การขนส่ง ของ อู่ฮั่น

ทางรถไฟ

สถานีรถไฟเก่าต้าจื้อเหมิน (智門火車站) ปลายทางเดิมของทางรถไฟสายปักกิ่ง–ฮั่นโข่ว ก่อสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1900–1903 และปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1991 หลังจากเปิดใช้สถานีรถไฟฮั่นโข่วในปัจจุบัน

กลุ่มรถไฟจีนอู่ฮั่นเป็นบริษัทที่บริหารจัดการศูนย์กลางการขนส่งทางรางของอู่ฮั่น โดยศูนย์กลางนี้ถือเป็นหนึ่งในสี่ศูนย์กลางการขนส่งทางรางที่สำคัญของจีน[31] นครอู่ฮั่นมีสถานีรถไฟหลักสามแห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟฮั่นโข่ว ในเขตฮั่นโข่ว, สถานีรถไฟอู่ชาง ในเขตอู่ชาง, และสถานีรถไฟอู่ฮั่น ในพื้นที่ที่พัฒนาขึ้นใหม่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบตงหู (ทะเลสาบตะวันออก) ในเขตหงชาน

สถานีฮั่นโข่ว (เดิม) เป็นปลายทางของทางรถไฟสายปักกิ่ง–ฮั่นโข่ว ในขณะที่สถานีอู่ชางเป็นปลายทางของทางรถไฟสายกว่างโจว–ฮั่นโข่ว ตั้งแต่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งแรกและเชื่อมทางรถไฟสองสายเข้าด้วยกันเป็นทางรถไฟสายปักกิ่ง–กว่างโจว ทั้งสถานีฮั่นโข่วและอู่ชางมีรถไฟให้บริการไปยังทุกทิศทาง

เมื่อมีการเปิดใช้งานของรถไฟความเร็วสูงสายเหอเฝย์–อู่ฮั่นในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009[32] อู่ฮั่นเริ่มให้บริการรถไฟความเร็วสูงระหว่างเหอเฝย์ หนานจิง และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งปัจจุบันสายไปเซี่ยงไฮ้ให้บริการหลายขบวนต่อวัน ใช้เวลาเดินทางภายใน 6 ชั่วโมง และในต้นปี ค.ศ. 2010 รถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่ออกจากสถานีรถไฟฮั่นโข่ว

สถานีรถไฟอู่ฮั่น แล้วเสร็จปี ค.ศ. 2009

ใน ค.ศ. 2006 การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่จำนวน 11 ชานชลา ตั้งอยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง โดยสถานีนี้ได้เปิดใช้งานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 เนื่องจากจีนเริ่มเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงสายที่สอง (สายอู่ฮั่น–กว่างโจว) โดยมีตารางวิ่งจากกว่างโจวถึงอู่ฮั่น ถือว่าเป็นรถไฟที่เร็วที่สุดในโลก โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 394 กม./ชม. (244.82 ไมล์/ชม.) ทำให้เวลาเดินทางระหว่างสองเมืองลดลงจากสิบชั่วโมงครึ่งเหลือเพียงสามชั่วโมง และต่อมาได้ต่อขยายไปทางเหนือถึงปักกิ่ง[33]

เมื่อถึงปี ค.ศ. 2011 สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่มีรถไฟความเร็วสูงสายอู่ฮั่น–กว่างโจวให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่รถไฟธรรมดาส่วนใหญ่ที่ไปยังจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ยังคงใช้สถานีฮั่นโข่วและอู่ชาง

ท่าเรือ

เส้นขนส่งทางน้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในมณฑลหูเป่ย์ เนื่องจาก มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และแม่น้ำฮั่นเจียง เป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำสายหลัก ทั้งนี้เมืองและอำเภอต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย์ยังใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ดังนั้นมณฑลนี้จึงมีการอุตสาหกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศเมืองท่าต่าง ๆ อาทิ อู่ฮั่น หวงสือ ซาซื่อ อี๋ชัง มีการเปิดเส้นทางติดต่อกับต่างประเทศมานาน โดยมีท่าเรืออู่ฮั่นเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของแม่น้ำฉางเจียงตอนล่าง และเป็นท่าเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากเป็น 1 ใน 8 ท่าเรือที่เปิดใช้ในช่วงจีนปฏิรูปอุตสาหกรรมและเปิดประเทศราวปี 1980 และในปีถัดมาก็เปิดเส้นทางเดินเรือ ขนส่งสินค้าไปฮ่องกง ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ สำหรับแม่น้ำฮั่นเจียงนั้น เป็นเส้นทางติดต่อไปยังถิ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล บนที่ราบเจียงฮั่น โดยมีท่าเรือเซียงฝันและท่าเรือเหล่าเหอโข่ว เป็นท่าเรือที่สำคัญ

สนามบิน

สถิติเมื่อปี 2000 หูเป่ย์มีบริษัทเดินอากาศ 4 แห่ง สนามบินพลเรือน 5 แห่ง สนามบินกองทัพอากาศ 1 แห่ง เปิดเส้นทางบินทั้งในและนอกประเทศ 107 เส้นทาง บินตรงสู่เมืองต่าง ๆ ในประเทศ 57 เมือง สนามบินเทียนเหอที่เมืองอู่ฮั่น ยังเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของประเทศ

ทางหลวงและทางด่วน

มีทางหลวงสายหลักและทางด่วนหลายสายที่ผ่านอู่ฮั่น ได้แก่

  • ทางหลวงจีนหมายเลข 107
  • ทางหลวงจีนหมายเลข 316
  • ทางหลวงจีนหมายเลข 318
  • ทางด่วนจี 42 สายเซี่ยงไฮ้–เฉิงตู
  • ทางด่วนจี 0422 สายอู่ฮั่น–เชินเจิ้น
ทิวทัศน์เมืองอู่ฮั่นเมืองอู่ฮั่นอนุสาวรีย์ของซุน ยัตเซ็นในเมืองอู่ฮั่น แผนที่ การขนส่ง อู่ฮั่น (จีน)สะพานแรกเห็นจาก -- ฮั่นหยาง(漢陽)

แหล่งที่มา

WikiPedia: อู่ฮั่น http://www.tradecommissioner.gc.ca/eng/document.js... http://usa.chinadaily.com.cn/a/201802/09/WS5a7ce35... http://www2.chinadaily.com.cn/bizchina/2009-03/24/... http://blog.sina.com.cn/s/blog_494e8eaf01008rtq.ht... http://news.sina.com.cn/c/2005-03-18/07485392256s.... http://www.mofcom.gov.cn/aarticle/resume/n/200906/... http://www.stats.gov.cn/tjsj/tjbz/tjyqhdmhcxhfdm/2... http://www.wh.gov.cn/2018wh/zjwh_5785/whgk/201808/... http://www.wh.gov.cn/theme/include/htm/whgl/frame0... http://www.wh.gov.cn/whszfwz/szzc/sztlz/