ทรัพยากรป่าไม้ ของ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ สามารถสำแนกประเภทของสังคมพืชออกได้เป็น

ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้งในบริเวณอุทยานแห่งชาติมีอยู่เพียงเล็กน้อย ประมาณ 6.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 8.354 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขึ้นปกคลุมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ของอุทยานแห่งชาติบริเวณห้วยกระดิน และห้วยหัวเจ้า ป่าชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างทางด้านตั้งประกอบด้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ 4 ชั้นระดับด้วยกัน โดยชั้นสูงสุด ประกอบด้วยไม้ชนิดต่างๆ ที่มีความสูงตั้งแต่ 21 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางนา ตะเคียนหิน กะบก ตะแบก และชนิดอื่นๆ ไม้ชั้นกลาง ซึ่งมีเรือนยอดปกคลุมต่อเนื่อง ประกอบด้วยไม้ขนาดกลางที่มีความสูงตั้งแต่ 15-20 เมตร ไม้ที่พบเห็นโดยทั่วไป ได้แก่ ติ้ว ประดู่ และ มะค่าโมง ไม้ชั้นล่าง ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็กที่มีความสูงระหว่าง 4-14 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เหมือด ตีนนก และหว้า

ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังในบริเวณอุทยานแห่งชาติปกคลุมเป็นบริเวณกว้าง กล่าวคือ ครอบคลุมเนื้อที่ 69.97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขึ้นปกคลุมพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติอยู่ทั่วๆ ไป โครงสร้างตามแนวดิ่ง ประกอบด้วยไม้สามชั้น ชั้นบนสุด (Upper Layer) ประกอบด้วย ไม้ที่มีความสูงตั้งแต่ 16 เมตรขึ้นไป เป็นไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างเปล่าตรงขึ้นกระจัดกระจายห่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ รกฟ้า ประดู่ ไม้ชั้นกลาง ประกอบดด้วยไม้ขนาดกลางที่มีความสูงระหว่าง 15-20 เมตร ขึ้นรวมกันหนาแน่นกว่าชนิดอื่นๆ ไม่ที่เด่นและพบเห็นทั่วไป ได้แก่ เต็ง รัง พลวง แดง เป็นต้น ส่วนไม้ล่าง เป็นไม้ขนาดเล็กที่มีความสูงต่ำกว่า 5 เมตร ลงมา ประกอบด้วย รักทะนง ยอป่า เหมือด เป็นต้น ส่วนไม้พื้นล่าง เป็นพวกลูกไม้ต่างๆ ปรงป่า

ใกล้เคียง

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อุทยานราชภักดิ์ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร