การรักษา ของ อีสุกอีใส

เนื่องจากเป็นโรคที่หายเองได้ โดยอาจจะมีไข้อยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆหายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงใช้ยา พาราเซตามอล เพื่อลดไข้ได้ ไม่ควรใช้ แอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ ทำให้ถึงตายได้ ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด ควรตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ ในรายที่คันมากๆ อาจให้ยาแก้คัน เช่น คลอเฟนิรามีน ช่วยลดอาการคันได้ ในปัจจุบัน มียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส แต่ต้องใช้ในขนาดสูงและราคาแพงมาก นอกจากนี้จะต้องเริ่มใช้ภายในวันแรก มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล หรือไม่ได้ผลดี

การดูแลรักษา โรคอีสุกอีใส

  1. ไม่ต้องตกใจว่าเป็นโรคผิวหนัง ไม่แกะเกาปุ่มหนองใส
  2. การดูแลทั่วไป โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง โดยปกติแล้วจะเป็น เองหายเอง อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น เป็นไข้หรือมีอาการ ทางผิวหนัง เช่น แผลมีการติดเชื้อหรือมีอาการคันรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อาการปอดบวมจาก เชื้อไวรัส ในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงนี้ การให้ยาบางชนิด เช่น ยาบรรเทาอาการคัน การใช้น้ำสะอาดหรือ น้ำเกลือประคบ จะช่วยทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้จำพวกแอสไพริน เพราะอาจ จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้
  3. การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง การทำให้แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น โอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง ดังนั้น แผลเป็นแบบหลุมก็น้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ก็มีราคาแพงมาก การพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่มนี้จึง ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และของผู้ป่วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การดูและผิวในระยะ ที่มีผื่นอย่างถูกต้อง เช่น ทำความสะอาดแผลให้ปราศจากสิ่งสกปรกหรือป้องกันการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือ รับประทานยาเขียววันละ3ครั้ง 7ถึง10เม็ด

วัคซีน

วัคซีนอีสุกอีใสที่ค้นพบในระยะแรกมีข้อจำกัดที่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำถึง -20 แต่ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่เก็บให้คงประสิทธิภาพได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศา ซึ่งเป็น อุณหภูมิตู้เย็นปกติ เก็บได้นาน 2 ปี ภายใต้ชื่อการค้า " VARILRIX " ของบริษัท SMITH KLINE BEECHAM

ในสหรัฐอเมริกา วัคซีนนี้ได้ถูกบรรจุให้อยู่ในตารางการให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ปกติที่มีอายุในช่วง 12-18 เดือนแล้ว และกำหนดให้ฉีดให้เด็กอายุ 11-12 ปี ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนและยัง ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนด้วย

ในประเทศไทย เนื่องจากวัคซีนอีสุกอีใสมีราคาค่อนข้างสูง จากรายงานทางระบาดวิทยาพบ ว่า 50 % ของอีสุกอีใสเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง จึงยังไม่กำหนดให้เป็น วัคซีนที่บังคับฉีดในเด็กไทย อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำว่า สำหรับเด็กไทยที่อายุอยู่ในช่วง 10-12 ปี ถ้ายังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ก็น่าจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เนื่องจากในวัยเด็กช่วง อายุ 1-12 ปี การสร้างภูมิต้านทานของร่างกายจะตอบสนองกับวัคซีนได้ดี การได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ก็เพียงพอแล้ว ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปต้องได้รับวัคซีน 2 เข็มใน ระยะห่าง 4-8 สัปดาห์ จึงเพียงพอที่จะกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้สูงพอที่จะป้องกันโรค ส่วนผู้ที่เคย เป็นอีสุกอีใสมาแล้ว จะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติอยู่แล้วไม่ต้องฉีดวัคซีนอีก

วัคซีน VARILRIX ใช้ฉีดครั้งละ 0.5 ml. เข้าใต้ผิวหนัง [SUBCUTANEOUS] เท่านั้น ผู้รับ การฉีดวัคซีน จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน พบว่าอาจมีไข้หรืออาการร้อนแดงตรงตำแหน่งที่ฉีดยา (5 %) อาจมีผื่นคล้ายผื่นอีสุกอีใสเกิดขึ้น แต่ไม่รุนแรง (3-4 %) แต่ส่วนใหญ่ของผู้รับวัคซีนไม่พบความผิดปกติใดๆ วัคซีนอีสุกอีใสนี้ห้ามฉีดในหญิงมีครรภ์ สำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฉีดวัคซีนนี้ ควรหลีกเลี่ยงการ ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือน หลังจากฉีดยา

เนื่องจากวัคซีนอีสุกอีใสในปัจจุบันยังมีราคาค่อนข้างแพง สำหรับครอบครัวที่เศรษฐกิจดีอาจ ให้บุตรหลานรับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 12 เดือน แต่ครอบครัวที่ยังไม่พร้อมนัก หวังว่าข้อมูลข้างต้น คงพอจะช่วยในการตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ เมื่อไร อย่างไรไม่มากก็น้อย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อีสุกอีใส http://www.bangkokhealth.com/skin_htdoc/skin_healt... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29118.htm http://www.emedicine.com/derm/topic74.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic367.htm http://www.emedicine.com/ped/topic2385.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=052 http://www.oed.com/view/Entry/31556?redirectedFrom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20229231 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22495050 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22859715