อินเทอร์เฟอโรเมทรี
อินเทอร์เฟอโรเมทรี

อินเทอร์เฟอโรเมทรี

อินเทอร์เฟอโรเมทรี (อังกฤษ: Interferometry) คือศาสตร์ที่กล่าวถึงเทคนิคหลายประการในการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถอดความข้อมูลที่อยู่ในรูปคลื่น เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับคลื่นเรียกว่า อินเทอร์เฟอโรมิเตอร์ (อังกฤษ: interferometer) อินเทอร์เฟอโรเมทรี เป็นเทคนิคการตรวจสอบที่สำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์ในภาคสนาม การศึกษาไฟเบอร์ออพติก มาตรวิทยาทางวิศวกรรม สมุทรศาสตร์ วิทยาแผ่นดินไหว กลศาสตร์ควอนตัม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์พลาสมา การตรวจจับในระยะไกล รวมถึงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลทางชีววิทยา[1][2]อินเทอร์เฟอโรเมทรี อาศัยหลักการพื้นฐานของคลื่นที่แตกต่างกัน เมื่อนำเข้ามารวมกันในวิธีที่ทำให้เกิดผลรวม ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความหมายบางอย่าง ที่สามารถวิเคราะห์สถานะต้นกำเนิดของคลื่นเหล่านั้นได้ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคลื่นสองชนิดที่มีความถี่เดียวกันมารวมกัน รูปแบบผลลัพธ์จะสามารถอธิบายได้โดย เฟสของคลื่น ที่แตกต่างกันของคลื่นทั้งสองนั่นเอง คลื่นที่มีเฟสเดียวกัน (in phase) จะเสริมแรงกัน ขณะที่คลื่นที่มีเฟสตรงข้ามกัน (out of phase) จะหักล้างกัน อินเทอร์เฟอโรมิเตอร์ส่วนมากใช้แสง หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในรูปแบบอื่น ๆ ในการศึกษา[3]

ใกล้เคียง

อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อินเทล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อินเตอร์เซกชัน อินเทอร์เน็ตบอต อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์