อ๋อง

อ๋อง (จีน: 王; พินอิน: wáng หวัง หรือ หวาง)[1] เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก่และอาจมี 2 พระองค์ที่ได้รับการยกย่องเช่นกัน คือต่อมาตำแหน่งอ๋องได้กลายเป็นตำแหน่งหนึ่งที่อยู่ลำดับสูงในราชสำนักของราชวงศ์จีนทุกราชวงศ์ซึ่งรองลงมาจากฮ่องเต้ ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งอ๋องได้นั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพระญาติของฮ่องเต้ เช่น พระโอรส พระเชษฐา หรือพระอนุชา เรียกได้ว่าเป็นยศฐาบรรดาศักดิ์ชั้นพิเศษ และเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้ได้