลัง คนประมาณ 200 คน ทำนาแลไร่รับประทาน ยุด(หยุด) พักวัดดาว แล้วนอนคืนหนึ่ง...."
  • เป็นเมืองชายแดนที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย (อ.ปาย แม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) ฟ้องกล่าวโทษเจ้าเมืองแหง (แสนธานีพิทักษ์) ว่าคบคิดกับ "เจ้าฟ้าเมืองนาย" "เมืองปั่น" "เมืองเชียงทอง" "เมืองปุ" จะนำกำลังมารบชิงเมืองปาย และเมืองงาย รวมทั้งจะก่อการขบถต่อราชอาณาจักรสยาม ใน พ.ศ. 2438[10] ทั้งนี้เรื่องราวได้รายงานตามลำดับชั้น จาก พระยาดำรงค์ราชสีมา เจ้าเมืองปาย, เจ้าน้อยบัววงษ์ พระยารองกรมมหาดไทยเมืองนครเชียงใหม่, เจ้าราชวงศ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมทหารเมืองนครเชียงใหม่, พระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง, สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ราชเลขานุการในรัชกาลที่ 5 , พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช.
        ความในหนังสือของเจ้าเมืองปาย ซึ่งสมัยนั้นเขียนตามภาษาพูด และเป็นภาษาถิ่น บางคำเป็นภาษาไทยใหญ่ ดังนี้(คัดลอกตามต้นฉบับ)
                          เขียน ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔         ข้าพเจ้าพระยาดำรงค์ราชสีมา ผู้ว่าราชการเมืองปาย ปฏิบัตินมัศการกราบเรียนองค์เป็นเจ้าอยู่หัวเจ้าราชวงษ ซึ่งสำเร็จราชการกรมมหาดไทย ทหารเมืองนครเชียงใหม่ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔ ข้าพเจ้าได้ "จับยับ"[11] เอาพวกคนใช้ "ปู่เมอุก"[12] พ่อเมืองแหง ปล่อยมาฟังร้ายดีใน เมืองปาย นี้ ๓ คนด้วยกัน ผู้ ๑ ชื่ออ้ายพุด ผู้๑ ชื่ออ้ายคำ ผู้หนึ่งชื่ออ้ายยี่ ...ด้วยตัวอ้ายสามคนที่พ่อเมืองแหงใช้มานั้น ข้าพเจ้าได้จับเอาตัวอ้ายสามคนนั้นใส่เหล็กไว้ในเมืองปาย นี้แล้ว ครั้นข้าพเจ้าจึงถามอ้ายสามคนด้วยรายเมืองแหงเป็นขโมยนั้นอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ จึงให้การว่า       ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๔  ปู่เมอุก ผู้เป็นพ่อเมืองแหง ได้บังคับ ปู่เถิกซะ "เป็นแก่"[13] ปู่แย แลราษฎรในเมืองแหง คนรวม ๓๐ คนซ้ำบังคับให้ปู่จองมองเป็นแก่ คุมพวกคนนักเลงนอกเขตรเมืองแหงนั้นรวมคน ๓๐ คน พวกนักเลงกับพวกคนเมืองแหงสมรวมสองรายเป็นคน ๖๐ คน นี้ยกออกไปตั้งกองทัพลวงเอาฆ่าคนที่ "เมืองแพนปู" พวกเมืองแหง ว่าอย่างนี้ ให้ปู่เถิกซะกับปู่จองมองผู้เป็นแก่สองแก่ยกเอาคน ๖๐ คน มายัง "เมืองแพลน" ครั้นเข้ามาอยู่เมืองแพลนแล้วนั้นพวกบ้านเมืองเป็นความเดือดร้อน "แพลนห้วยป่ามุง" "แม่ละนายางไม้แดง" ซ้ำพากันมารวมเป็นขะโมย รวมทั้งมวนประมาณจะมีสัก ๑๐๐ คนเสศอยู่ ครั้นมาตีเมืองปาย "บ่อแตกบ่อป่าย" บ่อหนีแล้วขะโมย เมืองแหงจึงแตกตื่น "ป่ายหนี"[14] กลับคืนมา"แผว"[15] เมืองแหงคืนที่เก่า ขะโมยพวกเมืองแหงแผวคืนเมือแล้วนั้นเขาพากันมาจับภ่อดูคนตายถูกปืน มีโป่คำลายหนึ่งกับโป่คำไสสองคนเท่านั้นแล้ว เห็นตายอยู่ริมหัวบ้านพระยาดำรงค์ เขาพูดกันว่าดังนี้ ตั้งแต่เขามาตีเมืองปายแล้วนี้ โป่สุก กับโป่จองมอง "ก็บ่อหันแล้ว"[16] เขาว่ามันไปเชียงใหม่ ได้ยินเขาพูดกันว่าอย่างนี้แล้ว พวกบ้านเมืองแพลน เมืองน้อย บ้านห้วยป่ามุงก็หนีคืนเมือหา ปู่เมอุก พ่อเมืองแหงๆ มีอาญาให้คนทั้งหลายคนเก่าคนแก่แม่หญิงลูกอ่อนไปอยู่ "บ้านสันป่าแปลกยาว"[17] นั้นเสีย คนหนุ่มทั้งหลายก็พากัน "เกิ๊ดที่ทางปล่อง"[18] "ทางปล่องห้วยหก" ปู่น้อยแสนเป็นแก่ไปเกิ๊ดเฝ้าอยู่คนสัก ๑๐ คนเสศ "ทางปล่องสันกำแพง" หื้อปู่กองยาติโกลวดไปอยู่เฝ้าคน ๑๐ เสศ ทาง"ปล่องน้ำบ่อหมาเลีย" นั้นหื้อโป่กำแลกเป็นแก่ไปเกิ๊ดเฝ้าอยู่ท่า(ถ้า)เห็นคนเมืองปายฟันตายนั้นเสี้ยง(ให้หมด) อย่าให้ลุกสักคน ในเวียงหื้อโป่แยคุมพวกคนนักเลง ๔๐ คน อยู่เฝ้าได้ยินเสียงปืนออกตำบลใด หื้อออกรับตำบลนั้น พ่อเมืองแหง เกณฑ์คนกันไว้อยู่อย่างนี้แล้วเดี๋ยวนี้แล้ว               ข้อ ๒ ข้าพเจ้าอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่  รู้จักนั้นมีคนของ "ปู่อำนาจจะเล"  "ส่างยี" "เมืองนาย"นั้น ๒๕ คน กับปู่เถิกซะเมืองแหง ๑ โป่จาง ๑ โป่มอง ๑ ปู่น้อยสวน ๑ ปู่เมยาแม่หองจู ๑ ปู่กันณะผีเถื่อน ๑ อ้ายคำคนในเรือนพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายพุดคนในเรือนพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายกันณะหลานพ่อเมืองแหง ๑ อ้ายจิณ ๑ อ้ายซางทุน ๑ อ้ายอ๋อ ๑ ตังแกลาย ๑ สลอบตัน ๑ จองเคื่อง ๑  บัวสุ ๑ บัวคำใส ๑ บ้านหนองน้อย ๑ คนที่ข้าพเจ้าสามคนรู้จักเท่านี้
        ข้อ ๓ ปู่เมอุกพ่อเมืองแหง มีอาญาบอกกล่าวให้ "พวกแย" พวกเมืองแหงแลพวกคนนักเลงทั้งหลายว่าเรารอฟัง "ขุนทอน"ลงไปเชียงใหม่กลับคืนมาก่อน ถ้าว่าเจ้านายเมืองเชียงใหม่ ยังจะมาตีรบทำลายหื้อเราอยู่เป็นแน่นั้นเราดีรีบเร็ว "ไปตีเมืองปาย เมืองคอง เมืองงาย"ก่อน เจ้านายบ่อมาแผวเตื้อนี้ก็จะตีหื้อทันก่อนกองทัพเชียงใหม่ ปู่เมอุกว่าอย่างนี้ อีกข้อหนึ่งถ้าเจ้านายเชียงใหม่ยกทัพขึ้นมาเมืองปายแล้ว แลเจ้านายยังบ่อยกทัพเลิกกลับคืนเมือแล้วนั้นเราค่อยยกทัพเราเมืองแหงไปตีเมืองปายหื้อจงได้ ครั้นบ่อได้บ่อยอมปู่เมอุกพ่อเมืองแหงว่าอย่างนี้          อีกข้อหนึ่งปู่เมอุก พ่อเมืองแหงว่าเรารอฟัง "พวกคนนักเลงเมืองตะวันตกจะอยู่แถม ๒๐๐ นั้นแผวมาเราก่อน" ครั้นคนพวกนั้นแผวเราแล้วจะตีจะรบเมืองใดก็เป็นที่ลองใจเรานั้น ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงว่าอย่างนี้หื้อพวกคนทั้งหลายอยู่        อีกข้อหนึ่งตุลาการเฒ่าแก่เมืองปายซ้ำถามอ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่นั้นว่า "เมืองคอง"[19] ก่อนนั้นดู ขะโมยที่ไหนไปตี อ้ายพุดจึงให้การว่าขะโมยเมืองแหงไปตีดังเก่า โดยเมืองคองนั้นปู่เมอุกพ่อเมืองแหง มาบังคับใช้หื้อปู่จองมองเป็นแก่คุมพวกนักเลง ๓๐ คนไปตี ครั้นปู่จองมองออกจากเมืองแหงไปตามพ่อเมืองแหงบังคับนั้นแล้ว พ่อเมืองแหงมีหนังสือหื้อปู่เติกกับอ้ายตาเอาหนังสือไปส่งหื้อเมืองคองว่าเราได้ยินข่าว "ขโมยคนแอ๋" ลงมาตามเมืองคองนี้ หื้อเมืองคองได้ตระเตรียมไว้กลัวเสียเปรียบแก่ ผู้ร้าย หนังสือตอบส่งข่าวว่าดังนี้ ครั้นหนังสือถึงตะวันแลงนี้ "ครั้นมืดสลุ้ม"[20] ขะโมยก็เข้าตีเมืองคองแล้วซ้ำเลยลงไปตี "บ้านป้อมแม่เดิมปูนตา"[21] ข้าพเจ้าอ้ายพุด  อ้ายคำ อ้ายยี่ รู้เห็นนั้นเสี้ยงคำให้การมีเท่านี้[22]
         ข้าพเจ้า อ้ายพุด อ้ายคำ อ้ายยี่ จึงลงลายมือให้ตุลาการเมืองปายไว้เป็นสำคัญต่อพ่อตังแกน้อยจองใจ ๑ จองลาย ๑ จองคำ ๑ พกากณกอ ๑ จุมมู น้อยลิน คงคำให้การไว้  (ลายนิ้วมือ)อ้ายคำ อ้ายยี่ อ้ายพุด
        ข้อ ๑ แถม เมื่อคนเมืองแหงมาตีเมืองปายนั้น "ปู่อำนาจจะเล" "เมืองนาย" ก็มีอยู่เมืองแหงนั้นนอนที่เรือนตังแกลาย คนปู่อำนาจมีปู่ตาเสือ ๑ น้อยคำ ๑ ยังลงมาตีเมืองปายอยู่ ครั้นหมู่เมืองแหงแตกป่ายแผวเมืองแหงแล้วสามวันปู่อำนาจจึงยกออกจากเมืองแหง "ปิ๊กเมือ"[23] ข้อ ๑ แถมศักราช ๑๒๕๖ ภอเดือนสี่เงี้ยว(ไทใหญ่)ปู่แสนคนเมืองนายเอาเงิน ๑๕๐๐ แถบมาหาปู่เมอุกหาซื้อช้าง ปู่เมอุกก็ได้ซื้อช้างทางเมืองเชียงใหม่สองตัว ผู้ ๑ แม่ ๑  ซ้ำ "ปี๊กคืน"[24] มาอยู่ที่ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงดังเก่า แล้วปู่เมอุกซ้ำบังคับขุนปัน ๑ ปันนียะ ๑ กับคนหนูโมสองคน    บ่อรู้จักชื่อที่ส่งถึง "เจ้าฟ้าเมืองนาย" แล้ว "เจ้าฟ้าเมืองนาย"หื้อเงินเขา ๔ คน ๔๐๐ แถบแล้ว "เจ้าฟ้าเมืองนาย"ซ้ำหื้อเงินมาที่ปู่แสนแถมเป็นเงิน ๕๐๐ แถบ ปู่แสนซ้ำปิ้กเข้าที่ปู่เมอุกพ่อเมืองแหงแถม ปู่แสนก็เอาเงินมา "เล่นลวงเสียปักตก"[25] ปู่แสนนั้นก็มีอยู่ในเมืองแหงรวมคน ๓ คน ปู่แสน ๑ ปู่ยี่ ๑ ปู่แสง ๑ คนสามคนนี้เขาพูดว่า ครั้นบ่อได้คืนเงิน ๕๐๐ แถบ นี้ "บอเมือได้" เช่นได้คืนเงิน ๕๐๐ แถบนี้คืนจึงจะเมือได้เขาพูดว่าอย่างนี้ เวลามาตีเมืองปายนั้นเขาก็มาต่อยเพื่อนอยู่
                               อ้ายพุดแจ้งความให้การแถมเท่านี้.


