พระราชกุศล ของ เจดีย์กุโตดอ

พระเจ้ามินดงได้สร้างเจดีย์ขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานเดิมเมืองมัณฑะเลย์[2] ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ในปี พ.ศ. 2400 ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริให้สังคายนาพระไตรปิฎก[1]ใน ปี พ.ศ. 2414 นอกจากนี้พระองค์ต้องการฝากงานพระราชกุศลครั้งใหญ่ไว้ โดยมีพระราชดำริให้จารึกพระไตรปิฎกไว้บนแผ่นหินเพื่ออนุชนรุ่นหลัง ให้สืบเนื่องไปห้าพันปีหลังพระพุทธเจ้า การก่อสร้างเริ่มขึ้นปี พ.ศ. 2403 มีการติดตั้งฉัตรวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 จารึกถูกจัดเรียงกันเป็นระเบียบภายในกำแพงล้อมสามชั้น ชั้นแรก 42 แผ่น ชั้นสอง 168 แผ่น และชั้นสาม 519 แผ่น อีกแผ่นหนึ่งตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของกำแพงชั้นแรกทำให้ได้ 730 แผ่น หินแผ่นนี้บันทึกประวัติการสร้าง และมีศาลาพักตั้งเรียงรายอยู่รอบ ๆ เจดีย์[3][2]

ทางเข้าหลักทางทิศใต้ผ่านประตูไม้สักบานใหญ่ที่เปิดกว้าง ซึ่งแกะสลักอย่างวิจิตรด้วยลายดอกไม้และเทวดา ทางเดินมีหลังคาเช่นเดียวกับเจดีย์พม่าส่วนใหญ่ รวมทั้งจิตรกรรมฝาผนังใต้หลังคา ระหว่างแถวของซุ้มหินจารึกจะมีต้นพิกุลที่โตเต็มที่ ซึ่งส่งกลิ่นหอมคล้ายดอกมะลิไปทั่วทั้งบริเวณ ลานด้านในทิศตะวันตกเฉียงใต้มีต้นไม้เก่าแก่ต้นหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุ 250 ปี โดยมีกิ่งก้านแผ่ต่ำและมีค้ำยัน[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจดีย์กุโตดอ https://seaarts.sac.or.th/artwork/530 https://www.orientalarchitecture.com/sid/520/myanm... https://www.researchgate.net/publication/311379152... https://www.matichonweekly.com/column/article_6617... https://tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?page... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Kuthod... https://toptropicals.com/cgi-bin/garden_catalog/ca... https://havecamerawilltravel.com/places/kuthodaw-p... http://sydney.edu.au/arts/research/kuthodaw/downlo...