อิกิงาอิและวัยชรา ของ อิกิงาอิ

การวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอิกิงาอินั้นได้รับความสนใจอย่างากในแง่ของการวิจัยเกี่ยวกับวัยสูงอายุของมนุษย์ เช่น สาขาพฤฒาวิทยา[4] ใน มุมมองทั่วไปของชีวิต วัยชรามักถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาที่หลายสิ่งหลายอย่าง เช่น สุขภาพ และ บทบาททางสังคม สูญเสียไปหลังจากช่วงเวลาสำคัญของชีวิต[4] อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุจำนวนมากที่สูญเสียความหนุ่มสาวไปแล้วนั้นยังได้ใช้ชีวิตต่อไปโดยที่ไม่ได้เป็นทุกข์จากความรู้สึกที่ไม่ยอมรับในตัวเอง เชื่อกันว่าสาเหตุที่ผู้สูงอายุสามารถยอมรับความชราได้อย่างใจเย็นก็คือ การมีอิกิงาอิเป็นปัจจัยต่อต้านความชราและความรู้สึกสูญเสีย[4]

ลักษณะหนึ่งของอิกิงาอิของผู้สูงอายุคือ "หลงทางง่าย" [4] ตัวอย่างเช่น หากยึดถือการเติบโตของหลานเป็นอิกิงาอิ บทบาทของตัวเองจะลดลงเมื่อหลานเข้าใกล้วัยผู้ใหญ่ หรืออย่างกรณีของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬาในวัยกลางคนจนกลายมาเป็นอิกิงาอิของตัวเองนั้นก็ยากที่จะดำเนินต่อไปเมื่อมีอายุมากขึ้น สำหรับผู้สูงอายุแล้ว อิกิงาอิทางสังคมมักจะอยู่เคียงข้างไปกับความสูญเสียเสมอ[4]

ใกล้เคียง