                  หนังสือของ แสนธานีพิทักษ์ เจ้าเมืองแหง ถวายรายงานมายังพระเจ้าเชียงใหม่

(สำเนา) ที่ ๑๒๕๘๖ รับวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๔

''ข้าพเจ้าแสนหลวง พ่อเมืองแหง รับประทานมีหมายมากราบเรียนนมัศการขอได้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระเจ้าหอคำองค์อยู่เกล้าฯเมืองนครเชียงใหม่ แลเจ้าสิงลาภราชบุตร เจ้าท้าวพระยาสิบสองเหนือสนามขอได้ทราบทุกตน

          ด้วยกิจการบ้านเมืองที่พระยาดำรงเมืองปายก็ได้ "ค้าขายส่อเบากล่าวโทษข้าพเจ้า" ถึงเจ้าเหนือหัว "อยู่บ่แล้วบ่หายสักเตื้อ"[26] แลถ้ามีผู้ร้ายคนโจรมาลักคุยที่ตำบลในๆ(ไหนๆ) ก็หาเป็นคนเมืองแหงว่าฉันนี้ ก็ถึงมาอยู่ได้สองปีสามปีมาแล้ว ติดด้วยตัวข้าพเจ้าฤๅก็เป็นข้าเก่าเนานาน แต่เมื่อเช่นพระเจ้ากาวิโลรศ ก็มีพระราชอาจญา ปง(มอบหมาย)ให้ข้าพเจ้า ได้มาตั้งแต่ริบรวมรักษาวรนารัตถประโยชน์ของแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวแต่เมื่อศักราชได้ ๑๒๑๓ ตัว (พ.ศ. ๒๓๙๔)ก็อยู่มา ได้ ๑๕ ปี ก็ได้กินสัจเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าก็บอได้คิดผิดแบบภายนอก ผิดศอกภายใน ก็บอคดเลี้ยวต่อเจ้าแผ่นดินสังสักวัน          สืบมาถึงองค์อยู่เกล้าฯได้ขึ้นเป็นเจ้าครอบครองอำในกายขันธ์ทั้ง ๕ แห่งข้าพเจ้านั้นแล้ว เจ้าอยู่หัวก็ได้ชุบเลี้ยงโปรดให้ ข้าพเจ้าได้ขึ้นมารักษาราชการหื้อมันกว้างศอกออกวา ว่าฉันนี้ ข้าพเจ้าก็ได้อยู่มาได้ ๑๑ ปี แลสติสัจจาเจ้าอยู่หัวก็มีในห้องในบุญข้าพเจ้าแล้ว แต่ข้าพเจ้าจะมีใจคดเลี้ยวต่อพระเจ้าอยู่หัว แลจะไปเปนโจรขโมยกับบ้านกับเมืองก็หาบอมี
          การที่ว่าขโมยผู้ร้ายนั้นเปรียบว่า “ข้า”หากมีทุกบ้าน “ข้าหาร”(ทหาร) มีทุกเมือง แต่ไปที่ใดๆก็ดี "พาหน"เมืองปายก็ป่าวแยงหนังสือลงมาขายหน้าข้าพเจ้า ถึงเจ้าจอมทุกปีทุกเดือนแล้วคิดเปนทัพศึก แลว่าข้าพเจ้าเมืองแหงจะลงไปรบที่เจ้าเมืองปายที่แต้ก็หากเป็นข้าเจ้าเดียวเจ้าหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ทั้งมวน(มวล)เหมือนกัน  ถ้าว่ามาตีมันป่าย(พ่าย)ทางเมืองปายแต้มันก็สังมีหนังสือ ๓/๗ ถ้าบ่อบอกหื้อข้าพเจ้าได้รู้ควรดีช่วยกันเสาะหา แต่จะเป็นผู้ร้ายในบ้านใดเมืองใด  มันไปทางใดก็ล้างภอมาบอกฮื้อข้าพเจ้าได้รู้ว่าเกิดมีในเมืองแหงก็ดี ก็ควรจะได้ปฤกษาช่วยกันตอบก็ดีได้พร้อมกันทั้งสองก่อน  ถ้าเพื่อนไปเยียะไปชิงคุยที่ไหน ก็ว่าเป็นโจรขโมยเมืองแหง
          ถ้าจะมาเขี้ยว(เคี่ยว)น้ำเอาตัวแต่ก็บอได้ปอยแปงหนังสือ มาไหว้ษา อยู่บอขาดวันหนึ่ง พระข้าเจ้าไปค้าในเมืองปายมันก็ "จับยับเอา" แล้วเฆี่ยนตีผูกมัด ว่าเพื่อนเปนขโมย ว่าฉันนี้ โดยพระยาดำรงมากล่าวโทษข้าพเจ้านั้นเจ้าอยู่เกล้าฯก็หาได้มีหนังสืออาจญามาเรียกเอาตัวข้าพเจ้ามาถามไม่แต่เจ้าอยู่เกล้าฯ ก็ฟังคำคืนคำขายพระยาดำรง มาฉ้อ ฉะนี้
