ต้นกำเนิด ของ อีดิลเฆาะดีร

10 ปีหลังการอพยพ (ฮิจเราะฮ์) ศาสดามุฮัมมัดสั่งให้ผู้ศรัทธาเรียกผู้คนทั่วทุกสารทิศเพื่อมมาร่วมฟังท่านในฮัจญ์อำลา นักวิชาการอิสลามเชื่อว่ามีผู้คนมามักกะฮ์เพื่อฟังมุฮัมมัดถึง 70,000 คน ในวันที่ 4 ซุลฮิจญะฮ์ มีมุสลิมมาที่ตัวเมืองกว่า 100,000 คน[6][7] ในขณะกลับจากพิธีฮัจญ์ในวันที่ 18 ซุลฮิจญะะฮ์ ฮ.ศ. 10 (มีนาคม ค.ศ. 632) ณ บริเวณที่รู้จักกันในชื่อเฆาะดีรคุมม์ มุฮัมมัดได้กล่าวคำเทศนา แล้วเรียกอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องและลูกเขยของท่าน และกล่าวว่า, "ใครก็ตามที่มีฉันเป็น เมาลา อะลีก็เป็นเมาลาของพวกเขาเช่นกัน" ( مَن کُنتُ مولاه فَهذا علیّ مولاه أللهم والِ من والاه و عادِ من عاداه)[8] ในขณะที่ความหมายของคำว่า เมาลา อาจแปลได้หลายแบบ รวมไปถึง "เพื่อน" หรือ "เจ้านาย" ในมุมมองชีอะฮ์ถือเป็นอันที่สอง และเห็นว่าการเทศาครั้งนั้นคือการยืนยันว่าอะลีเป็นผู้สืบทอดของมุฮัมมัดอย่างเป็นทางการ[9] ผลที่ตามมา วันที่มีการเทศนาถือเป็นวันที่สำตัญของชีอะฮ์ในชื่อ "อีดิลเฆาะดีร"[10][11]