กฎของโอห์ม ของ อิมพีแดนซ์

แหล่งจ่ายไฟ AC กำลังจ่ายแรงดันไฟฟ้า V {\displaystyle \scriptstyle V} คล่อมโหลด Z {\displaystyle \scriptstyle Z} ผลักดันกระแส I {\displaystyle \scriptstyle I}

บทความหลัก: กฎของโอห์ม

ความหมายของอิมพีแดนซ์สามารถเข้าใจได้โดยการแทนค่าลงไปในกฎของโอห์ม[5][6]

  V = I Z = I | Z | e j arg ⁡ ( Z ) {\displaystyle \ V=IZ=I|Z|e^{j\arg(Z)}}

ขนาดของอิมพีแดนซ์ | Z | {\displaystyle \scriptstyle |Z|} ทำหน้าที่เช่นเดียวกับความต้านทาน คือทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมอิมพีแดนซ์ Z {\displaystyle \scriptstyle Z} ด้วยกระแส I {\displaystyle \scriptstyle I} ปัจจัยเฟส (อังกฤษ: phase factor) บอกเราว่ากระแสจะตามหลังแรงดันไฟฟ้าโดยองศาเท่ากับ θ = arg ⁡ ( Z ) {\displaystyle \scriptstyle \theta \;=\;\arg(Z)} (เช่นในโดเมนเวลา สัญญาณกระแสจะเลื่อนไป θ 2 π T {\displaystyle \scriptstyle {\frac {\theta }{2\pi }}T} ช้ากว่าสัญญาณแรงดันไฟฟ้า)

เช่นเดียวกับที่อิมพีแดนซ์ขยายกฎของโอห์มเพื่อให้ครอบคลุมวงจร AC, ผลลัพท์อื่น ๆ ที่เกิดจากการวิเคราะห์วงจร DC เช่นตัวแบ่งแรงดันไฟฟ้า (อังกฤษ: voltage divider) ตัวแบ่งแรงดันกระแส (อังกฤษ: current divider) ทฤษฎีบทของ Thévenin และทฤษฎีบทของนอร์ตัน ยังสามารถขยายไปยังวงจร AC ได้โดยการแทนที่ความต้านทานด้วยอิมพีแดนซ์