ประวัติการตีพิมพ์ ของ เจมส์_บอนด์

การสร้างและแรงบันดาลใจ

เอียน เฟลมิ่ง สร้างตัวละครเจมส์ บอนด์ โดยกำหนดให้เป็น เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ หรือ สายลับ สังกัด หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ (Secret Intelligence Service) หรือรู้จักในชื่อ MI6 (Military Intelligence, Section 6) โดยบอนด์มีรหัสลับคือ 007, มียศ นาวาโท สังกัดกองกำลังพลสำรอง กองทัพเรือ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นวนิยายและผลงานที่เกี่ยวข้อง

นวนิยายโดยเอียน เฟลมมิง

โกลเดนอาย, ที่จาเมกา, ที่เฟลมมิงเขียนนวนิยายเจมส์ บอนด์ทั้งหมด[4]

ในขณะที่ปฏิบัติราชการอยู่กับฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือนั้น เฟลมมิงวางแผนที่จะเป็นนักเขียน[5] และได้บอกเพื่อนของเขาว่า "ผมจะเขียนเรื่องราวสายลับเพื่อจบเรื่องสายลับทั้งหมด"[6] เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 เขาได้เริ่มต้นเขียนนวนิยายเจมส์ บอนด์เล่มแรก ในชื่อ คาสิโนรอยัล ที่ คฤหาสน์โกลเดนอายที่จาเมกา[7] ซึ่งเป็นที่ ๆ เขาเขียนนวนิยายเจมส์ บอนด์ทั้งหมด ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี[8] หลังจากเริ่มเขียนได้ไม่นานนัก เฟลมิ่งก็แต่งงานกับ แอน ชาร์เตอร์ริส ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองจากการแต่งงานที่กำลังจะมาถึงของเขา[9]

หลังจากพิมพ์ต้นฉบับของ คาสิโนรอยัล เสร็จแล้ว, เฟลมิ่งได้ให้เพื่อนของเขา วิลเลียม โฟลเมอร์ อ่าน ซึ่งโฟลเมอร์ชอบมันและได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป แต่ก็ไม่ค่อยจะชอบมากเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1953 ซึ่งแนะนำโดย ปีเตอร์ เฟลมมิง, พี่ชายของเอียน เฟลมมิง[8] ระหว่างปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1966 และ 2 ปีหลังจากเสียชีวิต เฟลมมิงได้เขียนนวนิยายทั้งหมด 12 เล่มและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ซึ่ง 2 เล่มสุดท้ายนั้นใช้ชื่อว่า เดอะแมนวิตเดอะโกลเดนกัน และ ออกโตพุสซีแอนด์เดอะลิฟวิงเดย์ไลต์ส – ซึ่งตีพิมพ์หลังเฟลมมิงเสียชีวิตแล้ว[10] ทุกเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป

นวนิยายหลังเฟลมมิ่ง

หลังเฟลมมิ่งเสียชีวิต คิงส์ลีย์ เอมิส ได้แต่งนวนิยายบอนด์ต่อ ในชื่อ Colonel Sun (ใช้นามปากกา โรเบิร์ต มาร์คแฮม) และตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2511[25] ซึ่งก่อนหน้าเขาเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับนวนิยายบอนด์ของเฟลมมิ่งด้วย ในชื่อ The James Bond Dossier เมื่อปีพ.ศ. 2508[26] ต่อมานิยาย 2 เล่มจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ได้ตีพิมพ์ ในชื่อ James Bond, The Spy Who Loved Me และ James Bond and Moonraker โดยทั้งสองเล่มแต่งโดย คริสโตเฟอร์ วูด ซึ่งเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์[27] หลังจากนั้นนิยายบอนด์ก็หยุดไป จนถึงปีพ.ศ. 2524 นักเขียนแนวสยองขวัญ จอห์น การ์ดเนอร์ ได้หยิบนวนิยายบอนด์ มาแต่งในชื่อ Licence Renewed.[28] โดยการ์ดเนอร์ได้แต่งนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 16 เล่ม โดยมี 2 เล่มเป็นนิยายจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ชื่อ Licence to Kill และ GoldenEye ถึงแม้ว่าผ่านไป 13 ปี การ์ดเนอร์ ยังคงให้ตัวละครยังอายุเท่าเดิมกับที่เฟลมมิ่งระบุเอาไว้[29] ในปี พ.ศ. 2539 การ์ดเนอร์ได้หยุดแต่งนวนิยายบอนด์ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ[30]

ในปี พ.ศ. 2539 นักเขียนชาวอเมริกัน เรย์มอนด์ เบ็นสัน กลายเป็นนักเขียนนวนิยายบอนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนหนังสือ The James Bond Bedside Companion, ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527[45] จนถึงปี พ.ศ. 2545 ก็หยุดเขียน โดยเบ็นสันเขียนนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 6 เล่ม, นิยายอีก 3 เล่มและเรื่องสั้นอีก 3 เรื่อง[46]

หลังจากผ่านไปหกปี เซบาสเตียน ฟอล์ค ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิ่ง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ใหม่ โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในวาระครบรอบ 100 ปี วันเกิดของเอียน เฟลมิ่ง[56] ในชื่อ Devil May Care ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพนกวินบุคในสหราชอาณาจักร และสำนักพิมพ์ดับเบิลเดย์ในสหรัฐอเมริกา[57] ต่อมา นักเขียนชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ในชื่อ พลิกแผนเพชฌฆาต (Carte Blanche) โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[58] ซึ่งเป็นรีบูทนวนิยายบอนด์ใหม่ เป็นสายลับหลังเหตุการณ์ 9/11 โดยบอนด์จะไม่สังกัด MI5 หรือ MI6[59] เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 นวนิยายชื่อ โซโล แต่ง วิลเลียม บอยด์ โดยดำเนินเหตุการณ์อยู่ในปี พ.ศ. 2512[60]

พยัคฆ์ร้ายวัยทีน

ดูบทความหลักที่: พยัคฆ์ร้ายวัยทีน

พยัคฆ์ร้ายวัยทีน (Young Bond) เป็นนิยายชุด แต่งโดย ชาร์ลี ฮิกสัน[61] โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2552 รวมทั้งหมด 5 เล่มและเรื่องสั้น 1 เรื่อง[62] โดยเล่มแรกมีชื่อว่า แผนลับพันธุ์พิฆาต (SilverFin) ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงเป็นนิยายภาพและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์ พัฟฟิน บุ๊ค[63] สำหรับประเทศไทยลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และแปลโดยเอื้อนทิพย์ พีระเสถียร

เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์

เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์ (The Moneypenny Diaries) เป็นนิยายไตรภาค เกี่ยวกับชีวิตของ มิสมันนีเพนนี, เลขานุการส่วนตัวของเอ็ม, เขียนโดย ซาแมนธา เวนเบิร์ก ภายใต้นามปากกา เคต เวสต์บรูค[71] เล่มแรกใช้ชื่อว่า Guardian Angel, วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่สหราชอาณาจักร[72] เล่มที่สองใช้ชื่อว่า Secret Servant วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสำนักพิมพ์ จอห์น เมอร์เรย์[73] และเล่มที่สามใช้ชื่อว่า Final Fling วางจำหน่ายเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[74]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจมส์_บอนด์ http://www.007stage.com/ http://books.google.com/?id=70f6xVeR8h4C&lpg=PA1&d... http://books.google.com/?id=uariyzldrJwC&lpg=PA2&d... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?... http://www.ianfleming.com/pages/content/index.asp?...