การบูรณะ ของ เจดีย์กุโตดอ

พ.ศ. 2435 คณะกรรมการพระภิกษุอาวุโส สมาชิกในราชวงศ์และอดีตเจ้าหน้าที่ของกษัตริย์ รวมทั้ง อะตุมะชิ ซายาดอ (เจ้าอาวาสวัดอะตุมะชิ) กินหวุ่นมินจี (อัครเสนาบดี) เลทิน อะตวินหวุ่น (รัฐมนตรีทัพเรือหลวง) เจ้าฟ้าซอมองและโม่-บแย ซิแก (นายพลกองทัพหลวง) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเริ่มงานบูรณะ พร้อมด้วยความช่วยเหลือและการบริจาคจากครอบครัวผู้บริจาคเดิมตามประเพณีและจากสาธารณชนด้วยเช่นกัน[3][4]

ซิแกเป็นผู้ขออนุญาตพระภิกษุอาวุโสให้ปลูกต้นพิกุล และต้นมะซางอินเดีย (Madhuca longifolia)[5] ตัวอักษรสีทองถูกแทนที่ด้วยหมึกสีดำซึ่งทำให้อ่านง่ายขึ้น ฉัตรโลหะซุ้มเจดีย์หินจารึกถูกสวมใหม่ร่วมกับหินที่บริจาคโดยราชวงศ์ (155 คัน) อดีตทหารกองทัพหลวง (58 คัน) เจ้าฟ้าไทใหญ่และเจ้าเมือง (102 คัน) และประชาชนบริจาค (414 คัน) ในปี พ.ศ. 2456 โบ้ตา พ่อค้าข้าวแห่งเมืองย่างกุ้งได้บูรณะและปิดทองเจดีย์ ปีต่อมาสมาคมหินจารึกพระปิฎกมอบประตูเหล็กด้านทิศใต้ ซึ่งเปิดทิ้งไว้เนื่องจากแผงไม้แกะสลักถูกทำลายโดยทหาร ปีถัดมาประตูทิศตะวันตกได้รับบริจาคโดยโบ้เซน (นักแสดงละครเวที) และปี พ.ศ. 2475 ประตูทิศเหนือและทิศตะวันออกโดยลูกหลานของพระเจ้ามินดง ปี พ.ศ. 2462 ฤๅษีอู้คันดี เป็นผู้นำในการสร้างทางเข้ามีที่คลุมด้านทิศใต้และทิศตะวันตก[3][4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจดีย์กุโตดอ https://seaarts.sac.or.th/artwork/530 https://www.orientalarchitecture.com/sid/520/myanm... https://www.researchgate.net/publication/311379152... https://www.matichonweekly.com/column/article_6617... https://tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?page... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Kuthod... https://toptropicals.com/cgi-bin/garden_catalog/ca... https://havecamerawilltravel.com/places/kuthodaw-p... http://sydney.edu.au/arts/research/kuthodaw/downlo...