พฤติกรรมและนิเวศวิทยา ของ อีกากินซาก

ในประเทศอังกฤษขณะบินรุมกินซากนกที่ตายแล้ว ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส

โดยทั่วไปแล้วอีกาโคนปากขาว จะอยู่รวมกันเป็นฝูง และอีกากินซากอยู่แบบโดดเดี่ยว แต่บางครั้งอีกาโคนปากขาวทำรังในต้นไม้ที่แยกตัวออกมาจากฝูงและเป็นไปได้ว่าหากินร่วมกับอีกากินซาก และอีกาอื่นโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

เนื่องจากอีกากินซากอาศัยในพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับนกกาชนิดอื่น ๆ ลักษณะเด่นชัดในการจำแนกอีกากินซากคือ เสียงร้อง "กรา ๆ" ลึกกังวานในลำคอ ขณะที่อีกาโคนปากขาวร้อง "กา ๆ" ที่มีโทนเสียงแหลมสูง[ต้องการอ้างอิง]

อีกากินซากมักเกาะบนจุดที่มองโดยรอบได้ชัดที่สุดของอาคาร และส่งเสียงน่ารำคาญแบบชุดถึ่ ๆ (เสียง กรา ๆ) สามหรือสี่ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว และพักเป็นช่วงสั้น ๆ ระหว่างชุด ในระหว่างร้องแต่ละครั้ง อีกากินซากอาจแสดงท่าทางประกอบโดยยกไหล่ (โคนปีก) ขึ้น ตีปีกต่ำ ๆ ก้มหัวและคอลงพร้อมกับเสียง "กรา" แต่ละครั้ง พฤติกรรมการตีปีกของอีกากินซากช้ากว่าและจงใจมากกว่าของอีกาโคนปากขาว[ต้องการอ้างอิง]

อีกากินซาก อาจเป็นมิตรและเข้าใกล้มนุษย์ มักพบได้ในบริเวณใกล้เคียงที่มีกิจกรรมของมนุษย์หรือที่อยู่อาศัยของมนุษย์เช่น เมือง ทุ่ง ป่าไม้ หน้าผาทะเล และพื้นที่เพาะปลูก[12] ซึ่งพวกมันแข่งขันกับนกสังคมอื่น ๆ เช่น นกนางนวล นกกาอื่น ๆ และเป็ดเพื่อแย่งอาหารในสวนสาธารณะ และสวนต่าง ๆ

เช่นเดียวกับอีกาชนิดอื่น อีกากินซากจะก่อกวนนักล่าและคู่แข่งที่เข้ามาในดินแดนของมัน หรือคุกคามพวกมันหรือลูกหลานของพวกมัน ที่เรียกพฤติกรรมต่อต้านผู้ล่าที่รุกราน (mobbing behaviour) ซึ่งเป็นการปกป้องรังและลูกนกอย่างหนึ่ง[13]

ความสามารถทางสติปัญญา

เช่นเดียวกับอีกาชนิดอื่น อีกากินซากแสดงพฤติกรรมความฉลาด[14] เช่น สามารถแยกแยะระหว่างตัวเลขได้ถึง 30 ตัว[15] มีความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อการสลับไปมาระหว่างกฎเกณฑ์ที่ต่างกัน[16] และจดจำใบหน้าของมนุษย์และอีกาได้[17] ระดับความฉลาดจากความสามารถเหล่านี้เมื่อเทียบกับไพรเมต แม้ด้วยความแตกต่างของโครงสร้างของสมองอย่างสิ้นเชิงในอีกา ชี้ให้เห็นว่าสติปัญญาของอีกากินซาก (และอีกาอื่น) ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลมาจากวิวัฒนาการที่บรรจบกัน[18]

อาหาร

แม้ได้ชื่อว่ากินซากสัตว์ทุกชนิด แต่อีกากินซากกินแมลง ไส้เดือน เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เมล็ดพืช สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เศษขยะ และไข่ อีกากินซากโดยทั่วไปเป็นสัตว์ที่ชอบกินของเน่าและสะสมของทิ้งแล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พวกมันมักจะไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นประจำเพื่อกินขยะครัวเรือน

อีกากินซากมักรังควาน นกนักล่า หรือแม้แต่สุนัขจิ้งจอก มักออกล่าอย่างแข็งขันและร่วมมือกับอีกาตัวอื่นเป็นครั้งคราวในการล่า และบางครั้งก็พบเห็นการล่าลูกเป็ดเป็นอาหาร เนื่องจากวิถีชีวิตที่อยู่รวมกันเป็นฝูงและความสามารถในการป้องกันของอีกากินซากทำให้มีสัตว์นักล่าตามธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ตามนกล่าเหยื่อที่ทรงพลัง เช่นนกเหยี่ยวเหนือ เหยี่ยวเพเรกริน นกเค้าแมวยูเรเชียน และนกอินทรีสีทองจะล่าอีกากินซากเป็นอาหารสำคัญในเขตที่อยู่อาศัยของนกล่าเหยื่อเหล่านั้น

การผสมพันธุ์และการทำรัง

ไข่ แสดงที่พิพิธภัณฑ์วีสบาเดินลูกนกในรัง

มักสร้างรังขนาดใหญ่ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง แต่บางครั้งอาจพบรังของอีกากินซากบนหน้าผา อาคารเก่า และเสา นอกจากนี้อาจพบการวางรังไว้บนหรือใกล้พื้นดินเป็นครั้งคราว รังมีลักษณะคล้ายรังกาทั่วไป แต่มีขนาดกระทัดรัดกว่า

ไข่ของอีกากินซาก มีสีฟ้าหรือสีเขียวที่มีจุดสีน้ำตาล 3 ถึง 4 ฟอง ฟักไข่เป็นเวลา 18−20 วัน โดยตัวเมียเพียงตัวเดียวและให้อาหารโดยตัวผู้ ลูกนกออกจากรังเมื่ออายุ 29−30 วัน[19]

ลูกอีกากินซากที่เพิ่งอายุปีเดียว (จากรังปีก่อนหน้า) จะยังคงไม่แยกจากพ่อแม่ในปีถัดไป แต่อยู่ใกล้ ๆ และช่วยเหลือพ่อแม่ในการหาอาหารเลี้ยงดูแลลูกนกครอกใหม่ แทนที่จะหาคู่ครอง[20]