ประวัติศาสตร์ ของ อุตสาหกรรม_4.0

วลี "การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4" (Fourth Industrial Revolution) ได้มีการกล่าวถึงและใช้อย่างกว้างขวางโดยประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) นายเคลาส์ ชวาบ (Klaus Schwab) ในบทความ ปี ค.ศ.2015 ที่มีการตีพิมพ์โดย "ฟอเรียน แอฟแฟร์ (Foreign Affairs)"[5] หัวข้อ "การเชี่ยวชาญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Mastering the Fourth Industrial Revolution)" คือหัวข้อในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก ปี 2016 World Economic Forum Annual Meeting ในเมืองดาวอส-คลอสเตอร์ส (Davos-Klosters) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[6][7] หัวข้อเรื่องอุตสาหกรรม 4.0 ยังเป็นทีมหนังสือของชวาบใน ค.ศ.2016[8] ชวาบได้กล่าวว่าเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบด้วยการรวม ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ชีววิทยา (ระบบไซเบอร์กายภาพ; cyber-physical systems)[9] โดยเน้นเรื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารและการเชื่อมต่อระหว่างกัน ชวาบได้กล่าวว่าในยุคสมัยนี้ สิ่งที่จะนิยามยุคสมัยคือการค้นพบที่เปลี่ยนแปลงโลกและการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (robotics), ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence),เทคโนโลยีนาโน (nanotechnology),คอมพิวเตอร์ควอนตัม (quantum computing),เทคโนโลยีไบโอเทค (biotechnology), อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (internet of things), อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม (industrial internet of things), ระบบคอมพิวเตอร์คลาวด์ (cloud computing), เทคโนโลยีไร้สายรุ่นที่ห้า (fifth-generation wireless technologies), การพิมพ์สามมิติ (3D printing), และพาหนะไร้คนขับ (fully autonomous vehicles)[10]

ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก (First Industrial Revolution) คือ การเปลี่ยนจากวิธีการผลิตด้วยมือไปสู่เครื่องจักรโดยใช้พลังไอน้ำและพลังงานน้ำ เป็นช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ.1760-1820 ในสหราชอาณาจักร (เกาะอังกฤษ) หรือปี ค.ศ.1840 ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ผลกระทบของเครื่องจักรไอน้ำ มีผลต่อการผลิตสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก การเกษตร และ การทำเหมืองแร่ ทำให้ชนชั้นกลางแข็งแกร่งขึ้น[11]

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง (Second Industrial Revolution) หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติเทคโนโลยีเป็นช่วงเวลาระหว่างปีพ. ศ. 2414 ถึง 2457 ซึ่งเป็นผลมาจากการติดตั้งเครือข่ายทางรถไฟและโทรเลขที่กว้างขวางซึ่งทำให้สามารถถ่ายโอนผู้คนและความคิดได้เร็วขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีด้านไฟฟ้าและการเพิ่มพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้โรงงานต่างๆสามารถพัฒนาสายการผลิตที่ทันสมัยได้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างมากโดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากคนงานในโรงงานจำนวนมากถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร[12]

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม หรือ ที่เรียกว่า การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 หลังจากสงครามโลกทั้งสองสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า อันมีชนวนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ.1929 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ การผลิตคอมพิวเตอร์ Z1 (Z1 computer) ซึ่งใช้เลขทศนิยมฐานสอง (floating-point numbers) และพีชคณิตแบบบูล (Boolean logic) ในอีกทศวรรษต่อมาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาดิจิทัลขั้นสูง การพัฒนาที่สำคัญต่อไปในเทคโนโลยีการสื่อสาร คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างกว้างขวางในกระบวนการผลิต เครื่องจักรเริ่มยกเลิกความต้องการกำลังของมนุษย์

ยุทธศาสตร์เยอรมัน

คำว่า "Industrie 4.0 หรือ อุตสาหกรรม 4.0" หรือเขียนย่อสั้น ๆ ว่า I4.0 หรือ I4 คำ ๆ นี้มีต้นกำเนิดในปี ค.ศ.2011 จากโครงการในยุทธศาสตร์ไฮเทคของรัฐบาลเยอรมันซึ่งส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิต[13] โดยคำว่า"Industrie 4.0" ได้รับการนำเสนอสู่สาธารณะในปีเดียวกัน ณ งาน Hannover Fair (ฮันโนเฟอร์แฟร์)[14] และในเดือนตุลาคม ค.ศ.2012 Working Group Industry 4.0 (คณะทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0) ได้นำเสนอชุดคำแนะนำสำหรับการประยุกต์ใช้แนวทาง Industry 4.0 ให้กับรัฐบาลกลางเยอรมนี โดยสมาชิกคณะทำงานและพันธมิตรได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรม 4.0

เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.2013 ที่งาน Hannover Fair ได้มีการนำเสนอรายงานฉบับสุดท้ายของ Working Group Industry 4.0 คณะทำงานนี้นำโดย Siegfried Dais จาก Robert Bosch GmbH และ Henning Kagermann จาก Acatech (German Academy of Science and Engineering; สถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เยอรมนี)[15]

เนื่องจากหลักการของ Industry 4.0 ถูกนำไปใช้โดยบริษัทเอกชน จึงได้รับการตั้งโปรเจกต์ต่าง ๆ โดยการนำเลขสี่ใส่เข้าไป เช่น บริษัทสัญชาติอังกฤษ Meggitt PLC ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ ได้รีแบรนด์โครงการวิจัย Industry 4.0 ของตัวเอง โดยเรียกโปรเจกต์ว่า M4[16]

มีการอภิปรายในหัวข้อที่ว่า การเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมปัจจุบันไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัล (digitization) จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในประเทศเยอรมนีอย่างไร ภายใต้หัวข้อ Work 4.0[17]

ยุทธศาสตร์ Industry 4.0 ของรัฐบาลเยอรมัน เน้นการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ได้เองตามที่ลูกค้าต้องการ ภายใต้เงื่อนไขของการผลิตสินค้าที่มีความยืดหยุ่นในสายงานการผลิตสูง[18] เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่จำเป็นได้รับการปรับปรุงโดยการนำวิธีการหลายกระบวนการมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วยเทคโนโลยี self-optimization (การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดด้วยตนเอง), self-configuration (การจัดเรียงงานด้วยตนเอง),[19] self-diagnosis (การวินิจฉัยข้อผิดพลาดด้วยตนเอง), cognition(การสร้างการรับรู้ให้กับเครื่องจักรกล) และ ระบบสนับสนุนอัจฉริยะสำหรับแรงงานในโรงงาน ในการทำงานที่มีความซับซ้อนสูง[20]

โครงการที่ใหญ่ที่สุดในยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 ในเดือนกรกฎาคม 2013 คือ คลัสเตอร์ระดับแนวหน้าของกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยแห่งสหพันธ์เยอรมัน (BMBF) โครงการ"ระบบเทคนิคอัจฉริยะ Ostwestfalen-Lippe (OWL)" โครงการหลักอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการ RES-COM ของ BMBF และโครงการกลุ่มความเป็นเลิศ "เทคโนโลยีการผลิตเชิงบูรณาการสำหรับประเทศที่มีค่าจ้างสูง" ในปี คศ 2015 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เริ่มโครงการวิจัยระหว่างประเทศ Horizon 2020 โดย (ให้บริการ Rapid Elastic Manufacturing บนคลาวด์ตามแบบจำลอง XaaS และ Cloud) โดยเป็นโครงการริเริ่มที่สำคัญในการส่งเสริมหัวข้อ Industry 4.0[21]

ใกล้เคียง

อุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการบินไทย อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสื่อ อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมหนังสือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุตสาหกรรม_4.0 http://www.amazon.com/dp/B01AIT6SZ8 http://www.mckinsey.com/insights/business_technolo... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.slate.com/articles/technology/future_te... http://www.vdi-nachrichten.com/artikel/Industrie-4... http://www.computer-automation.de/steuerungsebene/... http://www.plattform-i40.de http://www.crema-project.eu //doi.org/10.1002%2Fpi.6056 //doi.org/10.1016%2Fj.promfg.2020.02.073