อิมพาลา
อิมพาลา

อิมพาลา

อิมพาลา (อังกฤษ: Impala; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aepyceros melampus) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้[2]คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี ค.ศ. 1885 ในภาษาแอฟริคานส์เรียก "รูอิบอก" (Rooibok)[3] และชื่อวิทยาศาสตร์ Aepyceros melampus คำว่า Aepyceros มาจากภาษากรีกคำว่า αιπος (อ่านออกเสียง: aipos) แปลว่า "สูง" และ κερος (อ่านออกเสียง: ceros) แปลว่า "เขาสัตว์" [4] และ melampus แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า μελάς (อ่านออกเสียง: melas) แปลว่า "สีดำ" และ πούς (อ่านออกเสียง: pous) แปลว่า "เท้า"[5]อิมพาลาเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับแอนทิโลป มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงมา มีรูปร่างสวยงามได้สัดส่วน ขนมีสีน้ำตาลแดงมันเป็นเงา บริเวณใต้คาง ลำคอ และด้านท้องเป็นสีขาว แต่มีลักษณะเด่น คือ ริ้วขนสีดำตรงบริเวณด้านหลังขาอ่อนและปอยขนสีดำตรงบริเวณสันหลังของขาหลัง ตัวผู้จะมีเขาที่สวยงามคดโค้งเป็นเกลียวคล้ายตัวเอส ส่วนตัวเมียจะไม่มีเขา และมีขนาดลำตัวเล็กกว่าอิมพาลากระจายพันธุ์อยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าในเขตร้อนที่มีลักษณะเป็นที่ราบและมีต้นไม้ขึ้นประปราย โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ สมาชิกในฝูงจะมีปะปนกันทั้งตัวผู้และตัวเมียที่ยังเล็ก จำนวนประมาณ 15–25 ตัว โดยมีตัวผู้ขนาดใหญ่เป็นจ่าฝูง ในช่วงฤดูแล้ง ที่อาหารขาดแคลน ทั้งตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มที่แล้วจะมาชุมนุมกันเป็นฝูงใหญ่นับร้อยตัว ซึ่งในการชุมนุมแต่ละครั้ง อิมพาลาจะมีพฤติกรรมประการหนึ่งที่ยังอธิบายสาเหตุไม่ได้ คือ จะกระโดดสูง โดยสามารถกระโดดได้สูงถึง 30 ฟุต อิมพาลาตัวที่โตเต็มวัยกระโจนได้ไกลถึง 10 เมตร และวิ่งได้เร็วถึง 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง[6]อิมพาลา ถูกแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย แต่มี 2 ชนิดย่อยที่ได้รับการรับรอง โดยพิจารณาจากความแตกต่างกันของดีเอ็นเอ[7] คืออาหารหลักของอิมพาลา คือ ใบและกิ่งของพืชจำพวกอาคาเซีย ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในแอฟริกา นอกจากนี้แล้วยังกินผลไม้และหญ้าขนาดสั้น ๆ เป็นอาหารได้อีกด้วย อิมพาลาสามารถที่จะอดน้ำได้หลาย ๆ วัน โดยอาศัยเลียกินตามใบไม้ ใบหญ้าได้ เป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัวตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะเป็นสัตว์ที่ถูกล่าจากสัตว์กินเนื้อ ทั้งสิงโต, เสือดาว, เสือชีตาห์, ไฮยีนาอิมพาลามีระยะตั้งท้องนาน 171 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยลูกอิมพาลาที่เกิดมาใหม่จะอยู่กับฝูงไปตลอดชีวิตขัย [10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อิมพาลา http://www.adirexphotogallery.com/index.php?lay=sh... http://www.ultimateungulate.com/artiodactyla/aepyc... http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?se... http://www.arkive.org/species/GES/mammals/Aepycero... http://www.awf.org/content/wildlife/detail/impala http://www.awf.org/wildlives/143 http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/54... http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/55... //www.worldcat.org/oclc/24702472 https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Aepyce...