อิบน์_รุชด์
อิบน์_รุชด์

อิบน์_รุชด์

อบูวาลีด มุฮัมมัด บิน อะฮ์มัด อิบน์ รุชด์ หรือ อิบนุ รุชด์ (อาหรับ: أبو الوليد محمد بن احمد بن رشد‎‎ หรือ ابن رشد‎, อังกฤษ: Averroes; 14 เมษายน ค.ศ. 1126 — 10 ธันวาคม ค.ศ. 1198) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาแวร์รูอิส (Averroes) เป็นแพทย์และนักปรัชญาชาวอาหรับ[1]อาแวร์รูอิสเกิดที่คอร์โดบาในปี ค.ศ. 1126 ในครอบครัวผู้พิพากษาที่โดดเด่น ปู่ของท่านเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของเมือง ในปี ค.ศ. 1169 เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับกาหลีบ (ผู้นำศาสนาอิสลาม) Abu Yaqub Yusuf ผู้ซึ่งประทับใจในความรู้ของเขา จนกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ของเขาและอุปถัมภ์งานของ อาแวร์รูอิสจำนวนมาก ต่อมาอาแวร์รูอิสทำหน้าที่ในฐานะผู้พิพากษาในเซบิยาและคอร์โดบาอยู่หลายวาระ ในปี ค.ศ. 1182 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นแพทย์ศาลและหัวหน้าผู้พิพากษาของคอร์โดบา หลังจากอาบูยูซุฟเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1184 เขายังคงอยู่ในความโปรดปรานของกาหลีบพระองค์ใหม่จนได้รับความอัปยศในปี ค.ศ. 1195 เขาถูกตั้งข้อหาในข้อหาต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมือง และถูกเนรเทศไปยังลูเซน่า เขากลับมาเป็นที่โปรดปรานของกาหลีบก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1198อาแวร์รูอิสเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของลัทธิอริสโตเติล (Aristotelianism) เขาพยายามที่จะกู้คืนสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นคำสอนดั้งเดิมของอริสโตเติลและต่อต้านแนวโน้มของกระแสความคิดพลาโตนิคใหม่ (Neoplatonist) ของนักคิดมุสลิมก่อนหน้านี้ เช่น Al-Farabi และ Avicenna นอกจากนี้เขายังปกป้องการศึกษาปรัชญา จากการวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเทววิทยาสายอาเชอรี (al-ʾAšʿarīyya) เช่น Al-Ghazali โดย อาแวร์รูอิส แย้งว่าการศึกษาปรัชญานั้นได้รับอนุญาตในศาสนาอิสลามและแม้แต่เป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในระดับผู้นำชนชั้นสูง (elite) นอกจากนี้เขายังไม่เห็นด้วยกับการตีความข้อความในพระคัมภีร์อย่างเถรตรง โดนเห็นว่าตัวบทในคัมภีร์อัลกรุอ่านควรจะได้รับการตีความเป็นเพียงในเชิงสาธก หรือในเชิงอุปมา (allegorical) หากข้อความนั้นดูเหมือนจะขัดแย้งกับข้อสรุปที่เกิดขึ้นจากเหตุผลและปรัชญา มรดกทางปัญญาของเขาในโลกอิสลามนั้นมีอย่างจำกัดด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์และความสนใจที่แตกต่างกันของโลกมุสลิมในโลกตะวันตก อาแวร์รูอิส เป็นที่รู้จักผ่านงานเขียนอธิบายและแสดงข้อคิดเห็น (commentary) เกี่ยวกับคำสอนของอริสโตเติล ซึ่งงานของอาแวร์รูอิสได้รับการแปลเผยแพร่เป็นภาษาละตินและภาษาฮิบรู การแปลเผยแพร่งานของเขากระตุ้นความสนใจของชาวยุโรปตะวันตกในอริสโตเติลและนักคิดชาวกรีกซึ่งเป็นพื้นที่การศึกษาที่ถูกทิ้งร้างเกือบจะสิ้นเชิงหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน. ความคิดของเขาสร้างข้อโต้แย้งในคริสต์จักรละตินและเป็นการเหนี่ยวไกให้เกิดการเคลื่อนไหวทางปรัชญาที่เรียกว่า Averroism ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนงานเขียนของเขา. ทฤษฎีว่าด้วยความเป็นเอกภาพของปัญญา (unity of the intellect) ของอาแวร์รูอิส เสนอว่ามนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักคำสอนของอาแวร์รูอิสที่รู้จักกันดีและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในตะวันตก ผลงานของเขาถูกประณามจากโบสถ์คาทอลิกในปี 1270 และ 1277. แต่แม้ว่าจะถูกบั่นทอนจากการประณามและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะจากโธมัส อควีนาส) แต่ปรัชญาสาย Averroism ก็ยังคงดึงดูดผู้ติดตามต่อไปจนถึงศตวรรษที่สิบหก

อิบน์_รุชด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: อิบน์_รุชด์ http://islamsci.mcgill.ca/RASI/BEA/Ibn_Rushd_BEA.h... http://islamsci.mcgill.ca/RASI/BEA/Ibn_Rushd_BEA.p... http://www.encyclopedia.com/doc/1G2-2830903792.htm... http://www.muslimphilosophy.com/ir/index.html http://www.muslimphilosophy.com/ir/tt/index.html http://philosophy-e.com/ibn-rusd-knowledge-pleasur... //ssrn.com/abstract=2346808 http://www.buchhandlung-walther-koenig.de/cat/kwb_... http://dare.uni-koeln.de/ http://www.thomasinst.uni-koeln.de/averroes/