เคราติน
เคราติน

เคราติน

เคราติน (อังกฤษ: keratin) เป็นโปรตีนหนึ่งในกลุ่มสคลีโรโปรตีนซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างเส้นใย เป็นองค์ประกอบหลักของเส้นผม เล็บ ขนนก เขาสัตว์ และกีบเท้า เคราตินสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือแอลฟา-เคราติน และบีตา-เคราติน โดยแอลฟา-เคราตินมีโครงสร้างแบบเกลียวแอลฟา พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ในขณะที่บีตา-เคราตินมีโครงสร้างแบบแผ่นบีตา พบเฉพาะในสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกด้านโครงสร้างเคราตินสร้างจากเคราติโนไซต์ในหนังกำพร้า เป็นสายพอลิเพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนส่วนใหญ่เป็นอะลานีน ลิวซีน อาร์จินีน และซิสตีอีนจับกันด้วยพันธะเพปไทด์เป็นเกลียววนขวา[1][2] จากนั้นสายพอลิเพปไทด์ 2 สายจะจับกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์จนกลายเป็นอินเตอร์มีเดียตฟิลาเมนต์ อันเป็นหนึ่งในสามไซโทสเกเลตัน หรือสารโครงร่างของเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อบุผิวจากความเสียหาย[3] เคราตินมีสูตรโมเลกุลคือ C28H48N2O32S4 มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำและตัวละลายอินทรีย์ ทนต่อความเค้น และมีสมบัติหยุ่นหนืด[4]ทั้งนี้ คำว่าเคราตินมาจากคำภาษากรีกโบราณ κέρας (kéras) แปลว่าเขาสัตว์[5]