อุปมาที่ผิดพลาด ของ อุปมาเทียม

มีองค์ประกอบหลายอย่างที่แปรกำลังของเหตุผลโดยอุปมา

  • ความเข้าประเด็นกันระหว่างลักษณะคล้ายกันที่เห็นอยู่ กับลักษณะคล้ายกันที่อนุมานโดยอุปมาว่ามี[1][2]
  • จำนวนและความต่าง ๆ กันในตัวอย่างของอุปมา[1][2]
  • จำนวนของลักษณะที่เหมือนกันระหว่างวัตถุที่เปรียบเทียบกัน[1][2]

เหตุผลโดยอุปมาจะไม่มีกำลังถ้าองค์ประกอบที่กล่าวถึงอย่างใดอย่างหนึ่งมีความบกพร่องคำว่า อุปมาเทียม (false analogy) มาจากนักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อว่า จอห์น สต๊วร์ด มิลล์ผู้เป็นบุคคลพวกแรก ๆ ที่ศึกษาหลักการให้เหตุผลโดยอุปมา[2] ตัวอย่างหนึ่งที่มิลล์ยกมาแสดง ก็คือ การอนุมานว่า บุคคลคนหนึ่งเป็นคนขี้เกียจโดยสังเกตเห็นว่า พี่น้องของเขาเป็นคนขี้เกียจตามการอธิบายของมิลล์ การมีพ่อแม่ร่วมกันกับความขี้เกียจไม่เข้าประเด็นกัน[2]

ตัวอย่างพื้นฐานของอุปมาเทียมอีกอย่างหนึ่งก็คือ"รูปแบบของสุริยจักรวาลคล้ายกับของอะตอมคือมีดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ เหมือนกับมีอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียสอะตอมเพราะว่า อิเล็กตรอนสามารถกระโดดไปกระโดดมาระหว่างระดับโคจรดังนั้น เราพึงตรวจดูบันทึกเหตุการณ์โบราณเกี่ยวกับการกระโดดไปกระโดดมาระหว่างวิถีโคจรของดาวเคราะห์"

อีกตัวอย่างหนึ่งของอุปมาเทียมก็คือ[3]"โอกาสที่สิ่งมีชีวิตซับซ้อนจะมีวิวัฒนาการที่เป็นไปโดยสุ่มมีค่าเหมือนกับมีพายุทอร์นาโดพัดเอากองขยะไปแล้วสร้างเครื่องบินโบอิง 747" เพราะว่ากระบวนการวิวัฒนาการไม่ใช่เป็นไปโดยสุ่ม แต่เป็นกระบวนการสะสมความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ใช่กระบวนการสุ่ม