ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ของ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ปัจจุบันสิทธิในการดำเนินการในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะได้รับจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[11]

ในอดีตการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL ซึ่งมีค่าบริการสูงถึง 25,000 บาทต่อเดือนสำหรับความเร็วปกติ 256 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาในปี 2545 ทีโอที (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ริเริ่มอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ราคาประหยัด ซึ่งทำให้ความต้องการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้เปลี่ยนแผนการให้บริการของผู้ให้บริการทั้งหมดในขณะนั้น

ทีโอทีได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นเกมออนไลน์ในประเทศไทย ด้วยราคาค่าบริการที่ถูก ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาทีโดยไม่จำกัดปริมาณข้อมูล แต่ถึงอย่างนั้นทีโอทีก็ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากระบบโทรศัพท์พื้นฐานครึ่งหนึ่งของจังหวัดดำเนินการภายใต้สัมปทานโดยบริษัท เทเลคอมเอเชีย จำกัด (ปัจจุบันคือทรู คอร์ปอเรชั่น) ส่วนต่างจังหวัดก็ได้ทีทีแอนด์ที ร่วมกับ กสท โทรคมนาคม ในการให้บริการ

ณ ขณะนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่มักบ่นผู้ให้บริการถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามสัญญาหรือตามที่โฆษณาไว้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศซึ่งมีอย่างจำกัด เนื่องจาก กสท โทรคมนาคม (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ก่อนที่ในปี 2548 ก็ได้มีการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นขยายการเชื่อมต่อภายในประเทศเพื่อรองรับความต้องการการเล่นเกมออนไลน์ สิ่งนี้นำไปสู่การกลับมาของแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ระดับสูง ในราคาที่สูงขึ้นสำหรับผู้ใช้ตามบ้านและลูกค้าองค์กร ผู้ใช้บริการหลายคนยังคงโต้แย้งว่าแพ็คเกจเหล่านี้จะยังไม่ปรับปรุงความพร้อมใช้งานของปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน อีกทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลด้วยโปรแกรมบิตทอร์เรนต์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ กสทช. อนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายตั้งค่าเกตเวย์อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของตนเอง เพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการเนื้อหาที่ต้องการปริมาณการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น

ต้นปี 2552 บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ภายใต้แบรนด์ "3BB" ในเมืองใหญ่ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 3 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน สิ่งนี้กระตุ้นให้ ทรู อินเทอร์เน็ต ขยายบริการจาก 5 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 8 เมกะบิตต่อวินาที ในราคาที่เท่ากับ 3BB

กลางปี 2552 3BB เสนอความเร็วขั้นต่ำ 4 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน และขยายบริการจาก 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 10 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 1,490 บาทต่อเดือนทำให้ ทรู อินเทอร์เน็ต เสนอเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตฟรีชั่วคราว สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้ความเร็ว 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 12 เมกะบิตต่อวินาที ระหว่างนั้นลูกค้าของ "แม็กซ์เน็ต (Maxnet)" โดยทีทีแอนด์ที ก็ถูกโอนย้ายมายัง 3BB ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ (ล้มละลาย) ของทีทีแอนด์ที

ทีโอทีและ แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ (เอดีซี) มีข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้เพื่อให้ เอดีซี สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ บนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานของทีโอทีได้ เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเมืองใหญ่ยังคงอยู่บนเสาและไม่ได้อยู่ใต้ดิน จึงไม่จำกัดจำนวนสายโทรศัพท์ที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ สิ่งนี้ทำให้ผู้ให้บริการหลายราย เสนอบริการของตนเองโดยไม่มีบริการโทรศัพท์พื้นฐาน การเดินสายไฟใหม่ไปยังสถานที่ที่ต้องการบริการ โดยไม่ต้องผ่านข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้

แม้จะมีการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แต่ก็ยังมีปัญหาด้านเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับความหน่วงของเครือข่าย ความล่าช้าในเครือข่ายนั้นพิสูจน์แล้วว่าเป็นอันตรายต่อเกมออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูง ผู้เล่นอ้างว่ามีปัญหาด้านเครือข่ายซึ่งทำให้แพ้เกมไป

ผู้ให้บริการแบบมีสาย

ชื่อบริการเทคโนโลยีความเร็วผู้ใช้งานการบริหารงาน/ผู้ถือหุ้น
เอไอเอส ไฟเบอร์
(AIS Fibre)
  • อินเทอร์เน็ตผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง 2 (VDSL2)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที[12] [13]2.3 ล้านราย[14]แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN)
ทรู อินเทอร์เน็ต
  • อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL2+)
  • อินเทอร์เน็ตผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง 2 (VDSL2)
  • อินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิล (DOCSIS/G.shdsl/SDSL)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line/MPLS)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที [15] [16]3.8 ล้านราย [17]ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE)
ทรีบรอดแบนด์
(3BB)
  • อินเทอร์เน็ตผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง (VDSL/VDSL2)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที [18]3.7 ล้านราย [19]ทริปเปิลที บรอดแบนด์
อยู่ระหว่างควบรวมกิจการกับเอไอเอส[20]
เอ็นทีบรอดแบนด์
(NT Broadband)
  • อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL2+)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที [21][22]ไม่ทราบข้อมูลโทรคมนาคมแห่งชาติ
เคเอสซี
(KSC)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)[23]
ไม่ทราบข้อมูลเค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต
เคิร์ซ
(KIRZ)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line/MPLS)[24]
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาทีไม่ทราบข้อมูลเคิร์ซ
จัสมิน อินเตอร์เนต
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)[25]
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาทีไม่ทราบข้อมูลจัสมิน อินเตอร์เนต
ไอเอสเอสพี
(ISSP)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line/MPLS)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[26]ไม่ทราบข้อมูลอินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์
เอเน็ต
(ANET)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line/MPLS)
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[27]ไม่ทราบข้อมูลกลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช
โอทาโร
(Otaro)
  • อินเทอร์เน็ตโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกแบบเช่าใช้ (Leased Line Fiber Optic)
  • อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Air Fiber)
สูงสุด 400 จิกะบิตต่อวินาที[28]ไม่ทราบข้อมูลโอทาโร
โปรเอ็น
(PROEN)
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line/MPLS)
  • สายอินเทอร์เน็ตบนโครงข่ายเสมือน (Virtual Leased Line Plus)
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที[29]ไม่ทราบข้อมูลโปรเอ็น คอร์ป
สนุก ซิสเต็มส์
(Sanuk Systems)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[30]ไม่ทราบข้อมูลสนุก ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)
UIH
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
สูงสุด 10 จิกะบิตต่อวินาที[31]ไม่ทราบข้อมูลยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์
มิลคอม
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
  • โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทาง (FTTx)
ไม่ทราบข้อมูลมิลคอมซิสเต็มซ์
ล็อกซเล่ย์
  • สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line)
ไม่ทราบข้อมูลล็อกซเล่ย์

ผู้ให้บริการแบบไร้สาย

ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต

รายการศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (IDC) ในประเทศไทย
ชื่อศูนย์ข้อมูลสถานที่ตั้งจังหวัด
NT Data Center (กรุงเทพ)อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
NT IDC DIGITAL (แจ้งวัฒนะ)อาคาร 6 สำนักงานใหญ่โทรคมนาคมแห่งชาติกรุงเทพมหานคร
NT IDC DIGITAL (กรุงเกษม)ชุมสายโทรศัพท์โทรคมนาคมแห่งชาติกรุงเกษมกรุงเทพมหานคร
NT Data Center (นนทบุรี)อาคารศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรีนนทบุรี
NT Data Center (เชียงใหม่)ศูนย์ City Data Center เชียงใหม่เชียงใหม่
NT Data Center (ขอนแก่น)ศูนย์บริการ NTขอนแก่น
NT Data Center (ภูเก็ต)ศูนย์บริการ NTภูเก็ต
NT Data Center (แหลมฉบัง)ศูนย์บริการ NTชลบุรี
NT Data Center (ศรีราชา)SuperNap THDCชลบุรี
NT Data Center (สุราษฎร์ธานี)ศูนย์บริการ NTสุราษฎร์ธานี
NT Data Center (หาดใหญ่)ศูนย์บริการ NTสงขลา
CSL The Cloudถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรากรุงเทพมหานคร
CSL TELLUSถนนพหลโยธินปทุมธานี
CSL SILA Data Centerถนนบางปะกงชลบุรี
CSL-IDC (เชียงใหม่)ถนนเชียงใหม่-ดอยสะเก็ดเชียงใหม่
CSL-IDC แก่นนครถนนมิตรภาพขอนแก่น
CSL-IDC สิงขรอำเภอหาดใหญ่สงขลา
CSL Headquaterอาคารซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษกกรุงเทพมหานคร
INET-IDC1อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถนนรางน้ำกรุงเทพมหานคร
INET-IDC2อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีกรุงเทพมหานคร
INET-IDC3ถนนมิตรภาพสระบุรี
ISSP Internet Data Centerอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
NIPA.Cloud Data Center (บางรัก)อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
NIPA.Cloud Data Center (นนทบุรี)อาคารศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรีนนทบุรี
NIPA.Cloud Data Center (ขอนแก่น)ศูนย์บริการ NTขอนแก่น
KIRZ Data Center (นวมินทร์)CSL The Cloud ถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรากรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (เฉลิมพระเกียรติ์)ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9กรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (ศรีนครินทร์)อาคารพรีเมียร์เพลซ ศรีนครินทร์กรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (บางนา)ถนนบางนา-ตราดกรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (ศาลาแดง)อาคาร สมูทไลฟ์ ทาวเวอร์กรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (สาทร)อาคารดิ เอ็มไพร์กรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (บางรัก)อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
KIRZ Data Center (รัชดาภิเษก)อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษกกรุงเทพมหานคร
Nettree IDCอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
Pacnet Data Centerอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
SiamIDCอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
SuperNap THDCSuperNap THDCชลบุรี
TCCtech-IDC (อมตะนคร)อาคารอมตะ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ชลบุรี
TCCtech-IDC (บางนา)อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์ บางนากรุงเทพมหานคร
TCCtech-IDC (อาคารดิ เอ็มไพร์)อาคารดิ เอ็มไพร์กรุงเทพมหานคร
True IDC (อีสต์ บางนา)ถนนบางนา-ตราดสมุทรปราการ
True IDC (มิดทาวน์ รัชดา)อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษกกรุงเทพมหานคร
True IDC (มิดทาวน์ พัฒนาการ)อาคารทรูทาวเวอร์ 2 ถนนพัฒนาการกรุงเทพมหานคร
True IDC (นอร์ท เมืองทอง)อาคารบางกอกแลนด์ เมืองทองธานีนนทบุรี
True IDC @ 101 True Digital Parkอาคารทรู ดิจิทัล พาร์คกรุงเทพมหานคร
PROEN Data Centerอาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
OTARO Gigabit Data Center (บางรัก)อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก)กรุงเทพมหานคร
OTARO Gigabit Data Center (บางนา)อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์ บางนากรุงเทพมหานคร

ใกล้เคียง

อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อินเทล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อินเตอร์เซกชัน อินเทอร์เน็ตบอต อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย https://web.archive.org/web/20070711070749/http://... http://www.manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?New... https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.Z... https://www.ookla.com/articles/global-index-intern... http://ipcommunications.tmcnet.com/news/2006/mar/1... https://web.archive.org/web/20071218190901/http://... https://web.archive.org/web/20070613003750/https:/... https://www.cia.gov/library/publications/the-world... http://internet.nectec.or.th/webstats/bandwidth.ii... http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap....