ถูกนานาชาติคว่ำบาตร ของ ฮะมาส

สหรัฐ ประเทศในสหภาพยุโรป และอิสราเอล ได้ตราหน้าว่าฮะมาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย และไม่ยอมรับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้หลังจากนั้นเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ต้องถูกยัดเยียดมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างหนัก กลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกบังคับให้ฮะมาสรับรองรัฐอิสราเอล ละทิ้งอุดมการณ์ต่อสู้ด้วยอาวุธ และยอมรับการตกลงสันติภาพอื่น ๆ ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฮะมาส และกลุ่มฟะตะห์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้มีอำนาจในปาเลสไตน์ที่ได้รับการรับรองเป็นทางการ ต้องตกที่นั่งลำบาก เพราะถูกตัดความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตกไปด้วย สมาชิกที่สนับสนุนฮะมาสและฟะตะห์ต่อสู้กันอยู่เนือง ๆ ทั้งในเวสต์แบงก์ และในกาซา เพื่อช่วงชิงการปกครองพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2550 ทั้ง 2 กลุ่มตกลงประนีประนอมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม ทั้งนี้เพื่อต้องการรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ

อิสมาอีล ฮะนียะห์ ผู้นำอาวุโสของฮะมาสในกาซา ซึ่งถูกปลดออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี เคยทำงานใกล้ชิดกับเชคยาซีน คอลิด เมชาอัล ซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ในซีเรีย เป็นผู้นำทางการเมืองสำคัญอีกคนหนึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 หลังจาก มูซา อะบู มัรซูก ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งนี้ถูกจับติดคุก เมชาอัลเคยนำกลุ่มฮะมาสย่อยในคูเวต แต่ได้ออกจากประเทศไปเมื่ออิรักถูกรุกรานในปี 1990 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นผู้นำฮะมาสในกรุงอัมมาน จอร์แดน และสามารถหลุดรอดจากการตามล่าสังหารของอิสราเอลมาได้

แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวลง โดยในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดีมะฮ์มูด อับบาส และกลุ่มฟะตะห์ ร่วมมือกันยึดอำนาจในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้การดิ้นรนขึ้นสู่การเป็นผู้ปกครองดินแดนปาเลสไตน์ของกลุ่มฮะมาสต้องยุติลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐบาลในเวสต์แบงก์มีความอ่อนแอแต่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ขบวนการฮามาสจึงยึดกาซาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ฉนวนถูกปิดล้อมโดยอิสราเอลมากขึ้น ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักศึกษาไม่สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศได้ การส่งออกถูกระงับจนโรงงานต้องปิดตัว [4] ฝ่ายอิสราเอลได้เพ่งเล็งกาซาเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มกำลังทหารและเพิ่มมาตรการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการตัดไฟฟ้า และเริ่มปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2551 โดยอ้างว่าเพื่อยุติไม่ให้ฮะมาสยิงจรวดเข้ามาในดินแดนอิสราเอล