เศรษฐศาสตร์ ของ เกษตรกรรมยั่งยืน

ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของความยั่งยืนนี้ยังมีการเข้าใจกันเพียงบางส่วน เมื่อพูดถึงเกษตรกรรมความเข้มข้นน้อย การวิเคราะห์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือการศึกษาของนาย Netting ในระบบผู้ถือรายย่อยผ่านประวัติศาสตร์[16] 'กลุ่มยั่งยืนแห่งอ๊อกซ์ฟอร์ด' ได้กำหนดความยั่งยืนในบริบทนี้ในรูปแบบที่กว้างมาก โดยพิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในแนวทางแบบ 360 องศา

สมมติว่าทรัพยากรธรรมชาติมึจำกัด เกษตรกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือสร้างความเสียหายให้กับทรัพยากร ในที่สุดแล้วอาจสูญเสียทรัพยากรที่มีอยู่หรือสูญเสียความสามารถที่จะจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของพวกมัน นอกจากนี้มันยังอาจสร้างผลด้านลบต่อบุคคลภายนอก (อังกฤษ: negative externality) อีกด้วย เช่นมลพิษรวมทั้งค่าใช้จ่ายทางการเงินและต้นทุนการผลิต มีการศึกษาหลายครั้งที่ควบรวมผลด้านลบต่อบุคคลภายนอกเหล่านี้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับบริการของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของดินและการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน เหล่านี้รวมถึงการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (TEEB) นำโดย Pavan Sukhdev และ 'เศรษฐศาสตร์ของการริเริ่มเกี่ยวกับการย่อยสลายของที่ดิน' ที่พยายามที่จะสร้างการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการปฏิบัติของการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนและการทำการเกษตรแบบยั่งยืน

วิธีการที่พืชจะถูกขายจะต้องใช้สมการความยั่งยืน อาหารที่ขายในท้องถิ่นไม่ต้องใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่ง (รวมถึงผู้บริโภคไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อไกล) อาหารที่ขายในสถานที่ห่างไกลไม่ว่าจะเป็นที่ตลาดเกษตรกรหรือซูเปอร์มาร์เก็ต จะเกิดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับวัสดุ แรงงาน และการขนส่ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกษตรกรรมยั่งยืน http://agbu.une.edu.au/~aaabg/rsga/im.html http://www.mcgill.ca/channels/news/advances-sustai... http://news.mongabay.com/bioenergy/2008/03/scienti... http://www.nature.com/nature/journal/v406/n6797/ab... http://www.nytimes.com/2008/04/21/us/21meat.html http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.verticalfarm.com/pdf/PopSci-Jul-2007.pd... http://www.sarep.ucdavis.edu/concept.htm http://www.nal.usda.gov/afsic/pubs/agnic/susag.sht... http://www.sardc.net/imercsa/Programs/CEP/Pubs/CEP...