มุมมอง ของ เค็งอิจิ_ฟูกูอิ

ฟูกูอิได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารนิวไซอันทิสต์ใน ค.ศ. 1985 โดยวิพากษ์วิจารณ์ธรรมเนียมที่มหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นดำเนินการวิจัย[5] เขาระบุว่ามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีระบบที่แบ่งชนชั้นตายตัว ซึ่งแม้ว่าจะมีประโยชน์กับงานวิจัยถ้ากลุ่มวิจัยดังกล่าวจะทำงานในสาขาหรือธีมเดียวก็ตาม แต่ระบบดังกล่าวนั้นสร้างข้อจำกัดให้กับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยฟูกูอิระบุว่าถ้านักวิทยาศาสตร์ต้องการสร้างผลงานของตัวเอง พวกเขาต้องเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เขามองว่าต่อให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จะยังขึ้นเป็นอาจารย์ระดับสูงไม่ได้ในวัยหนุ่มสาวก็ตาม พวกเขาควรจะได้รับการสนับสนุนให้สร้างผลงานของตัวเองได้แล้ว นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์เดียวกัน ฟูกูอิยังวิจารณ์การวิจัยของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในญี่ปุ่นโดยมองว่าธุรกิจมักจะเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจของตนมากกว่าที่จะสร้างงานวิจัยเคมีพื้นฐาน ฟูกูอิมองว่างานวิจัยพื้นฐานที่ให้ผลในระยะยาวควรได้รับการสนับสนุนแม้ว่าเราจะยังไม่รู้เป้าหมายหรือยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ได้อย่างไรก็ตาม

นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์ลงในเดอะเคมิคัลอินเทลลิเจนเซอร์นั้น เขายังแสดงความเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นพยายามไล่ตามชาติตะวันตกโดยการนำเข้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากพวกเขา และมองว่าการสร้างความรู้พื้นฐานเป็นเรื่องใหม่ในสังคมญี่ปุน และงานวิจัยพื้นฐานในญี่ปุ่นยังไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินมากเท่ากับในชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ฟูกูอิตระหนักดีว่าสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: เค็งอิจิ_ฟูกูอิ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17771019 http://pubs.acs.org/subscribe/archive/tcaw/11/i10/... http://www.jce.divched.org/JCEWWW/Features/eChemis... //doi.org/10.1063%2F1.1700523 //doi.org/10.1098%2Frsbm.2001.0013 //doi.org/10.1126%2Fscience.218.4574.747 http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laure... https://www.washingtonpost.com/archive/local/1998/... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1952JChPh..20..7... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1982Sci...218..7...