อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย[1]ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 85 ของจำนวนประชากร[2] และตามข้อมูลเชิงลึกของ Ookla ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ หรืออินเทอร์เน็ตบ้าน (Fixed Broadband) อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยที่ 205.63 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)[3] ตามหลังผู้นำ 3 ประเทศแรกได้แก่ ชิลี จีน และสิงคโปร์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) และเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง (VDSL) โดยบางพื้นที่ก็จะใช้เป็นสายเคเบิ้ลด้วยเทคโนโลยี DOCSIS, เทคโนโลยี G.SHDSL หรือโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทางไปยังบ้าน (Fiber to the Home - FTTH) แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่สำหรับผู้บริโภคมีตั้งแต่ 10 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที (สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต) ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะใช้สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line) หรือ อีเทอร์เน็ต/เอ็มพีแอลเอส ผ่านสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติก ที่เชื่อมโยงอาคารสำนักงานจำนวนมากในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เช่น ย่านสุขุมวิท สีลม และสาทรของกรุงเทพฯ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการริเริ่มใช้โคร่งขายแบบไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณในปี พ.ศ. 2547[4] โดยมีจำนวนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 3,399,000 เครื่อง (พ.ศ. 2555) ซึ่งสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]

ใกล้เคียง

อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อินเทล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อินเตอร์เซกชัน อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ อินเทาร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย https://web.archive.org/web/20070711070749/http://... http://www.manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?New... https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.Z... https://www.ookla.com/articles/global-index-intern... http://ipcommunications.tmcnet.com/news/2006/mar/1... https://web.archive.org/web/20071218190901/http://... https://web.archive.org/web/20070613003750/https:/... https://www.cia.gov/library/publications/the-world... http://internet.nectec.or.th/webstats/bandwidth.ii... http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap....