ในนิทานพื้นบ้าน ของ อีแก

อีแก ในนิทานพื้นบ้านของจีน ได้ชื่อว่าเป็นนกกตัญญู อันมีที่มาจากนิทานของชาวไต ชนพื้นเมืองในมณฑลยูนนาน ของจีน ด้วยความที่ธรรมชาติ เมื่อแม่นกป้อนอาหารให้ลูกแล้ว ลูกนกจะแบ่งอาหารนั้นป้อนกลับคืนไปยังแม่นกด้วย อีแกมีชื่อเรียกหลายชื่อต่างออกไป เนื้อหานิทานคล้ายกับนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ของชาวไทยอีสาน คือ แม่ที่ส่งอาหารให้แก่ลูกชายที่ทำงานตัดไม้ในป่า ด้วยความล่าช้าในการส่ง ทำให้ลูกชายโมโหทุกครั้ง จึงพาลไปตุบทีผู้เป็นแม่ ต่อมาลูกชายได้เห็นภาพของลูกอีแกป้อนอาหารกลับคืนไปยังแม่ จึงสำนึกผิด ในวันหนึ่ง มีเหตุการณ์ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าลูกชายโกรธตนเอง จึงวิ่งชนต้นไม้ฆ่าตัวตาย ลูกชายเสียใจมากและสำนึกผิด จึงเอาไม้ต้นที่แม่วิ่งชนตายมาแกะสลักเป็นรูปแม่ตนเอง เมื่อครบรอบวันตายของแม่ตนเอง จะกราบไหว้บูชาและรดน้ำรูปสลักของแม่ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นประเพณีสงกรานต์ ในมณฑลยูนนาน[8]