สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ของ อำเภอไพรบึง

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์

ประชากรในอำเภอไพรบึง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันทั้งลักษณะทางกายภาพและวัฒนธรรม แต่มีภาษาพูดที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ เขมร กูย(หรือกวยหรือส่วย) เยอ ลาว ดังปรากฏตามคำขวัญของอำเภอว่า "ไทยสี่เผ่า" ชาวเขมรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ตำบลไพรบึง ตำบลสำโรงพลัน ตำบลดินแดง ชาวกูยและชาวเยอ อาศัยอยู่ที่ตำบลปราสาทเยอ ตำบลโนนปูน และชาวลาวอาศัยอยู่ที่ตำบลสุขสวัสดิ์ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตรและส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา มีประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาและวงจรชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่เกิดจนตายในแต่ละเดือนของแต่ละรอบปี [2]

วัดในพุทธศาสนาที่สำคัญ

งานประเพณีและเทศกาลสำคัญ

ประชาชนทุกภาคส่วน ส่วนราชการ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอไพรบึง ร่วมกันจัดงานประเพณีและเทศกาลตามแบบแผนทางวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมหลายวาระในแต่ละรอบปี โดยมีงานประเพณีและเทศกาลสำคัญคือ

  • งานประเพณีสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุวัดไพรบึง ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีในช่วงคาบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา พระพุทธเจดีย์ไพรบึง
  • ประเพณีเบ็ญ(บุญเดือนสิบ)หรือแซนโดนตาหรือสารทเขมร ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึง แรม 15 ค่ำเดือน 10[4]
  • เทศกาลสงกรานต์
  • เทศกาลเข้าพรรษา
  • เทศกาลออกพรรษา
  • เทศกาลลอยกระทง

การศึกษา

โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่สำคัญ

  1. โรงเรียนอนุบาลไพรบึง โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอไพรบึง
  2. โรงเรียนบ้านสวาย-สนวน ตำบลไพรบึง
  3. โรงเรียนบ้านติ้ว ตำบลไพรบึง
  4. โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน ตำบลสำโรงพลัน
  5. โรงเรียนบ้านไทร ตำบลสำโรงพลัน
  6. โรงเรียนหนองอารีพิทยา ตำบลดินแดง
  7. โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ
  8. โรงเรียนบ้านโพนปลัด ตำบลสุขสวัสดิ์
  9. โรงเรียนบ้านตาเจา ตำบลโนนปูน

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

  1. โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอไพรบึง
  2. โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน
  3. โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนปูน
  4. โรงเรียนวัดไพรบึงวิทยา ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านไพรบึง เขตเทศบาลตำบลไพรบึง
  5. โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดไพรบึง ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอไพรบึง

  • ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี
  • ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การแพทย์และสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 1 แห่ง คือ [โรงพยาบาลไพรบึง] (ขนาด 36 เตียง และกำลังอยู่ระหว่างขยายเป็น 66 เตียง)
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) 6 แห่ง ได้แก่
  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่ม ตำบลไพรบึง
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาโมกข์ ตำบลสำโรงพลัน
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ
  4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองอารี ตำบลดินแดง
  5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตรวจ ตำบลโนนปูน
  6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้แก่น ตำบลสำโรงพลัน
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง
  • คลินิกทางการแพทย์ พยาบาลและการผดุงครรภ์
  • ร้านจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน

การกีฬาและสันทนาการ

  1. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติหนองปิด
  2. สวนสาธารณะหนองใหญ่หรือบึงนกเป็ดน้ำไพรบึง
  3. สนามกีฬาเทศบาลตำบลไพรบึง (สนามฟุตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามแบดมินตัน, สนามบาสเก็ตบอล, สนามเซปักตะกร้อ และลู่วิ่ง)
  4. ศูนย์บริการฟิตเนสเทศบาลตำบลไพรบึง
  5. ลานกีฬาบริการอุปกรณ์บริหารร่างกายเทศบาลตำบลไพรบึง
  6. สนามฟุตบอลหน้าที่ว่าการอำเภอไพรบึง
  7. สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลไพรบึง
  8. สนามกีฬาโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
  9. ลานกีฬาที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไพรบึง (สนามบาสเก็ตบอล, สนามวอลเลย์บอล, สนามเซปักตะกร้อ, สนามเปตอง)
  10. สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาทเยอ
  • การแข่งขันกีฬา "ไพรบึงคัพ" หรือ "เป็ดน้ำเกมส์" ในแต่ละปี เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างส่วนราชการต่างๆ ท้องถิ่นและประชาชนในอำเภอ

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • สถานีตำรวจภูธรไพรบึง
  • หน่วยบริการประชาชน สภ.ไพรบึง บริเวณสี่แยกหัวช้าง บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24
  • หน่วยบริการประชาชน สภ.ไพรบึง บริเวณตำบลปราสาทเยอ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111
  • หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 16 ค่ายบดินทร์เดชา
  • กองร้อย อาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดศรีสะเกษที่ 10 (อำเภอไพรบึง)
  • ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อำเภอไพรบึง
  • สถานีดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลไพรบึง