ประวัติ ของ เขตปกครองตนเองชนชาติไท_สิบสองปันนา

ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน

สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา (ตามประวัติศาสตร์จีน)[ต้องการอ้างอิง]

การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบไต้คง[1]

สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ (จุ่มกาบหลาบคำ) มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า[2]

เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ้งเป็น สิบสองปัน และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ่ง จึงเรียกเรียกเมีองแถว ๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา[ต้องการอ้างอิง]

พันนาในอดีตทั้งหมดของสิบสองปันนามีทั้งหมด ดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

  1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
  2. เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
  3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
  4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
  5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
  6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
  7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
  8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
  9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
  10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
  11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
  12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
  13. เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา

สมัยหลังราชวงศ์มังราย

หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระเจ้ากาวิละทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทั้งในกำแพงตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธุ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ ดังนั้นจึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง (ไทใหญ่) ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ่งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อม ๆ กับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 44 พระองค์ โดยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 44 หรือเจ้าหม่อมคำลือ (刀世勋) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม เจ้าหม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านได้เรียนหนังสือ ในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953 ก่อนที่ จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานจนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้วทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มีแซ่เต๋า (刀) ในสิบสองปันนาก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้[3]

เชิงอรรถ

1.ใต้คง คือเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งโพเต๋อหง หรือในอดีตคือที่ตั้งของ "อาณาจักรหมอกขาวมาวหลวง" หรือชื่อในเอกสารจีนว่า "อาณาจักรหลู่ชวนแสนหวี" ของชาวไทเหนือ

2.เจ้าแสนหวีฟ้าคือตำแหน่งที่ทางราชสำนักจีนพระราชทานให้กับประมุขชนกลุ่มน้อย คำว่าแสนหวี เป็นคำภาษาจีน คำว่า ชวนเว่ย หรือ แซ่นหวี่(宣慰) แปลว่าผู้ปรอบประโลม

3.แซ่ ตาว(刀) มีที่มาสองอย่างคือมาจากคำว่า "ท้าว" ซึ่งเป็นชื่อขึ้นต้นของเจ้าแสนหวีฟ้าหรือเจ้าเมืองเชียงรุ่ง อีกที่มาหนึ่งมาจาก แซ่ดาบ หรือ ตาว(刀)ในภาษาจีนซึ่งพระราชทานให้กับเจ้าฟ้าเมืองหล้า(勐辣\盈江)(ᥛᥫᥒᥰ ᥘᥣᥲ) ซึ่งแต่เดิมใช้ เครือเมือง หรือ แซ่ คือ เครือ"ผา" เช่น เจ้าผาอิงฟ้า หรือ ชื่อจีนคือ เจ้าฟ้าตาวอันเหริน(刀安仁) เจ้าฟ้าเมืองหล้าคนที่ 21 และเป็นเจ้าฟ้าคนสุดท้ายแห่งเมืองหล้า

ใกล้เคียง

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสุโขทัย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดปราจีนบุรี เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เขตปกครองตนเองชนชาติไท_สิบสองปันนา http://www.stats.gov.cn/tjbz/xzqhdm/index.htm http://www.xsbn.gov.cn/ http://www.xsbn.gov.cn/zwgk/ShowArticle.asp?Articl... http://www.stats.yn.gov.cn/ http://www.yn.gov.cn/ http://citypopulation.de/China-Yunnan.html http://www.citypopulation.de/php/china-admin.php //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://books.google.com/books?id=OKNTJXvle9wC&pg=...