ประวัติ ของ เกตุ_กรุดพันธ์

การศึกษา

ประสบการณ์การฝึกอบรมและดูงาน

นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่

  • DAAD Research Fellow, ที่ University of Karlsruhe และ Karlsruhe Nuclear Center Germany (2526-2527, 2530, 2532, 2537)
  • IAEA Research Fellow, University Of Ghent, Belgium (2529)
  • Water Studies Center, Monash University, Australia (2529)
  • Alexander von Humboldt Research Fellow ที่ Karlsruhe Nuclear Research Center, Germany (2534-2535)
  • The Royal Society Visiting Fellow ที่ Liverpool John Moores University, UK (2541)

ประสบการณ์ทำงาน

มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษหลายด้าน อาทิ เช่น

1.1 ประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมามากกว่า 30 ปี และผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ โดย ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ดังนี้คือ

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี-เภสัช” ปี 2542 จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
  • นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ปี 2542 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2544 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ปี 2544-2546 และ 2547-2550
  • Science & Technology Research Grant” ปี 2544 จาก Thailand Toray Science Foundation
  • JAFIA Scientific Award” (พ.ศ. 2545) จาก The Japanese Association for Flow Injection Analysis (JAFIA) ประเทศญี่ปุ่น (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)
  • บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านเคมีวิเคราะห์) ” ปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
  • นักวิจัยดีเด่น รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช้างทองคำ” ปี พ.ศ. 2550 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • JAFIA Honor Award for Science (พ.ศ. 2551) จาก Japanese Association for Flow Injection Analysis (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)

1.2 มีผลงานวิชาการที่โดดเด่น คือ

ได้ริเริ่มการวิจัยเคมีวิเคราะห์แนวใหม่เกี่ยวกับ flow-based analysis ได้รับเกียรติเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งชาติทางเคมีคนแรกของประเทศ และเป็นคนแรกที่อยู่ในสถาบันต่างจังหวัด (ปัจจุบันมี 2 คนจากผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ 35 คน) นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์คนแรกทางเคมีวิเคราะห์ในประเทศไทย มีส่วนในการผลักดันบรรยากาศการวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ของประเทศไทยจนเข้าสู่ระดับนานาชาติ มีส่วนทำให้เกิดหลักสูตรปริญญาเอกเคมีวิเคราะห์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (หน้า 80 ใน “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สมเดช กนกเมธากุล – บรรณาธิการ – จัดพิมพ์โดย มูลนิธิบัณฑิตยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2549)

  • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Flow injection Analysis มีจำนวนปรากฏสูงเป็นอันดับที่ 22 ของงานวิจัยสาขานี้ของโลก (โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2000: S.Chalk, Bibliometrics In ; S.D. Kolev and I.D. McKelvie (Eds) Advances in flow injection analysis and related techniques , Elsevier,Amsterdam , in press)
  • ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติประมาณ 118 เรื่อง
  • ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติประมาณ 155 เรื่อง
  • ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับประเทศประมาณ 310 เรื่อง
  • หนังสือ-ตำรา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานาชาติมากกว่า 8 รายการ
  • หนังสือ-ตำรา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ในประเทศมากกว่า 11 รายการ

ได้รับเกียรติเพื่อทำงานในองค์กรต่างๆ

  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการโดยสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสภามหาวิทยาลัยนเรศวร (2549-ปัจจุบัน)
  • Editorial Advisory board ของวารสาร Talanta (Elsevier Publish) (2543-2549)
  • Associate Editor ของวารสาร Water Research (Elsevier Publish) (2546-ปัจจุบัน)
  • Editorial board ของวารสาร Laboratory Robotics and Automation (LRA) (Wiley) (2540-2543)
  • Editorial board ของวารสาร Science Asia (2544 – 2547) \
  • Referee พิจารณา manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสาร เช่น Analytica Chimica Acta, Talanta, Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis และ Analytical Chemistry ซึ่งเป็นวารสารนานาชาติ สาขาเคมีวิเคราะห์

1.3 เป้าหมายในการทำงานวิจัย ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ “มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย” เพื่อให้เป็น “World Class University” โดยมีพัฒนางานวิจัยให้ก้าวหน้าในระดับประเทศ และระดับนานาชาติดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและวิชาการ ตามที่ได้กล่าวข้างต้นมีส่วนผลักดันจากงานวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ทำให้ชื่อของมหาวิทยาลัยปรากฏในระดับสากล รวมถึงการผลักดันงานวิจัยทางด้านนี้จนทำให้ชื่อของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรากฏในระดับนานาชาติและในระดับประเทศ (จากในข้อ 1.2 ข้างต้น) โดยผ่านการทำงานและผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดำเนิน การโครงการวิจัยจนเกิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศ (มากกว่า 5 แห่ง) และ ต่างประเทศ (9 แห่งจาก 6 ประเทศ)

  • ผู้ประสานงาน ห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการโครงการพัฒนาการลดขนาดเพื่อการวิเคราะห์ระดับไมโครและนาโน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2548-ปัจจุบัน)
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (2545-ปัจจุบัน)
  • คณะอนุกรรมการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทุนการศึกษาชั้นสูงเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยระดับแนวหน้า (2547-ปัจจุบัน)
  • ที่ปรึกษาเครือข่าย สวทช. ภาคเหนือ (2545-ปัจจุบัน)
  • มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้จัดการฝึกอบรม ระดับชาติและนานาชาติ เช่นองค์การ IAEA (เป็นผู้เชี่ยวชาญ , course directory เป็นต้น) วิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการ เป็นต้น
  • ได้พยายามผลักดันให้การวิจัยของคณาจารย์มีความสัมพันธ์กับบัณฑิตและมีโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยแต่เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมในระดับสากล
  • ยังได้ริเริ่มการให้นักศึกษาได้ทำวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ที่ต่างประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2536 (ก่อนมีโครงการ คปก. ของสกว.) โดยการสนับสนุนจาก DAAD ให้นักศึกษาได้ไปทำวิจัยที่เยอรมนี 6 เดือน

1.4 มีประสบการณ์ด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้คือ

  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2533–2537)
  • กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
  • กรรมการวิจัยประจำภาควิชา และ กรรมการวิจัยประจำคณะวิทยาศาสตร์ (หลายสมัย)
  • กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
  • กรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH)
  • ผู้ประสานงานโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิตร่วมกับสถาบันต่างประเทศ แขนงเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
  • ผู้ประสานงานโครงการเพิ่มสมรรถนะความแข่งขันกับต่างประเทศของ สกอ. ในโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือและวิธีสำหรับวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ในระดับไมโครและนาโนเพื่อใช้ในทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” (2549 – 2552)
  • รองประธานโปรแกรม Environmental Risk Assessment Program ซึ่งมีความร่วมมือกับ Saarland University เยอรมนี โดยการสนับสนุนของ GTZ
  • เป็นประธานจัด/ผู้รับผิดชอบ การจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ

-->13th International conference on Flow Injection Analysis (2001) (ดูในรายงานTalanta vol 58,2002p.1013,และ Trends in Analytical Chemistry, vol 21, 2002 p.x)

-->US-Thai Scienctist Workshop เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ NSF – สกว.และสกอ. (ดูในรายงาน Analytical Chemistry vol 79,2007,p794)

  • การพัฒนากลุ่มวิจัยในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ตั้งแต่ปี 2544 - ปัจจุบัน
  • โครงการพัฒนากลุ่มวิจัยของสกอ. “กลุ่มวิจัยเพื่อนวัตกรรมทางเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
  • ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิจัย ภาคเคมี
  • คณะกรรมการที่ปรึกษาวิจัยคณะวิทยาศาสตร์
  • ที่ปรึกษาคณะทำงานการพัฒนานักวิจัยในสาขาวิทนายศาสตร์เคมี-เภสัชในสาขาภาคเหนือ (โดยการสนับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติโดยมอบหมายงานให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแกนนำ)
  • กรรมการพิจารณาทุนเรียนต่อของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิตติมศักดิ์
  • กรรมการพิจารณาปริญญามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ประสานงาน “ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือและระบบ” ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ประสานงาน “ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์” ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ใกล้เคียง

เกตุ เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เกตุ กรุดพันธ์ เกตุ วงศ์กาไสย เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุผลวิบัติ เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551