ชีวิตครอบครัว ของ อินทุรัตนา_บริพัตร

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อสมรสกับร้อยเอกสมหวัง สารสาส[4] (บุตรพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์); และพี่ชายหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา[5] (หม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร))[6] โดยสมรสกันในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน ได้แก่[7]

  1. ธรณินทร์ สารสาส (20 กันยายน พ.ศ. 2496) สมรสกับสุนิตรา เรืองสมวงศ์
  2. สินนภา สารสาส (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) สมรสกับอนันต์ ตาราไต (หย่า)
  3. สันติ สารสาส (ชื่อเดิม พญาณินทร์; 10 สิงหาคม พ.ศ. 2507)

ต่อมาทั้งสองได้หย่ากัน โดยร้อยเอกสมหวังได้สมรสใหม่กับพนิดา สารสาส[8] (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์)[9]

อินทุรัตนา (กลาง) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พลเรือโทพิเชฐ ตานะเศรษฐ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ นำคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เพื่อทูลเชิญให้เสด็จร่วมงานวันบริพัตร ในฐานะพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[ลิงก์เสีย]

ทั้งนี้พระองค์เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชั้นพระองค์เจ้าพระองค์เดียวที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ และทรงเป็นเจ้านายฝ่ายในที่พระชันษาสูงสุดในปัจจุบัน และเป็นป้าของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ใกล้เคียง