มรดกของเกเลน ของ เกเลน

มีการแปลงานของเกเลนจำนวน 129 ชิ้นเป็นภาษาอาหรับในราวปี ค.ศ. 830 - ค.ศ. 870 โดยฮุไนน์ อิบน์ อิชาก (Hunayn ibn Ishaq) และผู้ช่วย และมีการก่อตั้งแบบแผนของการแพทย์อิสลามขึ้นตามแนวคิดของเกเลนที่ยึดมั่นในการหาความรู้ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบที่มีเหตุและผล ซึ่งแบบแผนนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วจักรวรรดิอาหรับ ชาวอาหรับนับถือเกเลนเป็นอย่างสูง[3] แต่ก็ไม่มีการผ่าตัดอย่างที่เกเลนเคยทำ ส่วนในโลกคริสเตียนตะวันตกมีการห้ามผ่าตัดเนื่องจากถือว่าเป็นบาปและเป็นพวกนอกศาสนา[4] หนังสือของมุฮัมมัด อิบน์ ซะกะรียะ ราซิ (Muhammad ibn Zakarīya Rāzi, เสียชีวิต ค.ศ. 925) ที่ชื่อ "Doubts on Galen" (ข้อสงสัยเกี่ยวกับเกเลน) รวมทั้งงานเขียนของ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis) แสดงให้เห็นว่างานของเกเลนนั้นไม่ใช่งานที่ปราศจากข้อสงสัย แต่เป็นพื้นฐานที่น่าท้าทายสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้มีการศึกษาจากการทดลองและประสบการณ์เกิดเป็นความรู้และข้อสังเกตใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งที่ต่างไปจากของเกเลนและเพิ่มเติมเนื้อหาของเกเลนให้สมบูรณ์โดยแพทย์ชาวอาหรับ เช่น ราซี (Razi) , อาลี อิบน์ อับบัส อัล-มะจุซิ (Ali ibn Abbas al-Majusi, Haly Abbas) , อาบู อัล-กาซิม อัล-เซาะห์ระวิ (Abu al-Qasim al-Zahrawi, Abulasis) , แอวิเซนนา (Avicenna) , อิบน์ ซุห์ร (Ibn Zuhr, Avenzoar) และ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis)

คอนสแตนตินชาวแอฟริกา (Constantine the African) เป็นผู้หนึ่งที่ช่วยนำการแพทย์สมัยกรีกกลับไปยังยุโรป ผลงานการแปลงานของฮิปโปกราเตสและเกเลนของเขา ทำให้ชาวตะวันตกเห็นมุมมองการแพทย์ของกรีกทั้งหมดเป็นครั้งแรก[5]

ต่อมาในยุโรปยุคกลาง งานเขียนของเกเลนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์กลายมาเป็นตำราหลักของหลักสูตรการเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย แต่ก็มีอุปสรรคเนื่องจากการหยุดชะงักและความซบเซาของการศึกษา ในทศวรรษที่ 1530 นักกายวิภาคและแพทย์ชาวเบลเยียมชื่อว่า แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้แปลตำราของเกเลนจากภาษากรีกเป็นภาษาละติน งานของเวซาเลียสอันมีชื่อเสียงชื่อว่า De humani corporis fabrica ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากงานเขียนของเกเลน เนื่องจากเวซาเลียสต้องการจะรื้อฟื้นวิธีการและทัศนคติการศึกษาของเกเลน เขาจึงทำการชำแหละร่างกายมนุษย์ถือเป็นการปฏิวัติปรัชญาธรรมชาติของเกเลน เวซาเลียสถือเป็นผู้รือฟื้นงานเขียนของเกเลนและทำให้เกเลนเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านทางหนังสือและงานสอน ตั้งแต่มีการแปลตำราส่วนใหญ่ของเกเลนเป็นภาษาอาหรับทำให้ชาวตะวันออกกลางรู้จักและเรียกเขาว่า "Jalinos" (จาลินอส) [6] เกเลนเป็นผู้ที่สามารถจำแนกหลอดเลือดดำ (สีแดงเข้ม) ออกจากหลอดเลือดแดง (สีจางกว่าและเล็กกว่า) ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยเชื่อว่าเลือดดำมีต้นกำเนิดมาจากตับ และเลือดแดงมีต้นกำเนิดจากหัวใจ เลือดจะไหลจากอวัยวะเหล่านี้ไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้นำไปใช้

การรักษาโรคเกือบทุกโรคของเกเลนโดยการผ่าเอาเลือดออก (bloodletting) มีอิทธิพลอย่างมากและมีการปฏิบัติจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

ใกล้เคียง

เกเลน เกเลน เออร์โซ เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ เกเลชี อิเฮอานาชอ เฮเลน เคลเลอร์ เฮเลน เมียร์เรน เกเนอราลพลานอ็อสท์ เยเลนาแห่งมอนเตเนโกร เกลน โพเวลล์ เอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งกัสติยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกเลน http://galen.edu.bz/about.php?option=com_content&t... http://www.ancientlibrary.com/medicine/0109.html http://www.ancientlibrary.com/medicine/index.html http://www.channel4.com/history/microsites/H/histo... http://www.easyrashi.com/heart_misconceptions.htm http://www.udayton.edu/~hume/Galen/galen.htm http://www.uh.edu/engines/epi2097.htm http://www.healthsystem.virginia.edu/internet/libr... http://pacs.unica.it/biblio/lesson2.htm http://www.aina.org/aol/peter/greek.htm