          ข้าพเจ้าทั้งหลายเปนท้าวแก่ก็ที่หวั่นยั่นกลัวเสียแล้ว เหตุคำก็ดี ภอดีไหว้ษาอยู่ก็บ่อได้ไหว้ษาเสียแล้ว  แลถึงที่ภออยู่บก ได้กินบ่อได้ "กวาก็บ่อได้" ไปก็บ่อได้ เพราะความมีบ่อได้ไหว้ษา เหตุเจ้าจอมก็บ่อได้ถามเสียแล้ว จึงได้พาเอาลูกน้องพ้องปาย หนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ห้วย อยู่เหมือง อยู่แล้ว พึงดีอยู่พึงดีไปนั้น ก็ขอเจ้าอยู่หัวพอมีบุญได้โปรดข้าพเจ้า จะได้มานมัศการใต้ฝ่าพระบาท  ควรประการใดสุดแล้วแต่จะโปรด  '                                             ๑๒๕๗ ตัว
 หนังสือพระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง รายงานต่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

(สำเนา) ที่ 10860 รับวันที่30 มิถุนายน ร.ศ.114ที่ 129/1540เรื่อง ส่งคำแจ้งความอ้ายซาว ปู่จ่าก่า ในเรื่องแสนธานินทรพิทักษ์


                                                               ที่ว่าการข้าหลวงใหญ่เมืองนครเชียงใหม่                                                วันที่  7  มิถุนายน  รัตนโกสินทร์ศก  114

ข้าพระพุทธเจ้า พระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงรักษาราชการมณฑลลาวเฉียง บอกมายังท่านนายเวรขอได้นำกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทราบฝ่าพระบาท

ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้มีบอกกราบทูลมาฉบับหนึ่ง ที่ 69/1048 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม ร.ศ.114 ว่า ด้วยเรื่องแสนธานินทรพิทักษ์ ณ เมืองปาย นั้น ถ้าการหนักหนามาจะได้จัดให้เจ้าอุตรการโกศล ยกหนุนไปช่วยอีกภายหลัง ความแจ้งอยู่ในบอกของข้าพระพุทธเจ้านั้นแล้ว

(1) การเรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับหนังสือนายน้อยบัวรงวษ์ พระยารองกรมมหาดไทย ซึ่งออกไประงับการเรื่องนี้ ทิ่ 1/3 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม ร.ศ.114 (ส่งสำเนาคำแจ้งความอ้ายซาว 1 ปู่จ่าก่าเงี้ยว 1 รวม 2 ฉบับ ว่าวันที่ 25 พฤษภาคม ร.ศ.114 ยกจาก "วัดหนอง(ปลามัน)" ไปพัก"วัดสบเปิง" ครั้นเวลาค่ำพระยากาวิมณตรีคนในกองนายน้อยบัวรวงษ์ พาปู่จ่าก่าเป็นชาติเงี้ยว(ไทใหญ่) แจ้งความกับนายน้อยบัวรวงษ์ว่าจะเป็นวันที่เท่าใดจำไม่ได้ เดือนพฤษภาคม ร.ศ.114 นี้ ปู่จ่าก่าไปหาซื้อกระบือบ้านช้าง(ต,บ้านช้าง อ.แม่แตง) ไปพบชาวบ้านแลลูกค้าพูดกันว่าขุนธรณ์ บุตรเขยแสนธานินทรพิทักษ์ เมืองแหง กับพวกเพื่อน 5-6 คน มาแวะที่บ้านอ้ายซาวแล้วจะเลยมาหาพระเจ้านครเชียงใหม่ นายน้อยบัวรวงษ์ไม่ไว้ใจแก่ราชการ จึงได้มีหนังสือถึงแสนใจ แคว้นบ้านช้าง ให้แสนใจนำตัวอ้ายซาวมาหานายน้อยบัวรวงษ์ๆ ให้พระยากาวิมณตรี ถามอ้ายซาวๆ ให้ถ้อยคำต้องกันกับปู่จ่าก่า ความแจ้งอยู่ในหนังสือแลสำเนานั้นแล้ว

(2) ข้าพระพุทธเจ้าได้มีหนังสือไปถึง เจ้าราชวงษ์แลนายน้อยบัวรวงษ์ ว่า ถ้าแสนธานินทร์พิทักษ์จะเข้ามาหาพระเจ้านครเชียงใหม่ ก็เป็นการดีแล้วจะเกลี้ยกล่อมไว้โดยดีไม่ให้เอาโทษอย่างใดแล้วจึงจะจัดการต่อภายหลัง

(3) ครั้นต่อมาข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือเจ้าราชวงษ์ 2 ฉบับ ๆ ที่ 6/49 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.114 ส่งสำเนาหนังสือพระยาดำรงค์ 1 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องแสนธานินทรพิทักษ์พ่อเมืองแหง เตรียมคนในเมืองต่างๆจะรบเมืองปายให้จงได้ ข้าพระพุทธเจ้าได้มีตอบไปยังเจ้าราชวงษ์ 2 ฉบับ ให้นำความเรื่องนี้ แจ้งต่อพระเจ้านครเชียงใหม่ให้ "รีบเกณฑ์คนตามหัวเมืองขึ้นไว้ให้พรักพร้อม" จะได้ให้เจ้าอุตรการโกศลคุมขึ้นไปช่วยนายน้อยบัวรวงษ์โดยทันที ความแจ้งอยู่ในหนังสือเจ้าราชวงษ์ แลข้าพระพุทธเจ้ามีไปยังเจ้าราชวงษ์นั้นแล้ว

(4) เห็นด้วยเกล้าฯว่า "แสนธานินทร์พิทักษ์"พ่อเมืองแหง เป็นชาติเงี้ยว วางใจไม่ได้เลย แลความอาฆาตในระหว่างพระยาดำรงค์(พกากะณะ) ก็เป็นเหตุใหญ่อยู่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ชี้แจงการให้นายน้อยบัวรวงษ์ ผู้ออกไปจัดการเรื่องนี้เป็นการสำคัญ ก็ควรให้ได้ตัวแสนธานินทรพิทักษ์จงได้

(5) แต่ข้อที่พระยาดำรงค์พ่อเมืองปายชำระเงี้ยวพวกแสนธานินทรพิทักษ์ ได้ความเห็นด้วยเกล้าฯว่าเป็นชั้นเชิงอุบายที่จะให้เป็นเรื่องใหญ่ทางหนึ่ง เป็นทางที่จะให้เมืองนครเชียงใหม่สะดุ้งอยู่ด้วยแสนธานินทรพิทักษ์ เพื่อจะได้ลงโทษแสนธานินทรพิทักษ์ ก็เป็นได้ทางหนึ่ง ครั้นคิดไปตามนิสัยน้ำใจของชาติเงี้ยว มักจะคิดรบพุ่งโดยจู่โจมแลคอยลอบทำเผลอเลินเล่อ ดังเช่นเป็นกองโจรคนร้ายก็จะเป็นได้ จะฟังเอาแต่หนังสือพระยาดำรงค์แต่ฝ่ายเดียวก็ไม่แน่ใจได้ ด้วยเมืองปาย เมืองแหง กำลังของเมืองปายแข็งแรงกว่า ประการหนึ่งนายน้อยบัวรวงษ์ก็เป็นคนรอบคอบได้ราชการอยู่คงไม่เสียเปรียบแก่อุบายของคนชาติเงี้ยว

(6) ถึงอย่างไรก็ดีจำเป็นต้องให้เจ้าอุตรการโกศล หนุนออกไปจึงจะได้เพราะเงี้ยวกลัวคนมาก แต่ถึงจะกล้าหาญเพียงใดก็จริงอยู่แต่พอจะรับรองได้

(7) ข้าพระพุทเจ้าสังเกตดูเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าในเวลานี้นายน้อยบัวรวงษ์จะถึงเมืองปายแล้ว ถ้าหนักแน่นอย่างใด คงจะมีหนังสือบอกข้อราชการเข้ามา ถ้าข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้าฯในเรื่องนี้ต่อไปอย่างใด ข้าพระพุทธเจ้าจะได้มีบอกกราบทูลมาทรงทราบฝ่าพระบาทต่อครั้งหลัง ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดสำเนาหนังสือต่างๆในเรื่องนี้ รวม 14 ฉบับทำเป็นบัญชีสอดซองมาทูลเกล้าฯถวายทรงทราบฝ่าพระบาทด้วยแล้ว ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ

                                                                  ลายเซ็น    ทรงสุรเดช


     หนังสือของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทูลเกล้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช

     ที่ ๖๗/๑๒๗๓๒                                                             ศาลาว่าการมหาดไทย                                                                    วันที่ ๑๓ เดือนกรกฎาคม ร.ศ.๑๑๔

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

ด้วยแต่ก่อนข้าพระพุทธเจ้าได้มีจดหมายกราบทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ที่ ๔๐๙/๘๗๒๖ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ร.ศ.๑๑๔ ว่าด้วยเรื่อง "แสนธานินทร์พิทักษ์เจ้าเมืองแหง" อริวิวาทกับเจ้าเมืองปาย ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

       บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้รับบอกพระยาทรงสุรเดชที่ ๑๖๙/๑๕๔๐  ลงวันที่ ๗ มิถุนายนร.ศ.๑๑๔ ว่าได้รับรายงานนายน้อยบัววงษ ซึ่งพระยาทรงสุรเดชแต่งให้ออกไประงับการเรื่องนี้ มีความว่าเมื่อนายน้อยบัววงษ ไปพักอยู่ที่วัดสบเปิงได้ทราบความจากปู่จ่าก่าคนเงี้ยว(ไทใหญ่)แลอ้ายซาว ว่าปู่จ่าก่าไปหาซื้อกระบือที่ "บ้านช้าง"ชาวบ้านแลลูกค้าพูดกันว่า "ขุนทอน"บุตรเขยแสนธานินทร์พิทักษเจ้าเมืองแหง มาแวะที่บ้านอ้ายซาวแล้วจะเลยเข้ามาหาพระเจ้านครเชียงใหม่       เมื่อพระยาทรงสุรเดชได้ทราบความดังนี้จึงมีหนังสือไปถึงเจ้าราชวงษ์ แลนายน้อยบัววงษ์ว่า ถ้าแสนธานินทร์พิทักษ์ จะเข้ามาหาพระเจ้านครเชียงใหม่ควรเกลี้ยกล่อมเอาไว้โดยดี ไม่ให้มีโทษทัณฑ์อันใด ต่อมาพระยาทรงสุรเดชได้รับหนังสือเจ้าเมืองปายหนึ่งฉบับว่า ได้ความว่าแสนธานินทร์พิทักษ์เจ้าเมืองแหงเตรียมคนต่างๆจะมารบเมืองปาย       พระยาทรงสุรเดชได้มีคำสั่งให้เจ้านายเมืองเชียงใหม่กะเกณฑ์คนตามหัวเมืองไว้ให้พร้อม จะได้จัดให้เจ้าอุตรการโกศลคุมขึ้นไปช่วยนายน้อยบัววงษ์ แลมีความเห็นของพระยาทรงสุรเดชในเรื่องนี้หลายประการ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้า ถวายสำเนาบอกพระยาทรงสุรเดชที่ ๑๒๙/๑๕๔๐ หนึ่งฉบับ สำเนารายงานนายน้อยบัววงษ์หนึ่งฉบับ สำเนาหนังสือพระยาดำรงราชสีมาเจ้าเมืองปาย ๑ ฉบับ รวม ๓ ฉบับ ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

การเรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า ที่พระยาทรงสุรเดชได้จัดไปนั้น ก็เป็นการทำตามแบบแผนในธรรมเนียมเมืองลาว แต่ข้าพระพุทธเจ้าไม่ใคร่พอใจในแบบแผนที่ยกทัพกันง่ายๆเช่นนี้ เพราะการก็เพียงเล็กน้อย เป็นแต่เจ้าเมืองปลายแดนวิวาทกับกรมการตามสาเหตุที่มีกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ยกทัพเกรียวกราวออกไปดูพาให้เป็นการใหญ่ไปเปล่าๆ แลผลของการยกทัพลาวเช่นนี้ ถ้าจะเอาประโยชน์ก็ไม่เห็นจะมีอันใด "นอกจากกะเกณฑ์กันเล่นเหนื่อย" ถ้าพวกเงี้ยวพอใจจะต่อสู้จริงทัพลาวก็ไม่แน่ได้จะสู้หรือหนีการยกทัพลาวเคยมีแบบมาในครั้ง"พระยาปราบ"ครั้ง ๑ ยกไปเป็นก่ายเป็นกองถูกเงี้ยวขู่พักเดียวก็เปิดหมด ได้ทหารไทย ๒๔ คน กลับตีทัพเงี้ยวแตกไปนับ ๑๐๐ การในเรื่องเมืองปายนี้ข้าพระพุทธเจ้าประมาณดูเห็นด้วยเกล้าว่า เป็นแต่การวิวาทกัน "ต้องการตุลาการตัดสินผิดแลชอบมากกว่าอย่างอื่น" น่าที่จะเป็นเพราะพวกเงี้ยวเหล่านี้ไม่ใคร่ไว้ใจในยุติธรรมของลาว จึงยังกระด้างกระเดื่อง เห็นด้วยเกล้าว่า ถ้าให้ข้าหลวงรองเมืองนครเชียงใหม่สักคนหนึ่ง กับทหารไทยสัก ๑๐ คน ออกไปไต่สวนตัดสินการเรื่องนี้น่าที่จะเรียบร้อยได้ดีกว่ายกทัพลาวออกไป

       ถ้าชอบด้วยกระแสพระราชดำริห์ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้รับพระราชทานมีตราแนะนำออกไปยังพระยาทรงสุรเดชดังนี้ บางทีเห็นจะทันที่จะแก้ไขได้ แต่ถึงไม่ทันประมาณดูในเรื่องนี้ ก็เห็นด้วยเกล้า ว่า "จะไม่เป็นการใหญ่โตอันใด" ผิดนักก็จะเป็นอย่างขี่ช้างไปไล่ตักกระแตนเท่านั้น แต่ที่เมืองนครเชียงใหม่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า น่าที่จะต้องมีทหารไทยไว้สัก ๕๐ คน เป็นอย่างต่ำ สำหรับการปลายแดนเล็กน้อยเช่นนี้ จะมีประโยชน์แก่ราชการเป็นอันมาก ข้าพระพุทธเจ้าได้แจ้งต่อกระทรวงพระกะลาโหม แลกรมยุทธนาธิการ ขอให้จัดขึ้นในศก ๑๑๔ นี้แล้ว

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ

                                    ข้าพระพุทธเจ้า          ดำรงราชานุภาพ                                                     เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
           หนังสือจากเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร แจ้งมายังเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

ที่๙๖/๒๒๖ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

                                      วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก  ๑๑๔

ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ

       ด้วยได้นำลายพระหัตถ์ท่าน ซึ่งตอบรับจดหมายข้าพเจ้าเรื่องแสนธานินทร์พิทักษ์มาปล้นเมืองปาย แลชี้แจงการเรื่องนี้ ว่าต้องรอฟังรายงานนายน้อยบัววงษ์ ดังแจ้งในลายพระหัตถ์ ที่ ๕๑๔/๑๐๘๑๘ ลงวันที่ ๓๐ เดือนก่อนนั้น         ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว  โปรดเกล้าฯดำรัสว่า

ถ้าพระยาทรงสุรเดชเข้าใจว่าเราอาจถือว่าเปนผู้ร้ายข้ามแดนได้แล้ว เมื่อสืบสวนได้ชัดว่าอยู่ในแดนเขา ก็จะได้ว่าตามกันไม่เปนอันทำให้เสียเวลา”


เรื่อง "เมืองแหงวิวาท เมืองปาย" ท้ายที่สุดก็จบลงด้วยดี โดยเจ้าราชวงษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมทหารเมืองนครเชียงใหม่,พระยาทรงสุรเดช ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง แต่งตั้งนายน้อยบัววงษ์ พระยารองกรมมหาดไทยเมืองนครเชียงใหม่ ยกกองทัพออกจากเชียงใหม่ โดยประชุมทัพ ณ บริเวณข่วงสิงห์ เดินทางผ่าน อำเภอแม่ริม แล้วเลี้ยวซ้ายเดินทวนสายน้ำแม่ริมมาพักแรม ณ วัดหนองปลามัน ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม ผ่านหมู่บ้านรายทาง คือบ้านห้วยทราย บ้านนาหืก บ้านสะลวง บ้านกาดฮาว บ้านสันป่าตึง บ้านสันป่ายาง บ้านดอนเจียง บ้านท่าข้าม และพักแรมที่วัดสบเปิง ต.สบเปิง อ.แม่แตง จากนั้นเดินทางต่อไปยัง อ.ปาย ตัดเข้าเมืองน้อย เข้าสู่เมืองแหง เจรจากับแสนธานีพิทักษ์ และนำตัวเจ้าเมืองแหงเดินทางมาเชียงใหม่ เพื่อให้ปากคำแก่ตุลาการเชียงใหม่แล้ว ปรากฏว่าผลการสอบสวนไม่เป็นไปตามข้อกล่าวหา พระเจ้าเชียงใหม่ ให้แสนธานีพิทักษ์เข้าพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แล้วให้เป็นเจ้าเมืองแหงดังเดิม


* เป็นเมืองชายแดนที่มีความสำคัญโดยเฉพาะพื้นที่แอ่งเวียงแหงมีถึง 2 เมือง ในปี พ.ศ. 2440 ปิแอร์ โอร์ต ผู้ช่วยด้านกฎหมายของเจ้าพระยาอภัยราชา(โร จักแมงส์)ในสมเด็จพระปิยมหาราช มาตรวจราชการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ณ นครเชียงใหม่ บันทึกว่า

 นครเชียงใหม่ มี 10 หัวเมืองในสังกัด คือ 1 เมืองแหงเหนือ 2 เมืองแหงใต้ 3 เมืองแม่ฮ่องสอน 4 เมืองเชียงราย 5 เมืองปาย 6 เมืองยวม(แม่สะเรียง) 7 เมืองขุนยวม 8 เมืองเชียงแสน 9 เมืองฝาง 10 เมืองงาย(เชียงดาว)[27]
  • ลดฐานะจากเมืองแหง เป็น ตำบลเมืองแหง ขึ้นกับอำเภอเชียงดาว ประมาณ * พ.ศ. 2457
  • พ่อเฒ่าจ่าน หมู่บ้านซาววา(ยี่สิบวา) เมืองปั่น รัฐฉาน พม่า อพยพมาตั้งรกรากที่เมืองแหง ใน พ.ศ. 2477 ต่อมาทางการแต่งตั้งให้เป็นแค้วน ภาษาถิ่นออกเสียงเป็น แคว่น หรือกำนัน ตรงกับภาษาไทใหญ่ว่า "เหง"จึงเรียกว่า "ปู่เหงซาววา"หรือ กำนันซาววา และสิ้นอายุขัยในปี พ.ศ. 2493 อายุ 94 ปี[28]
  • เป็นเส้นทางเดินทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 [29]
  • เป็นเป้าหมายของฝ่ายสัมพันธมิตรโดยส่งฝูงบินทิ้งระเบิดเพื่อตัดเส้นทางยุทธศาสตร์สายเชียงใหม่-แม่แตง-เวียงแหง-พม่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[30]
  • เป็นเส้นทางบินหนีกลับฐานบินสัมพันธมิตรในประเทศพม่า หลังจากเครื่องบินถูกยิงในสมรภูมิกลางเวหาลำปาง และเครื่องบินตกที่ อ.เวียงแหง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[31]
  • เป็นเส้นทางการค้าต้อนฝูงวัว ฝูงควาย ม้า ลา เดินเท้าจากเมืองปั่น(Pan)[32] พม่า เข้ามาขายประเทศไทย ณ ช่องทางด่านหลักแต่ง อ.เวียงแหง ประมาณ พ.ศ. 2510-2545 [33]
  • ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเวียงแหง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2524[34]
  • ป้องปรามบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงตามแนวตะเข็บชายแดน [35]
  • สำรวจพบแร่ลิกไนต์ กว่า 139 ล้านตัน มูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท เมื่อ พ.ศ. 2530[36]
  • พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย(สิงห์ 1 ) ณ ลำห้วยหก ปี พ.ศ. 2534 [37]
  • เป็นเส้นทางนำเข้าไม้ซุงสักพม่า จากแม่น้ำสาละวิน(สบแม่น้ำจ้อด-Kyawt) ทวนสายน้ำจ้อด ผ่านเมืองทา-Hta เข้าสู่ประเทศไทย ณ ช่องทางด่านหลักแต่ง(BP 3 ) อฺ.เวียงแหง ถึงเชียงใหม่ โดยบริษัทไทยเทควูด จำกัด ประมาณ พ.ศ. 2535-2537[38]
  • ยกฐานะเป็น อำเภอเวียงแหง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 [39]
  • จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศเปิดจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อ.เวียงแหง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2541[40]
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านแปกแซม หมู่ที่ 1 ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2543[41]
  • เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน(BP 3)ด้านตรงข้าม อ.เวียงแหง ปี พ.ศ. 2545[42]
  • จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศปิดจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อ.เวียงแหง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2545
  • งานวิจัย กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยใหญ่ชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษาเรื่อง หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการสร้างอัตลักษณ์ 3 บุคคล 1 เหตุการณ์ [43] พ.ศ. 2545
  • หม่อมเจ้า.ชาตรีเฉลิม ยุคล สำรวจเมืองโบราณ "เมืองแหง อ.เวียงแหง" ปี พ.ศ. 2547[44]
  • อัญเชิญพระรูปหล่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาประทับข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547[45]
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ : รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ : เชียงใหม่ เมืองกื้ด เมืองคอง เมืองแหง เมืองนาย(พม่า) พ.ศ. 2549 [46]
  • กรมศิลปากร ขุดพบพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยอยุธยา ขนาดหน้าตัก 22 เซนติเมตร สูง 39 เซนติเมตร น้ำหนัก 2542 กรัม ศิลปะอู่ทอง รุ่น 2 พระพักตร์เหลี่ยมแป้น พระนลาฏแคบ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระศกเล็ก มีไรพระศกเป็นแถบเล็ก มีพระรัศมีเป็นเปลวสูงแหลม ชายสังฆาฏิเป็นรูปเขี้ยวตะขาบเรียบ นั่งขัดสมาธิราบ ทำปางมารวิชัย ศิลปะในช่วงพุทธศตวรรษ 20-21 ณ วัดพระธาตุแสนไห พ.ศ. 2555 [47][48]
  • กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา เส้นทางเดินทัพและสถานที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 29-31 สิงหาคม 2557 ณ โรงแรมกรีนเลคเชียงใหม่และเส้นทางโบราณเมืองกื้ด เมืองคอง เวียงแหง(อ.แม่แตง อ.เชียงดาว อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ [49]
  • ผ้าป่า 2 แผ่นดิน ทอดถวาย ณ วัดฟ้าเวียงอินทร์ อ.เวียงแหง โดย พลตรีสุทัศน์ จารุมณี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 [50][51][52](ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)
  • ผู้บัญชาการทหารบก และคณะ(พลเอกอุดมเดช สีตบุตร)[53] ถวายผ้าไตรบังสุกุล แด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดพระธาตุแสนไห อ.เวียงแหง เมื่อวันที่ 20[54] มีนาคม 2558
  • เวียงแหง กับ "ด่านหลักแต่ง" พ.ศ. 2558[55]
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานผลการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพศักยภาพ เชื่อมโยงด่านการค้าชายแดนและเตรียมความพร้อมจุดผ่อนปรนที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นด่านถาวร ภายใต้โครงการเปิดตลาดสู่ภูมิภาคอาเซียน งบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบปะมาณ พ.ศ. 2558[56]
  • กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง) จัดกิจกรรมสำรวจเส้นทางการค้า การท่องเที่ยว ตามเส้นทางการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เชื่อมไปยังจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการพัฒนาส่งเสริมการค้าชายแดนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว อ.เมือง เชียงใหม่,พื้นที่เส้นทางโบราณสายน้ำแม่แตง อ.แม่แตง อ.เชียงดาว และ อ.เวียงแหง [57]

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ เพื่อนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ระยะ 10 ปีด้านโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางบก-การก่อสร้างเส้นทางประวัติศาสตร์แม่แตง-เวียงแหงตามรอยเส้นทางพระนเรศวรด้านการค้า การลงทุนและการค้าชายแดน-การเปิดจุดผ่อนปรนและยกระดับเป็นด่านการค้าชายแดนถาวรช่องหลักแต่ง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่20,27 กันยายน 2561ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • อำเภอเวียงแหง จะเป็นประตูเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เชียงใหม่ -พม่า-จีน[58] ในทศวรรษหน้า[59][60][61][62][63][64][65][66]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำเภอเวียงแหง http://www.chiangmaiimm.com http://www.hedlomnews.com/?p=9616 http://www.prachatai.com/journal/2004/11/1026 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.dnp.go.th http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/A/... https://drive.google.com/file/d/0B1UTCljC-mnxN3FBY... https://drive.google.com/file/d/0B1UTCljC-mnxOS1NS... https://drive.google.com/file/d/0B1UTCljC-mnxQ0k1Z...